บาลีวันละคำ

อนวัชกัมมะ (บาลีวันละคำ 3,300)

อนวัชกัมมะ

การงานที่ไม่มีโทษ

คำในพระสูตร: อนวชฺชานิ กมฺมานิ (อะ-นะ-วัด-ชา-นิ กำ-มา-นิ) 

อนวัชกัมมะ” อ่านว่า อะ-นะ-วัด-ชะ-กำ-มะ

แยกศัพท์เป็น อนวัช + กัมมะ 

(๑) “อนวัช

เขียนแบบบาลีเป็น “อนวชฺช” อ่านว่า อะ-นะ-วัด-ชะ รากศัพท์มาจาก + อวชฺช 

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ 

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า “ ไม่ โน ไม่ มา อย่า เทียว” ( [นะ] = ไม่, โน = ไม่, มา = อย่า, [วะ] = เทียว

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(ข) “อวชฺช” อ่านว่า อะ-วัด-ชะ รากศัพท์มาจาก (อะ มีฐานะเป็น “ศัพท์สกรรถ” คือลงไว้ แต่ไม่มีความหมาย) + วทฺ (ธาตุ = พูด) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ (ณฺย > ), แปลง ทฺย (คือ ทฺ ที่สุดธาตุกับ ที่ลบ ณฺ แล้ว) เป็น ชฺช 

: + วทฺ = อวทฺ + ณฺย = อวทฺณฺย > อวทฺย > อวชฺช (คุณศัพท์) แปลตามศัพท์ “ผู้ควรถูกดูหมิ่นว่าเป็นคนเลวโดยชาติกำเนิดและความประพฤติเป็นต้น” หมายถึง ต่ำต้อยหรือต่ำกว่า, น่าตำหนิ, เลว, น่าติเตียน (low, inferior, blamable, bad, depreciable)

จะเห็นได้ว่า “อวชฺช” มีความหมายเท่ากับ “วชฺช” (ที่เราคุ้นกันในภาษาไทย เช่น วัชพืช โลกวัชชะ) นั่นเอง นี่คือที่บอกว่า “อะ มีฐานะเป็น ‘ศัพท์สกรรถ’ คือลงไว้ แต่ไม่มีความหมาย”

+ อวชฺช 

ตามกฎไวยากรณ์บาลี : 

(1) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ท่านให้แปลง “” เป็น “” (อะ)

(2) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ท่านให้แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

ในที่นี้ “อวชฺช” ขึ้นต้นด้วยสระ (-) ดังนั้นจึงต้องแปลง “” เป็น “อน

+ อวชฺช : > อน + อวชฺช = อนวชฺช (อะ-นะ-วัด-ชะ) แปลว่า “ไม่ควรถูกดูหมิ่นว่าเป็นเลวโดยชาติกำเนิดและความประพฤติเป็นต้น” หมายถึง ตำหนิไม่ได้, ปราศจากความผิด, ไม่มีโทษ (blameless, faultless)

อนวชฺช” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “อนวชฺช” 

ไว้ด้วย แต่ใช้ในภาษาไทยเป็น “อนวัช” บอกไว้ดังนี้ – 

อนวัช, อนวัช– : (คำวิเศษณ์) ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ติ, ไม่มีตําหนิ, เช่น อนวัชกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโทษ. (ป. อนวชฺช).”

(๒) “กัมมะ

เขียนแบบบาลีเป็น “กมฺม” อ่านว่า กำ-มะ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กรรม ๑, กรรม– ๑ : (คำนาม) (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม.(๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ.(๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ.(๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.”

ในที่นี้สะกดเป็น “กัมมะ” (กำ-มะ) หมายถึง การงาน, กิจ

อนวชฺช + กมฺม = อนวชฺชกมฺม > อนวัชกัมมะ (อะ-นะ-วัด-ชะ-กำ-มะ) แปลว่า “การงานที่ไม่มีโทษ” 

ขยายความ :

มงคลข้อที่ 18 ในมงคล 38 ตามนัยแห่งมงคลสูตร คำบาลีในพระสูตรว่า “อนวชฺชานิ กมฺมานิ” (อะ-นะ-วัด-ชา-นิ กำ-มา-นิ) แปลว่า “การงานที่ไม่มีโทษ” 

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [353] มงคล 38 บอกไว้ว่า –

18. อนวชฺชานิ กมฺมานิ (การงานที่ไม่มีโทษ, กิจกรรมที่ดีงาม เป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เป็นทางเสียหาย — Anavajjakamma: blameless actions; unexceptionable or beneficial activities)**

** ท่านยกตัวอย่างไว้ เช่น การสมาทานอุโบสถ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สร้างสวน ปลูกป่า สร้างสะพานเป็นต้น (ขุทฺทก.อ.156; KhA.141)

…………..

ในอรรถกถาท่านขยายความ “อนวัชกัมมะ = การงานที่ไม่มีโทษ” ไว้ดังนี้ –

…………..

อนวชฺชกมฺมานิ  นาม  อุโปสถงฺคสมาทานเวยฺยาวจฺจกรณอารามวนโรปนเสตุกรณาทีนีติ  อิธ  วุตฺตํ. 

พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งมงคลสูตรนี้ว่า “กรรมมีการสมาทานองค์อุโบสถ การช่วยทำกิจอันควรทำ การปลูกสวน ละเมาะไม้ในอาราม และการสร้างสะพานเป็นต้น ชื่อว่าการงานที่ไม่มีโทษ

ตํ  สคฺคุปฺปตฺยาทิเหตุโต  มงฺคลํ. 

การสมาทานองค์อุโบสถนั้นชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งความเกิดในสวรรค์เป็นต้น

อารามวนโรปนเสตุกรณาทีนิปิ  สคฺคุปฺปตฺติเหตุโต  มงฺคลํ.

แม้กิจมีการปลูกสวน ละเมาะไม้ และการสร้างสะพานเป็นต้น ก็ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการเกิดในสวรรค์ 

ที่มา: มังคลัตถทีปนี ภาค 2 ข้อ 101 หน้า 90 เป็นต้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เกิดมาได้กำไร คือเกิดมาทำบุญ 

: เกิดมาขาดทุน คือเกิดมาทำบาป 

—————–

#บาลีวันละคำ (3,300) (ชุดมงคล 38)

25-6-64 

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *