บาลีวันละคำ

ภูตปุพพัง (บาลีวันละคำ 3,359)

ภูตปุพพัง

น่าจำไว้ใช้ติดปาก

อ่านว่า พู-ตะ-ปุบ-พัง

ประกอบด้วย ภูต + ปุพพัง

(๑) “ภูต” 

บาลีอ่านว่า พู-ตะ รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย

: ภู + = ภูต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นอยู่ตามกรรม” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ประมวลความหมายคำว่า “ภูต” ในบาลีมาแสดงไว้ดังนี้ –

(1) ธรรมชาติที่มีชีวิตเป็นหลัก หรือเบญจขันธ์ (animate Nature as principle, or the vital aggregates [the 5 Khandhas])

(2) ผีสางหรืออมนุษย์ (ghosts, or amanussā) 

(3) ธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตเป็นหลัก หรือธาตุต่างๆ (inanimate Nature as principle, or the Elements) 

(4) สิ่งที่มีอยู่ทั้งหมด, สิ่งที่มีตัวตนโดยทั่วไป (all that exists, physical existence in general) 

(5) สิ่งที่เราเรียกคำที่ใช้เป็นส่วนขยาย ซึ่งถูกยกอุทาหรณ์ด้วยตัวอย่างที่ขาดหลักเกณฑ์ (what we should call a simple predicative use, is exemplified by a typical dogmatic example)

(6) สัตว์ทั้งหมดหรือสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด, มวลสัตว์ (all beings or specified existence, animal kingdom) 

(7) มวลผัก, รุกขชาติ, พฤกษชาติ (the vegetable kingdom, plants, vegetation) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ภูต, ภูต– : (คำนาม) ผี, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ภูตผี.ว. ซึ่งเกิดแล้ว, ซึ่งเป็นแล้ว. (ป., ส.).”

ในที่นี้ “ภูต” หมายถึง ซึ่งเกิดแล้ว, ซึ่งเป็นแล้ว

(๒) “ปุพพัง” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ปุพฺพํ” (ปุบ-พัง) คำเดิมเป็น “ปุพฺพ” (ปุบ-พะ) รากศัพท์มาจาก ปุพฺพ (ธาตุ = เต็ม) + (อะ) ปัจจัย

: ปุพฺพ + = ปุพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่เต็ม” หมายถึง อดีต, แต่ก่อน, ก่อน (previous, former, before)

ปุพฺพ” (นปุงสกลิงค์) แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เปลี่ยนรูปเป็น “ปุพฺพํ” แปลว่า “กาลก่อน” คือในอดีตกาล หรือในชาติปางก่อน

บาลี “ปุพฺพ” ในภาษาไทยใช่เป็น “บุพ-” และ “บุพพ-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

บุพ-, บุพพ– : (คำวิเศษณ์) ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว).”

ภูต + ปุพฺพ = ภูตปุพฺพ > ภูตปุพฺพํ แปลว่า “มีแล้วในกาลก่อน” หมายถึง เคยมีมาแล้ว, เคยเป็นมาแล้ว 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภูตปุพฺพํ” ไว้ดังนี้ – 

(1) having formerly been so & so (เคยเป็นเช่นนั้นๆ)

(2) before all happening, before creation, at a very remote stage of the world, in old times, formerly (ก่อนที่อะไรๆ จะเกิดขึ้น, ก่อนสร้างโลก, สมัยหนึ่งของโลกนี้, นานมาแล้ว, แต่ปางก่อน, สมัยก่อน)

ขยายความ :

ภูตปุพฺพํ” เป็นคำที่ใช้ในฐานะ “กิริยาวิเสสนะ” คือคำขยายกริยา แต่มีฐานะเหมือน “สำนวน” ชนิดหนึ่ง ที่อาจกล่าวขึ้นลอยๆ เป็นเหมือนคำนำเรื่อง ตรงกับความหมายในภาษาไทยว่า “เรื่องมันเคยมี” ต่อจากนั้นก็ว่าไปว่าเรื่องอะไร เคยมีมาว่าอย่างไร

ภูตปุพฺพํ” เขียนแบบไทยเป็น “ภูตปุพพัง” (พู-ตะ-ปุบ-พัง) เป็นคำบาลีอีกคำหนึ่งที่น่าจำไปพูดให้เป็นคำติดปาก เวลาจะเอ่ยอ้างถึงเรื่องอะไรก็ตามที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หรือเคยมีคนทำเช่นนั้นมาแล้ว เพื่อเอามาเทียบกับเรื่องปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น

ภูตปุพพัง” = เรื่องมันเคยมีมาแล้ว! …

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความดี-ท่านยังทำอยู่

: ฤๅเหลือเพียงมีคนรู้-ว่าเคยทำความดี

#บาลีวันละคำ (3,359)

23-8-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *