บาลีวันละคำ

ธัญชาติ (บาลีวันละคำ 3,356)

ธัญชาติ

คุ้นตา แต่น่าจะยังไม่รู้จักตัว

อ่านว่า ทัน-ยะ-ชาด

ประกอบด้วยคำว่า ธัญ + ชาติ 

(๑) “ธัญ

บาลีเขียน “ธญฺญ” อ่านว่า ทัน-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ธาน (การเลี้ยง) + ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ธน เป็น อะ (ธาน > ธน), แปลง นฺย (คือ – ที่ ธาน และ ปัจจัย) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ธาน + = ธานฺย > ธนฺย > + ญฺ + = ธญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีการเลี้ยงเป็นความดี” (คือดีในทางเลี้ยงผู้คน) 

(2) ธนฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + ปัจจัย, แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ธนฺ + = ธนฺย > + ญฺ + = ธญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้คนปรารถนา

ธญฺญ” (นปุงสกลิงค์) โดยทั่วไปหมายถึง ข้าวเปลือก, ข้าว (grain, corn)

นอกจากนี้ “ธญฺญ” ยังแปลตามศัพท์ว่า “ซึ่งอุดมด้วยข้าว” หมายถึง ร่ำรวย; มีความสุข, มีโชคดี, มีเคราะห์ดี (“rich in corn” : rich; happy, fortunate, lucky)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

(1) ธัญ ๑ : (คำแบบ)* (คำวิเศษณ์) รุ่งเรือง, มั่งมี, มีโชค, ดี, เลิศ, เช่น ธัญลักษณ์ ว่า มีลักษณะดี. (ป. ธญฺญ; ส. ธนฺย).

(2) ธัญ ๒, ธัญ– : (คำนาม) ข้าวเปลือก. (ป. ธญฺญ; ส. ธานฺย).

* “คำแบบ” หมายถึง คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป

(๒) “ชาติ” 

บาลีอ่านว่า ชา-ติ รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ติ ปัจจัย

กระบวนการทางไวยากรณ์ :

แบบที่ 1 แปลง ชนฺ เป็น ชา : ชน > ชา + ติ = ชาติ

แบบที่ 2 แปลง “” ที่ (ช-)นฺ เป็น อา : (ช) > อา (> + อา) = ชา + ติ = ชาติ

ชาติ” (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การเกิด” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังต่อไปนี้ –

(1) การเกิด, การเกิดใหม่, กำเนิด (birth, rebirth, possibility of rebirth)

(2) ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ, ชั้น, วงศ์วาน (descent, race, rank, genealogy)

(3) จำพวก, ชนิด (a sort of, kind of)

(4) ตามธรรมชาติ (ตรงข้ามกับของที่ตกแต่งขึ้น); แท้จริง, บริสุทธิ์, วิเศษ (ตรงกันขามกับปนเจือ เลว) (by birth or nature, natural [opp. artificial]; genuine, pure, excellent [opp. adulterated, inferior])

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของคำว่า “ชาติ” ไว้ดังนี้ –

(1) การเกิด, กำเนิด, มักใช้ว่า ชาติเกิด หรือ ชาติกำเนิด เช่น ถ้าทำไม่ดีก็เสียชาติเกิด,

(2) ความมีชีวิตอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สบายทั้งชาติ.

(3) เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาตินักรบ ชาติไพร่.

(4) ประเทศ เช่น รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์.

(5) ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ; ประชาชาติ ก็ว่า.

(6) กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน.

(7) ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่.

(8 ) คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น รสชาติ หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ.

ในที่นี้ “ชาติ” ใช้ในความหมายตามข้อ (8 ) ภาษาบาลีไวยากรณ์เรียกว่า “ศัพท์ สกรรถ” (สับ-สะ-กัด) หมายถึงคำที่นำมาต่อท้ายคำอื่น แต่คำนั้นคงมีความหมายเท่าเดิม (“สกรรถ” : สก = ของตน + อรรถ = ความหมาย)

ธญฺญ + ชาติ = ธญฺญชาติ (ทัน-ยะ-ชา-ติ) ในภาษาบาลีมีความหมายเท่ากับ “ธญฺญ” คำเดียว เนื่องจาก “ชาติ” เป็นศัพท์ สกรรถ

ธญฺญชาติ” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “ธัญชาติ” (ทัน-ยะ-ชาด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

ธัญชาติ : (คำนาม) คํารวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี, ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาว่ามี ๗ อย่าง คือ ๑. ข้าวไม่มีแกลบ ๒. ข้าวเปลือก ๓. หญ้ากับแก้ ๔. ข้าวละมาน ๕. ลูกเดือย ๖. ข้าวแดง ๗. ข้าวฟ่าง.”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับแก้คำนิยามใหม่ เหลือเพียง – 

ธัญชาติ : (คำนาม) คํารวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี.”

หาความรู้เบื้องต้นจากพจนานุกรม :

(๑) พจนานุกรมบาลี – ไทย – อังกฤษ ฉบับภูมิพโลภิกขุ แปลจาก THE PALI TEXT SOCIETY’S PALI-ENGLISH DICTIONARY EDITED BY T. W. RHYS DAVIDS

คำว่า ธญฺญ 1 (Dhañña1) แปลไว้ดังนี้ – 

(1, 2) สาลิ และ วีหิ (ข้าวเจ้า) sāli & vīhi (rice — sorts) 

(3) ยว (ข้าวเหนียว) yava (barley) 

(4) โคธุม (ข้าวสาลี) godhuma (wheat) 

(5) กงฺุคุ (ข้าวเดือย) kangu (millet) 

(6) วรก (ถั่ว) varaka (beans) 

(7) กุทฺรูสก (หญ้ากับแก้ ?) kudrūsaka (?) (a kind of grain)

(๒) พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา หรือพจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ ทรงเรียบเรียง พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2508, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ น.126 (คาถา 450) (เชิงอรรถ) บอกไว้ดังนี้ –

(1) สาลิ = ข้าวสาลี

(2) วีหิ = ข้าวเจ้า

(3) ยโว = ข้าวเหนียว

(4) โคธุโม = ข้าวละมาน

(5) กงฺุคุ = ข้าวฟ่าง 

(6) วรโก = ลูกเดือย

(7) กุทฺรูโส = หญ้ากับแก้ 

(๓) คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา แปลโดยพระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล (นิรัญรักษ์) และนายจำรูญ ธรรมดา พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2559, หจก.ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์ กรุงเทพฯ น.182 (คาถา 450) บอกไว้ดังนี้ –

(1) สาลิ = ข้าวสาลี

(2) วีหิ = ข้าวเปลือก

(3) ยโว = ข้าวบาเลย์ (ข้าวฟ่างอินเดีย)

(4) โคธุโม = ข้าวละมาน

(5) กงฺุคุ = ข้าวฟ่าง (ข้าวฟ่างอิตาเลียน)

(6) วรโก = ข้าวโพด

(7) กุทฺรูโส = หญ้ากับแก้ 

ยังมี สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน อีกฉบับหนึ่งที่ควรสอบเทียบว่า บาลีหมายถึงสิ่งนี้ สันสกฤตหมายถึงสิ่งไหน ฝากเป็นการบ้านสำหรับผู้รักการค้นคว้าต่อไป-ได้ความอย่างไรบอกกล่าวกันมา เพื่อรวมไว้เป็นองค์ความรู่ร่วมกัน เป็นการผ่อนแรงให้กันและกันได้ด้วยทางหนึ่ง

ธัญชาติ” หมายถึงพืชชนิดไหนบ้าง และแต่ละชนิดคืออะไรกันแน่ ขอเชิญท่านผู้ใฝ่รู้-โดยเฉพาะผู้เรียนบาลี-พึงศึกษาสอบสวนหาความรู้โดยทั่วกันเทอญ

ดูเพิ่มเติม:

ธัญพืช” บาลีวันละคำ (2,631) 26-8-62 

ธัญญาหาร” บาลีวันละคำ (1,488) 1-7-59 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ธัญชาติทำให้สุขภาพดี

: แล้วเอาสุขภาพดีไปทำอะไร?

#บาลีวันละคำ (3,356)

20-8-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *