บาลีวันละคำ

อะนีฆา (บาลีวันละคำ 3,367)

อะนีฆา (ชุดพรหมวิหารภาวนา)

อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

อะนีฆา” เขียนแบบบาลีเป็น “อนีฆา” อ่านว่า อะ-นี-คา รูปคำเดิมหรือรากศัพท์มาจาก + นีฆ

(๑) “” 

บาลีอ่านว่า นะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ 

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า –

…………..

(นะ) =ไม่ 

โน = ไม่ 

มา = อย่า 

(วะ) = เทียว 

…………..

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

หมายเหตุ: รูปศัพท์ที่ตาเห็นคือ “อนีฆา” ควรจะบอกว่า รากศัพท์มาจาก (อะ) + นีฆา แต่เนื่องจาก (อะ) ในที่นี้ไม่ใช่ศัพท์เดิมที่มีอยู่จริง หากแต่เป็นคำที่แปลงมาจาก “” (นะ) อีกทีหนึ่ง ดังนั้น จึงบอกลึกเข้าไปถึงคำเดิมทีเดียว ไม่ต้องบอกเป็น 2 ขยัก

(๒) “นีฆ

บาลีอ่านว่า นี-คะ รากศัพท์มาจาก –

(1) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + อีหา (ความพยายาม) + ปัจจัย, ลบ และลบสระหน้า คือ อา ที่ อีหา และแปลง เป็น (อีหา > อีห > อีฆ

: + อีหา = นีหา + = นีหาณ > นีหา > นีห > นีฆ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะที่ไม่มีความพยายามเพื่อบรรลุมรรคผล” 

(2) นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + หนฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + (อะ) ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ นิ เป็น อี (นิ > นี), แปลง หนฺ เป็น

: นิ + หนฺ = นิหนฺ + = นิหน > นีหน > นีฆ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะที่เบียดเบียนความดี” 

(3) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + หนฺ (ธาตุ = ไป) + (อะ) ปัจจัย, แปลง อะ ที่ เป็น อี ( > นี), แปลง หนฺ เป็น

: + หนฺ = นหนฺ + = นหน > นีหน > นีฆ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะที่ไม่ไปสู่ความดี

นีฆ” (ปุงลิงค์) หมายถึง ความเลวร้าย, ความโศก, ความเจ็บปวด, ทุกข์, โชคร้าย (evil, grief, pain, suffering, misfortune)

+ นีฆ มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “นีฆ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ – จึงแปลง เป็น  

: + นีฆ = นนีฆ > อนีฆ (อะ-นี-คะ) แปลว่า “ผู้ไม่มีความคับแค้นใจ” หมายถึง ไม่มีวิตกกังวลเดือดร้อนใจหรืออึดอัดขัดเคืองด้วยสาเหตุต่างๆ รวมอยู่ในความว่า ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อนีฆ” ว่า not trembling, undisturbed, calm (ไม่หวั่นไหว, ไม่ถูกรบกวน, สงบนิ่ง) 

อนีฆ” เป็นคำที่ทำหน้าที่ขยายคำว่า “สตฺตา” (ในคำว่า “สพฺเพ สตฺตา”) จึงต้องประกอบลิงค์ วจนะ วิภัตติ ตามคำที่ตนขยาย “อนีฆ” จึงเปลี่ยนรูปเป็น “อนีฆา

อนีฆา” เขียนแบบคำอ่านเป็น “อะนีฆา

ขยายความ :

อะนีฆา” เป็นคำที่ใช้ในคำแผ่พรหมวิหารภาวนาในส่วนที่เรานิยมเรียกกันว่า “แผ่เมตตา” 

คำ “แผ่เมตตา” มีคำบาลีที่กำหนดไว้ดังนี้ –

…………..

สพฺเพ สตฺตา

อเวรา โหนตุ

อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ

อนีฆา โหนฺตุ

สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ

…………..

เขียนแบบคำอ่านเป็นดังนี้ –

…………..

สัพเพ  สัตตา

อะเวรา  โหนตุ

อัพ๎ยาปัชฌา  โหนตุ

อะนีฆา  โหนตุ

สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ.

…………..

คำบาลีสลับคำแปลที่นิยมแปลกันเป็นดังนี้ –

……………

สัพเพ  สัตตา = สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น 

อะเวรา  โหนตุ = จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย 

อัพ๎ยาปัชฌา  โหนตุ = อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย 

อะนีฆา  โหนตุ = อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย 

สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ. = จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นเถิด

…………..

ดูเพิ่มเติม: “สัพเพ สัตตา” บาลีวันละคำ (2,859) 10-4-63 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ผู้รู้ท่านว่าทุกข์มีไว้สำหรับรู้

: แต่ผู้ไม่รู้มีทุกข์ไว้สำหรับเป็น

#บาลีวันละคำ (3,367) (ชุดพรหมวิหารภาวนา)

31-8-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *