บาลีวันละคำ

อัพ๎ยาปัชฌา (บาลีวันละคำ 3,366)

อัพ๎ยาปัชฌา (ชุดพรหมวิหารภาวนา)

อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อัพ๎ยาปัชฌา” เขียนแบบบาลีเป็น “อพฺยาปชฺฌา” อ่านว่า อับ-เพีย-ปัด-ชา รูปคำเดิมหรือรากศัพท์มาจาก + พฺยาปชฺฌ

(๑) “” 

บาลีอ่านว่า นะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ 

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า –

…………..

(นะ) =ไม่ 

โน = ไม่ 

มา = อย่า 

(วะ) = เทียว 

…………..

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

หมายเหตุ: รูปศัพท์ที่ตาเห็นคือ “อพฺยาปชฺฌา” ควรจะบอกว่า รากศัพท์มาจาก (อะ) + พฺยาปชฺฌา แต่เนื่องจาก (อะ) ในที่นี้ไม่ใช่ศัพท์เดิมที่มีอยู่จริง หากแต่เป็นคำที่แปลงมาจาก “” (นะ) อีกทีหนึ่ง ดังนั้น จึงบอกลึกเข้าไปถึงคำเดิมทีเดียว ไม่ต้องบอกเป็น 2 ขยัก

(๒) “พฺยาปชฺฌ

บาลีอ่านว่า เพีย-ปัด-ชะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง) พาธฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ (ณฺย > ), แผลง อิ ที่ วิ เป็น (วิ > วฺย), แปลง ที่ธาตุเป็น และลบ อา (พาธฺ > ปาธฺ > ปธฺ), แปลง ธฺย (คือ ธฺ ที่สุดธาตุและ ที่เหลือจาก ณฺย ปัจจัย) เป็น ชฺฌ , แปลง วฺ ต้นศัพท์เป็น พฺ 

: วิ + อา = วฺยา + พาธฺ = วฺยาพาธฺ + ณฺย = วฺยาพาธณฺย > วฺยาพาธฺย > วฺยาปาธฺย > วฺยาปธฺย > วฺยาปชฺฌ > พฺยาปชฺฌ แปลตามศัพท์ว่า “ความเบียดเบียนอย่างวิเศษยิ่ง” 

พฺยาปชฺฌ” (นปุงสกลิงค์) ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ความยุ่งยาก (trouble) 

(2) ความประสงค์ร้าย, ความพยาบาท (ill-will, malevolence) 

+ พฺยาปชฺฌ มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “พฺยาปชฺฌ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ พฺ– จึงแปลง เป็น  

: + พฺยาปชฺฌ = นพฺยาปชฺฌ > อพฺยาปชฺฌ (อับ-เพีย-ปัด-ชะ) แปลว่า “ผู้ไม่เบียดเบียนกัน” หมายถึง ไม่ทำและไม่คิดทำให้ใครเดือดร้อน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อพฺยาปชฺฌ” ไว้ดังนี้ –

(1) การบรรเทา (relief)

(2) ความเมตตา (benevolence)

อพฺยาปชฺฌ” เป็นคำที่ทำหน้าที่ขยายคำว่า “สตฺตา” (ในคำว่า “สพฺเพ สตฺตา”) จึงต้องประกอบลิงค์ วจนะ วิภัตติ ตามคำที่ตนขยาย “อพฺยาปชฺฌ” จึงเปลี่ยนรูปเป็น “อพฺยาปชฺฌา

อพฺยาปชฺฌา” เขียนแบบคำอ่านเป็น “อัพ๎ยาปัชฌา

ขยายความ :

อัพ๎ยาปัชฌา” เป็นคำที่ใช้ในคำแผ่พรหมวิหารภาวนาในส่วนที่เรานิยมเรียกกันว่า “แผ่เมตตา” 

คำ “แผ่เมตตา” มีคำบาลีที่กำหนดไว้ดังนี้ –

…………..

สพฺเพ สตฺตา

อเวรา โหนตุ

อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ

อนีฆา โหนฺตุ

สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ

…………..

เขียนแบบคำอ่านเป็นดังนี้ –

…………..

สัพเพ  สัตตา

อะเวรา  โหนตุ

อัพ๎ยาปัชฌา  โหนตุ

อะนีฆา  โหนตุ

สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ.

…………..

คำบาลีสลับคำแปลที่นิยมแปลกันเป็นดังนี้ –

……………

สัพเพ  สัตตา = สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น 

อะเวรา  โหนตุ = จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย 

อัพ๎ยาปัชฌา  โหนตุ = อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย 

อะนีฆา  โหนตุ = อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย 

สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ. = จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นเถิด

หมายเหตุ: ในคำแปลทั่วไปมักแปล “อัพยาปัชฌา” ว่า “อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย” คือไม่มีคำว่า “พยาบาท” ในที่นี้ขอแปลแบบที่สำนักประชุมนารี วัดมหาธาตุ และคณะผู้รักษาอุโบสถวัดมหาธาตุ ราชบุรี ใช้สวดอยู่ คือแปลว่า “อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

…………..

ดูเพิ่มเติม: “สัพเพ สัตตา” บาลีวันละคำ (2,859) 10-4-63 

…………..

ดูก่อนภราดา!

อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก.

: ความสุขหาได้ทุกวัน

: แค่ไม่เบียดเบียนกันก็สุขทันที

#บาลีวันละคำ (3,366) (ชุดพรหมวิหารภาวนา)

30-8-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *