จาก-ข้าวราดแกงหรือแกงราดข้าว
จาก-ข้าวราดแกงหรือแกงราดข้าว
ถึง-ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
——————————–
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
………..
ข้าวแกง
น. อาหารที่ขายมีข้าวกับแกงเป็นต้น, เรียกร้านอาหารประเภทนี้ว่า ร้านข้าวแกง.
………..
คำเดิมของท่าน สั้นและกระชับดีอยู่แล้ว
คนรุ่นหลังไปยืดคำเป็น “ข้าวราดแกง” ก็เลยถูกคนช่างเล่นคำพูดเสียใหม่เป็น “แกงราดข้าว”
แล้วก็เถียงกันว่าคำไหนถูกคำไหนผิด
โปรดทราบว่า เรามีคำว่า “ข้าวแกง” (ที่ถูกยืดเป็น-ข้าวราดแกง)
แต่เราไม่มีคำว่า “แกงข้าว” (อันจะถูกยืดเป็น-แกงราดข้าว)
————
ผมรู้สึกว่าคนรุ่นใหม่ดูไปดูมาชักจะตรงกับคำที่ว่า- “ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น”
คำที่ควรจะพิถีพิถันเอาใจใส่ใช้ให้ถูกความหมาย กลับใช้กันอย่างมักง่าย
เช่น “จำวัด” พากันใช้ในความหมายว่า-อยู่ประจำที่วัด
โดยไม่รับรู้ว่าความหมายที่ถูกต้องคืออย่างไร
แต่บางคำกลับตั้งข้อสงสัยถกเถียงโต้แย้งนั่นนี่เหมือนกับว่าเอาใจใส่พิถีพิถันการใช้ถ้อยคำกันเสียเหลือเกิน
แต่กลายเป็นรื้อของที่วางไว้เรียบร้อยดีแล้วให้กระจุยกระจายเสียอย่างนั้นแหละ
ชาติอื่นภาษาอื่นเขาเป็นโรคแบบนี้กันบ้างไหม ?
———–
(สืบเนื่องมาจากโพสต์ของ Nart Nara เมื่อ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๘
โดยได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าของโพสต์แล้ว-ขอบพระคุณครับ)
———–
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๓๐ มกราคม ๒๕๕๘