บาลีวันละคำ

สุนทรากษรวิจิตร (บาลีวันละคำ 3,398)

สุนทรากษรวิจิตร

สุนทรากษรวิจิตร

แปลว่าอะไร

อ่านตามหลักภาษาว่า สุน-ทะ-ราก-สอ-ระ-วิ-จิด

อ่านตามสะดวกว่า สุน-ทะ-ราก-สอน-วิ-จิด

แยกศัพท์เป็น สุนทร + อักษร + วิจิตร

(๑) “สุนทร

บาลีเป็น “สุนฺทร” (มีจุดใต้ นฺ) อ่านว่า สุน-ทะ-ระ รากศัพท์มาจาก สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย) + ทรฺ (ธาตุ = เอื้อเฟื้อ) + (อะ) ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ สุ แล้วแปลงเป็น นฺ (สุ > สุํ > สุนฺ)

: สุ > สุํ > สุนฺ + ทรฺ + = สุนฺทร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันจิตเอื้อเฟื้อด้วยดี” หมายถึง สวยงาม, ดี, งาม (beautiful, good, nice, well)

สุนทร” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

สุนทร, สุนทร– : (คำวิเศษณ์) งาม, ดี, ไพเราะ, เช่น วรรณคดีเป็นสิ่งสุนทร, มักใช้เข้าสมาสกับคำอื่น เช่น สุนทรพจน์ สุนทรโวหาร. (ป., ส.).”

(๒) “อักษร” 

บาลีเป็น “อกฺขร” อ่านว่า อัก-ขะ-ระ รากศัพท์มาจาก – 

(1) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขร (ของแข็ง), แปลง เป็น , ซ้อน กฺ 

: + กฺ + ขร = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เป็นของแข็ง” 

(2) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขรฺ (ธาตุ = พินาศ) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น , ซ้อน กฺ 

: + กฺ + ขรฺ = นกฺขรฺ + = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่พินาศไป” (คือไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป) 

(3) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขี (ธาตุ = สิ้นไป) + อร ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อี ที่ ขี (ขี > ), แปลง เป็น , ซ้อน กฺ 

: + กฺ + ขี = นกฺขี > นกฺข + อร = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่สิ้นไป” (คือใช้ไม่มีวันหมด) 

อกฺขร” (ปุงลิงค์, นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ 

– เป็นคำนาม หมายถึง เสียงที่เปล่งออก, เสียงสูงต่ำ, คำ, ถ้อยคำ (sounds, tones, words) 

– เป็นคุณศัพท์ หมายถึง มั่นคง, คงเส้นคงวา, ทนทาน, ยั่งยืน (constant, durable, lasting)

อกฺขร” ในภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “อักษร” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อักษร, อักษร– : (คำนาม) ตัวหนังสือ, วิชาหนังสือ เช่น ฉลาดรอบรู้ในอักษรสยาม. (ส.; ป. อกฺขร).”

(๓) “วิจิตร” 

บาลีเป็น “วิจิตฺต” อ่านว่า วิ-จิด-ตะ (เป็น “วิจิตฺร” ก็มี) รากศัพท์มาจาก – 

(1) วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + จิตฺตฺ (ธาตุ = งดงาม, วิจิตร) + (อะ) ปัจจัย

: วิ + จิตฺต = วิจิตฺต + = วิจิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งามวิจิตรเพราะสร้างขึ้นด้วยจิต” 

(2) วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + จินฺตฺ (ธาตุ = คิด) + (อะ) ปัจจัย, แปลง ที่ จินฺตฺ เป็น (จินฺตฺ > จิตฺต)

: วิ + จินฺต = วิจินฺต + = วิจินฺต > วิจิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนคิดไปต่างๆ” 

วิจิตฺต” เป็นคำนาม (นปุงสกลิงค์) และใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ต่าง ๆ, เป็นรูปหลายอย่าง, หลากสี, วิจิตร (various, variegated, coloured, ornamented)

ในภาษาไทยใช้เป็น “วิจิตร” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิจิตร : (คำวิเศษณ์) งามประณีต. (ส.; ป. วิจิตฺต).”

การประสมคำ :

สุนทร + อักษร ทีฆะ อะ ที่ อัก– เป็น อา (อัก > อาก)

: สุนทร + อักษร = สุนทรักษร > สุนทรากษร แปลว่า “อักษรที่งดงาม” 

๒ : สุนทรากษร + วิจิตร = สุนทรากษรวิจิตร แปลตามประสงค์ว่า “เพริศพริ้งด้วยอักษรที่งดงาม” 

ขยายความ :

คำว่า “สุนทรากษรวิจิตร” เป็นราชทินนามอันเป็นสมณศักดิ์พระเถระระดับ “พระครู” เท่าที่ปรากฏในเอกสารคือราชกิจจานุเบกษาที่พบในขณะที่เขียนนี้ เป็น “พระครูศรีสุนทรากษรวิจิตร” และ “พระครูสุนทรากษรวิจิตร

พระครูศรีสุนทรากษรวิจิตร” เดิมเป็นพระปลัดเอี่ยม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูศรีสุนทรากษรวิจิตร” และเป็นเจ้าอาวาสวัดสังข์กระจาย ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระอริยศีลาจารย์ อาพาธเป็นโรคลม ถึงมรณภาพวันที่ 2 ตุลาคม ร.ศ.113 อายุ 65 ปี

…………………………….

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/031/240.PDF

…………………………….

พระครูสุนทรากษรวิจิตร” นามเดิม “แจ้ง” เป็นเจ้าอาวาสวัดพระยาทำ จังหวัดธนบุรี อาพาธเป็นโรคชรา ถึงมรณภาพวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2469 อายุ 76 ปี

…………………………….

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/1483_1.PDF

…………………………….

เข้าใจว่าพระเถระที่ได้รับราชทินนามนี้เป็นปฐมคงจะมีความสามารถเป็นพิเศษในทางรจนาและมีผลงานเป็นที่ปรากฏ เมื่อจะพระราชทานสมณศักดิ์จึงยกคุณสมบัติที่โดดเด่นนั้นขึ้นเป็นราชทินนามว่า “สุนทรากษรวิจิตร” 

นามสมณศักดิ์ “พระครูศรีสุนทรากษรวิจิตร” ปรากฏตั้งแต่ ร.ศ.113 คงต้องตรวจสอบต่อไปว่า มีพระเถระที่ได้รับราชทินนามนี้มาก่อนแล้วหรือไม่ ส่วนนาม “พระครูสุนทรากษรวิจิตร” ก็คงเป็นนามเดียวกันนั่นเอง แต่ตัดให้สั้นลง หรือบางทีอาลักษณ์จะเผลอตกคำว่า “ศรี” ไปคำหนึ่ง จึงกลายเป็น “พระครูสุนทรากษรวิจิตร” ดังที่เห็น

งานที่ผู้สนใจน่าจะพึงทำต่อไปคือ ศึกษาสืบค้นว่านามสมณศักดิ์ “สุนทรากษรวิจิตร” มีขึ้นครั้งแรกเมื่อไร และปัจจุบันยังมีพระเถระที่ได้รับพระราชทานนามนี้อยู่หรือไม่

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใจแต่งคำ

: ธรรมแต่งใจ

————————

(ทำการบ้านส่งพระคุณท่าน Sunant Ruchiwet Phramaha)

#บาลีวันละคำ (3,398)

1-10-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *