บาลีวันละคำ

เถรคาถา-คัมภีร์ย่อยในขุทกนิกาย (บาลีวันละคำ 3,420)

เถรคาถา-คัมภีร์ย่อยในขุทกนิกาย

คำร้อยกรองของพระเถระ

อ่านว่า เถ-ระ-คาถา

ประกอบด้วยคำว่า เถร + คาถา 

(๑) “เถร” 

อ่านว่า เถ-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) ฐา (ธาตุ = ยืน, ตั้งอยู่) + อิร ปัจจัย, ลบ อา ที่ ฐา ( ฐา > ), แปลง เป็น , แผลง อิ ที่ อิ-(ร) เป็น เอ

: ฐา > + อิร = ฐิร > ถิร > เถร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคงอยู่” (ถ้าเป็นพระก็คือยังไม่มรณภาพ หรือยังไม่ลาสิกขา)

(2) ถิร (ธาตุ = มั่นคง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ถิ-(ร) เป็น เอ

: ถิร + = ถิรณ > ถิร > เถร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มั่นคง” (ดำรงเพศภิกษุอยู่อย่างมั่นคง, มีจิตใจมั่นคง)

(3) ถุ (ธาตุ = สรรเสริญ, ชมเชย) + อิร ปัจจัย, ลบ อุ ที่ ถุ, แผลง อิ ที่ อิ-(ร) เป็น เอ

: ถุ > + อิร = ถิร > เถร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้น่าสรรเสริญยกย่อง

เถร” เป็นคำนาม หมายถึง พระเถระ, พระผู้ใหญ่, พระภิกษุผู้มีพรรษาตั้งแต่ 10 ขึ้นไป; เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง ผู้เป็นพระเถระ, ผู้แก่, ผู้เฒ่า, ผู้ใหญ่

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

เถร, เถร-, เถระ : (คำนาม) พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกําหนดว่า พระมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ. (ป.).”

เถร” ในที่นี้หมายถึง พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล

(๒) “คาถา” 

รากศัพท์มาจาก คา (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: คา + = คาถ + อา = คาถา แปลตามศัพท์ว่า “วาจาอันเขาขับร้อง” หมายถึง คำกลอน, โศลก, คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (a verse, stanza, line of poetry)

ในภาษาบาลี คำว่า “คาถา” หมายถึงคําประพันธ์ประเภท “ร้อยกรอง” อย่างที่ภาษาไทยเรียกว่า กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ 

คาถาบทหนึ่งจะมี 4 บาท หรือ 4 วรรค จำนวนคำแต่ละวรรคและตำแหน่งคำภายในวรรคที่จะต้องใช้เสียงสั้น-ยาว หนัก-เบา เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของคาถาแต่ละชนิด ทำนองเดียวกับกาพย์กลอนของไทยที่กำหนดว่าคำไหนต้องสัมผัสกับคำไหน 

คาถา” ในความหมายว่า “ร้อยกรอง” นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ฉันท์

ตัวอย่างคาถาหรือฉันท์ 1 บท ในภาษาบาลี เช่นปัฐยาวัตฉันท์ มีบาทละ 8 พยางค์ –

อาโรคฺยปรมา  ลาภา

สนฺตุฏฺฐีปรมํ  ธนํ

วิสฺสาสปรมา  ญาติ

นิพฺพานปรมํ  สุขํ.

คาถา” แปลว่า “วาจาอันเขาขับร้อง” ความประสงค์ของการแต่งถ้อยคำให้เป็นคาถา ก็เพื่อจะได้ขับขานเป็นท่วงทำนองให้ชวนฟังกว่าการพูดธรรมดานั่นเอง

ในภาษาไทย คำว่า “คาถา” มักเข้าใจกันว่า เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้เสกเป่าหรือร่ายมนต์ขลังให้เกิดเป็นอิทธิฤทธิ์บันดาลผลที่ต้องการ

เพื่อเสริมความเข้าใจที่ถูกต้อง โปรดดูความหมายของ “คาถา” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า – 

(สะกดตามต้นฉบับ) 

คาถา : (คำนาม) ‘คาถา,’ กวิตา, คำประพันธ์; โศลก; ฉันทัส, คำฉันท์, พฤตต์; ดาล; เพลง, คำว่า ‘คีต, คีติ, รพ, ราพ, รวะ, ราวะ, เคยะ, คานะ’ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน; ประกฤตหรือภาษาใดภาษาหนึ่งซึ่งมิใช่สํสกฤต; ชื่อของอารยาฉันท์ (คำประพันธ์ซึ่งมีหกสิบอักษรมาตรา, จัดไว้ต่างๆ กัน); a verse; a stanza, metre; rhythm; a song, a chant; Prākrit or any language not Sanskrit; the name of the Āryā metre (a verse which contains sixty syllabic instants, variously arranged).”

จะเห็นว่า “คาถา” ในสันสกฤตก็ไม่มีความหมายไปในทางคำเสกเป่าเพื่อเกิดความขลังศักดิ์สิทธิ์แต่ประการใด

เหตุที่ “คาถา” ในภาษาไทยความหมายเคลื่อนที่ไปจากเดิมน่าจะเป็นเพราะคนไทยนับถือภาษาบาลีว่าเป็นคำพระ เมื่อเห็นคำสอนที่แต่งเป็น “คาถา” มีความหมายในทางดี จึงน้อมมาเป็นกำลังใจ เดิมก็คงเอามาท่องบ่นด้วยความพอใจในความหมายด้วยความรู้ความเข้าใจ แต่เมื่อนานเข้าก็ทิ้งความเข้าใจในหลักคำสอนที่มีอยู่ในถ้อยคำอันเป็น “คาถา” นั้นๆ คงยึดถือแต่เพียงถ้อยคำหรือเสียงโดยเชื่อว่าเมื่อท่องบ่นแล้วจะเกิดผลดลบันดาลให้สำเร็จในทางนั้นๆ คำว่า “คาถา” จึงกลายความหมายเป็นคำขลังศักดิ์สิทธิ์ไปในที่สุด

คำที่เสียงใกล้เคียงกับ “คาถา” คือ “กถา” (กะ-ถา) “คาถา” กับ “กถา” มีความหมายแตกต่างกัน คือ –

คาถา : คำที่แต่งเป็นกาพย์กลอน (a verse, stanza, line of poetry)

กถา : คำพูดทั่วไป (talking, speech, word)

เถร + คาถา = เถรคาถา (เถ-ระ-คา-ถา) แปลว่า “คำร้อยกรองของพระเถระ” หรือ “คำร้อยกรองอันกล่าวถึงเรื่องราวของพระเถระ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “เถรคาถา” ไว้ดังนี้ –

…………..

เถรคาถา : คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรม เป็นต้น จัดเป็นคัมภีร์ที่ ๘ แห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก.

…………..

ขยายความ :

เถรคาถา” เป็นชื่อคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกาย (คำเดิมสะกด ขุททกนิกาย) 

ขุทกนิกาย” เป็น 1 ใน 5 ส่วนของพระสุตตันปิฎกหรือพระสูตร (พระสุตตันตปิฎกเป็น 1 ใน 3 ของไตรปิฎก คือ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม) 

5 ส่วนของพระสุตตันปิฎกเรียกว่า “นิกาย” ประกอบด้วยทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย (คำเดิมสะกด สังยุตตนิกาย) อังคุตรนิกาย (คำเดิมสะกด อังคุตตรนิกาย) และขุทกนิกาย

ขุทกนิกายเป็นส่วนที่รวมคัมภีร์ย่อยไว้ 15 คัมภีร์ ที่เรียกว่า “คัมภีร์ย่อย” ไม่ได้หมายถึงเป็นคัมภีร์เล็กน้อยที่ไม่สำคัญ หากแต่หมายถึงคัมภีร์ที่ท่านไม่จัดรวมเข้าไว้ในนิกายทั้ง 4 แต่แยกออกมาไว้ต่างหาก บางคัมภีร์ใหญ่มากเช่น “ชาดก” มีความยาว 2 เล่มพระไตรปิฎก (เล่มที่ 27-28) และมีคัมภีร์อธิบายขยายความที่เรียกว่า “อรรถกถา” อีกถึง 10 เล่ม 

คัมภีร์ย่อย 15 คัมภีร์มีชื่อดังนี้ (1) ขุททกปาฐะ (2) ธรรมบท (3) อุทาน (4) อิติวุตตกะ (5) สุตตนิบาต (6) วิมานวัตถุ (7) เปตวัตถุ (8 ) เถรคาถา (9) เถรีคาถา (10) ชาดก (11) นิทเทส (12) ปฏิสัมภิทามรรค (13) อปทาน (14) พุทธวงส์ (15) จริยาปิฎก

…………..

เถรคาถา” เป็นคัมภีร์รวมคาถาของพระอรหันตเถระ 264 รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรมเป็นต้น 

เนื่องจากพระเถระที่ปรากฏนามในคัมภีร์นี้มีเป็นจำนวนมาก จึงขอนำมาแสดงเฉพาะหมวดหมู่ที่ท่านรวมไว้ ดังนี้ –

(1) เอกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 1 บท) รวม 120 รูป มีพระสุภูติเถระเป็นต้น

(2) ทุกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 2 บท) รวม 49 รูป มีพระอุตตรเถระเป็นต้น

(3) ติกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 3 บท) รวม 16 รูป มีพระอังคณิกภารทวาชเถระเป็นต้น

(4) จตุกกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 4 บท) รวม 12 รูป มีพระนาคสมาลเถระเป็นต้น

(5) ปัญจกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 5 บท) รวม 12 รูป มีพระราชทัตตเถระเป็นต้น

(6) ฉักกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 6 บท) รวม 14 รูป มีพระอุรุเวลกัสสปเถระเป็นต้น

(7) สัตตกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 7 บท) รวม 5 รูป มีพระสุนทรสมุททเถระเป็นต้น

(8) อัฏฐกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 8 บท) รวม 3 รูป มีพระมหากัจจายนเถระเป็นต้น

(9) นวกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 9 บท) มี 1 รูป คือพระภูตเถระ

(10) ทสกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 10 บท) รวม 7 รูป มีพระกาฬุทายีเถระเป็นต้น

(11) เอกาทสกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 11 บท) มี 1 รูป คือพระสังกิจจเถระ

(12) ทวาสทกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 12 บท) รวม 2 รูป คือ พระสีลวเถระ และพระสุนีตเถระ

(13) เตรสกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 13 บท) มี 1 รูป คือพระโสณโกฬิวิสเถระ

(14) จุททสกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 14 บท) รวม 2 รูป คือ พระเรวตเถระ และพระโคทัตตเถระ

(15) โสฬสกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 16 บท) รวม 2 รูป คือ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ และพระอุทายีเถระ

(16) วีสตินิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 20 บท) รวม 10 รูป มีพระอธิมุตตเถระเป็นต้น

(17) ติงสนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 30 บท) รวม 3 รูป มีพระปุสสเถระเป็นต้น

(18) จัตตาฬีสนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 40 บท) มี 1 รูป คือพระมหากัสสปเถระ

(19) ปัญญาสนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 50 บท) มี 1 รูป คือพระตาลปุฏเถระ

(20) สัฏฐิกนิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถา 60 บท) มี 1 รูป คือพระมหาโมคคัลลานเถระ

(21) มหานิบาต (รวมคาถาของพระเถระที่กล่าวคาถามากกว่า 60 บทขึ้นไป) มี 1 รูป คือพระวังคีสเถระ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เถระตามพระวินัย คือบวชมาเกินสิบพรรษา

: เถระตามธรรมปฏิปทา คือมั่นคงอยู่ในพระธรรมวินัย

#บาลีวันละคำ (3,420)

23-10-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *