จับต้องกายหญิง
จับต้องกายหญิง
มหาวิภังค์ ภาค ๑ วินัยปิฎก พระไตรปิฎกเล่ม ๑ ข้อ ๓๗๗-๓๙๖
สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ หน้า ๒๐-๓๙
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๓ หน้า ๑๒๓-๑๘๑
ประโยค ๗ – ทุติยสมันตปาสาทิกาแปล ภาค ๑ หน้า ๓๒-๕๘
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 123
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระอุทายี
[๓๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นท่าน
พระอุทายีอยู่ในป่า วิหารของท่านงดงาม น่าดู น่าชม มีห้องกลาง มี
ระเบียงโดยรอบ เตียงตั่งฟูกหมอน จัดไว้เรียบร้อย น้ำฉัน น้ำใช้ ตั้ง
ไว้ดีแล้ว บริเวณเตียนสะอาด ประชาชนเป็นอันมากพากันมาชมวิหาร
ของท่านพระอุทายี แม้พราหมณ์คนหนึ่งกับภรรยาก็เข้าไปหาท่านพระ-
อุทายี แล้วได้กล่าวกะท่านว่า พวกผมอยากชมวิหารของท่าน ท่าน
พระอุทายีกล่าวเชิญว่า ถ้าเช่นนั้น เชิญชมเถิดพราหมณ์ แล้วถือลูกดาล
ไขลิ่มผลักบานประตูเข้าไป
แม้พราหมณ์นั้นก็ตามหลังท่านพระอุทายีเข้าไป ส่วนพราหมณีตาม
หลังพราหมณ์เข้าไป ขณะนั้น ท่านพระอุทายีเดินไปเปิดบานหน้าต่างบาง
ตอน ปิดบานหน้าต่างบางตอนรอบห้อง แล้วย้อนมาทางหลัง จับอวัยวะ
น้อยใหญ่ของพราหมณีนั้น
ครั้น พราหมณ์นั้นสนทนากับ ท่านพระอุทายีแล้ว ก็ลากลับไป
พราหมณ์นั้นดีใจเปล่งวาจาแสดงความยินดีว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-
ศากยบุตรเหล่านี้ อยู่ในป่าเช่นนี้ ยังมีอัธยาศัยดี แม้ท่านพระอุทายีอยู่ใน-
ป่าเช่นนี้ ก็ยังมีอัธยาศัยดี
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนั้นแล้ว พราหมณีได้กล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า
พระอุทายีจะมีอัธยาศัยดีแค่ไหน เพราะพระอุทายีได้จับอวัยวะน้อยใหญ่
ของดิฉันเหมือนที่ท่านจับดิฉัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 124
พอได้ทราบดังนั้น พราหมณ์จึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า พระ-
สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระ-
สมณะเหล่านี้ยังจักปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติเรียบร้อย
ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม ดังนี้เล่า ความ
เป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะ
เหล่านี้ไม่มี ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้พินาศแล้ว ความเป็น
พราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้พินาศแล้ว ความเป็นสมณะของพระสมณะ
เหล่านี้จะมีแต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้จะมีแต่ไหน
พระสมณะเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะแล้ว พระสมณะเหล่านี้ปราศ-
จากความเป็นพราหมณ์แล้ว ไฉนพระสมณอุทายี จึงได้จับต้องอวัยวะ
น้อยใหญ่ของภรรยาเรา ต่อไปกุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ผู้มีสกุล
กุลทาสี จักไม่กล้าไปสู่อารามหรือวิหาร เพราะถ้าไป พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านั้น ก็จะพึงประทุษร้ายเขา
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่
ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึง
ได้ถึงกายสังสัคคะกับมาตุคามเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 125
ท่านพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่าเธอถึงกายสังสัคคะกับมาตุคาม
จริงหรือ
ท่านพระอุทายีทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้ถึงกายสังสัคคะกับมาตุคามเล่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อ
คลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่
เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น
มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้วเพื่อคลายความกำหนัด
เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจัก
คิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อ
มีความถือมั่น
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อ
เป็นที่สำรอกราคะ เพื่อเป็นที่สร่างความเมา เพื่อบรรเทาความกระหาย
เพื่อเพิกถอนอาลัย เพื่อเข้าไปตัดวัฏฏะ เพื่อสิ้นตัณหา เพื่อคลาย
ความกำหนัด เพื่อความดับทุกข์ เพื่อความไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
มิใช่หรือ
การการละกามเราก็บอกแล้ว การกำหนดรู้ความหมายในการ การ
กำจัดความกระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม
การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราก็บอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย
มิใช่หรือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 126
ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุม-
ชนที่เลื่อมใสแล้ว อันที่แท้ การกระทำของเธอนั่นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของ
ชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย
แล้ว ทรงติโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ
เกียจคร้าน ทรงสรรเสริญคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็น
คนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนก-
ปริยาย แล้วทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่
เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ
ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั่งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 127
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖. ๒. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว ถึง
ความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม คือจับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตาม
ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องพระอุทายี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๖] บทว่า อนึ่ง . . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ
งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติ
อย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม
เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม ผู้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
อนึ่ง. . .ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา
ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น ผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสาร-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 128
ธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์
พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควร
แก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบท
ให้แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือ มีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์.
บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตที่ถูกราคะย้อมแล้ว ก็แปรปรวน
ทิ่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้วก็แปรปรวน ทิ่ถูกโมหะให้ลุ่มหลงแล้วก็แปร-
ปรวน แต่ที่ว่าแปรปรวนโนอรรถนี้ ทรงประสงค์จิตทื่ถูกราคะย้อมแล้ว.
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ไค้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิง
เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย โดยที่สุด แม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น
ไม่ต้องพูดถึงหญิงผู้ใหญ่.
บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.
คำว่า ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย คือ ที่เรียกกันว่าความประพฤติ
ล่วงเกิน.
ทื่ชื่อว่า มือ คือ หมายตั้งแต่ข้อศอกถึงปลายเล็บ.
ทื่ชื่อว่า ช้องผม คือ เป็นผมล้วนก็มี แซมด้วยด้ายก็มี แซมด้วย
ดอกไม้ก็ แซมด้วยเงินก็มี แซมด้วยทองก็มี แซมด้วยแก้วมุกดาก็มี
แซมด้วยแก้วมณีก็มี.
ที่ชื่อว่า อวัยวะ คือ เว้นมือและช้องผมเสีย นอกนั้นชื่อว่าอวัยวะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 129
[๓๗๗] ที่ชื่อว่า ลูบคลำ คือ ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ
อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง.
[๓๗๘] ที่ชื่อว่า ถูก คือ เพียงถูกต้อง ที่ชื่อว่า คลำ คือ จับ
เบา ๆ ไปข้างโน้นข้างนี้ ที่ชื่อว่า ลูบลง คือ ลูบลงเบื้องล่าง ที่ชื่อว่า
ลูบขึ้น คือ ลูบขึ้นเบื้องบน ที่ชื่อว่า ทับ คือ กดลงข้างล่าง ที่ชื่อว่า อุ้ม
คือ ยกขึ้นข้างบน ที่ชื่อว่า ฉุด คือ รั้งมา ที่ชื่อว่า ผลัก คือ ผลักไป
ที่ชื่อว่า กด คือ จับอวัยวะกดลง ที่ชื่อว่า บีบ คือ บีบกับวัตถุบางอย่าง
ที่ชื่อว่า จับ คือ จับเฉย ๆ ที่ชื่อว่า ต้อง คือ เพียงต้องตัว.
[๓๗๙] บทว่า สังฆาทิสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส
เพื่ออาบัตินั้นได้ ซักเข้าอาบัติเดิมได้ ให้มานัตได้ เรียกเข้าหมู่ได้ ไม่ใช่
คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า
สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของ
อาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
ภิกษุเปยยาล สตรี-กายต่อกาย
[๓๘๐] สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของสตรี ด้วยกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง
ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรี
ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 130
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของสตรี ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และถูก
คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกาย
นั้นของสตรี ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของสตรี ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์-กายต่อกาย
บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และถูก คลำ
ลูบขึ้น ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้น
ของบัณเฑาะก์ ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ
บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์ ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์ ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 131
บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นสตรี มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ท้อง
ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์ ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
บุรุษ-กายต่อกาย
บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และถูก
คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกาย
นั้นของบุรุษ ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ
บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง
ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบุรุษ
ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของบุรุษ ด้วยกายต้องอาบัติทุกกฏ
บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และถูก
คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่ง
กายนั้นของบุรุษ ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของบุรุษ ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉาน-กายต่อกาย
สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 132
จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยกายต้องอาบัติทุกกฎ
สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และถูก
คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกาย
นั้นของสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ
สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นสตรี มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้น ของสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบัณเฑาะก์ มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบุรุษ มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรีสองคน-กายต่อกาย
[๓๘๑] สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของสตรีทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 133
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ
ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ชึ่งกายนั้นของสตรีทั้งสองคน ด้วยกายต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ๒ ตัว
บัณเฑาะก์สองคน-กายต่อกาย
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสงสัย บัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฎ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 134
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฎ ๒ ตัว
บุรุษสองคน-กายต่อกาย
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบุรุษทั้งสองคน ด้วยกายต้องอาบัติทุกกฎ ๒ ตัว
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของบุรุษทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบุรุษทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบุรุษทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติ ทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 135
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ
ต้อง ซึ่งกายนั้นของบุรุษทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉานสองตัว-กายต่อกาย
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง
ตัว มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก
กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองตัว ด้วยกาย
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสงสัยสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองตัว มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองตัว ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญเป็นสตรีทั้งสองตัว มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองตัว ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองตัว
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้น ของสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองตัว ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญเป็นบุรุษทั้งสองตัว มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองตัว ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 136
สตรี บัณเฑาะก์-กายต่อกาย
[๓๘๒] สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี
ทั้งสองคน มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง
ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฎ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์
ทั้งสองคนมีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง
ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบุรุษทั้งสองคน
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้น ของสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ด้วยกาย ต้อง
อาบัติทุกกฎ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบุรุษทั้งสองคน
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ด้วยกาย ต้อง
อาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 137
สตรี บุรุษ-กายต่อกาย
สตรีหนึ่ง บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและบุรุษทั้งสอง ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส
สตรีหนึ่ง บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของสตรีและบุรุษทั้งสอง ด้วยกายต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ
ถุลลัจจัย
สตรีหนึ่ง บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายของสตรีและบุรุษทั้งสอง ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฎ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรีหนึ่ง บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบุรุษทั้งสองคน มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและบุรุษทั้งสอง ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรีหนึ่ง บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง-
สองคน มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและบุรุษทั้งสอง ด้วยกาย
ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 138
สตรี ดิรัจฉาน-กายต่อกาย
สตรีหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง
มีความกำหนัดและถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ด้วยกาย ต้อง
อาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส
สตรีหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรีหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์
ทั้งสอง มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง
ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรีหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบุรุษทั้งสอง
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ด้วยกาย
ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรีหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งสอง มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง
ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 139
บัณเฑาะก์ บุรุษ-กายต่อกาย
บัณเฑาะก์หนึ่ง บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง
สองคน มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ด้วยกาย
ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์หนึ่ง บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์หนึ่ง บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ด้วยกาย ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์หนึ่ง บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งสองคน มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง
ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์หนึ่ง บุรุษหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ด้วยกาย ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 140
บัณเฑาะก์ สัตว์ดิรัจฉาน-กายต่อกาย
บัณเฑาะก์หนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็น
บัณเฑาะก์ทั้งสอง มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม
ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้น ของบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งสอง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์หนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มี
ความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ด้วยกาย
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์หนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ
ทั้งสอง มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งสอง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์หนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์
ดิรัจฉานทั้งสอง มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม
ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งสอง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์หนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี
ทั้งสอง มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งสอง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 141
บุรุษ สัตว์ดิรัจฉาน-กายต่อกาย
บุรุษหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบุรุษทั้งสอง
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ด้วยกาย
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ซึ่งกายนั้น ของบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ด้วยกาย ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งสอง มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้น ของบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง
ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษหนึ่งสัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ด้วยกาย
ต้องอาบัติ ทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษหนึ่ง สัตว์ดิรัจฉานหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญเป็นบัณเฑาะก์
ทั้งสอง มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง
ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 142
สตรี-กายต่อของเนื่องด้วยกาย
[๓๘๓] สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของสตรี ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จัน ต้อง
ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของสตรีทั้งสองคน ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสองคน
ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี-ของเนื่องด้วยกายต่อกาย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และถูก
คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้น
ของสตรี ด้วยของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด
และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่ง
กายนั้นของสตรีทั้งสองคน ด้วยของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 143
จับ ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ด้วย
ของเนื่องด้วยกายต้องอาบัติทุกกฎ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี-ของเนื่องด้วยกายต่อของเนื่องด้วยกาย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และถูก
คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งของเนื่อง
ด้วยกายนั้นของสตรี ด้วยของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ
ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของสตรีทั้งสองคน ด้วยของเนื่องด้วยกาย
ต้องอาบัติทุกกฎ ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้น ของสตรี และบัณเฑาะก์ทั้งสองคน
ด้วยของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ ๒ ตัว
สตรี-ของที่โยนต่อกาย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และถูก
ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรี ด้วยของที่โยนไป ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และถูก ต้อง ซึ่งกายนั้น ของสตรีทั้งสองคน ด้วยของที่โยนไป
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 144
มีความกำหนัด และถูก ต้อง ซึ่งกายนั้นของสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสองคน
ด้วยของที่โยนไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรี-ของที่โยนต่อเนื่องด้วยกาย
สตรีหนึ่ง ภิกษุสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และถูก ต้อง
ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของสตรี ด้วยของที่โยนไป ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และถูก ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของสตรีทั้งสองคน ด้วย
ของที่โยนไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และถูก ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของสตรีและ
บัณเฑาะก์ทั้งสองด้วยของที่โยนไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรี-ของที่โยนต่อของที่โยน
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และถูก
ต้อง ซึ่งของที่โยนมานั้นของสตรี ด้วยของที่โยนไป ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และถูก ต้อง ซึ่งของที่โยนมานั้นของสตรีทั้งสอง ด้วยของที่โยน
ไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และถูก ต้อง ซึ่งของที่โยนมานั้นของสตรีและบัณเฑาะก์
ทั้งสองด้วยของที่โยนไป ต้องอาบัติทุกกฎ ๒ ตัว.
ภิกษุเปยยาล จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 145
อิตถีเปยยาล
สตรี-กายต่อกาย
[๓๘๔] สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด
และสตรี ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง
ซึ่งกายนั้นของภิกษุด้วยกาย ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย
รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และสตรีทั้งสอง ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก
กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของภิกษุ ด้วยกาย ภิกษุมีความประสงค์
จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มี
ความกำหนัด และทั้งสองคน ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก
กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้นของภิกษุ ด้วยกาย ภิกษุมีความประสงค์
จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ
สังฆาทิเสส
สตรี-กายต่อของเนื่องด้วยกาย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และสตรี
ถูก คลำ ลูบขึ้น ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งของ
เนื่องด้วยกายนั้นของภิกษุ ด้วยกาย ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายาม
ด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และสตรีทั้งสองคน ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 146
กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของภิกษุ ด้วยกาย ภิกษุมี
ความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
ความกำหนัด และทั้งสองคน ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของภิกษุ ด้วยกาย
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี-ของเนื่องด้วยกายต่อกาย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และสตรี
ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกาย
นั้นของภิกษุ ด้วยของเนื่องด้วยกาย ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายาม
ด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และสตรีทั้งสองคน ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก
กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้น ของภิกษุ ด้วยของเนื่องด้วยกาย ภิกษุมี
ความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และทั้งสองคน ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งกายนั้น ของภิกษุ ด้วยของเนื่องด้วยกาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 147
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี-ของเนื่องด้วยกายต่อของเนื่องด้วยกาย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และสตรี
ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งของ
เนื่องด้วยกายนั้นของภิกษุ ด้วยของเนื่องด้วยกาย ภิกษุมีความประสงค์
จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด
และสตรีทั้งสองคน ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ
จับ ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของภิกษุ ด้วยของเนื่องด้วยกาย ภิกษุ
มีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และทั้งสองคน ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด
ผลัก กด บีบ จับ ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของภิกษุ ด้วยของ
เนื่องด้วยกาย ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรี-ของที่โยนต่อกาย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และสตรี
ถูก ต้อง ซึ่งกายนั้นของภิกษุ ด้วยของที่โยน ไป ภิกษุมีความประสงค์จะ
เสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 148
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และสตรีทั้งสองคน ถูก ต้อง ซึ่งกายนั้นของภิกษุ ด้วยของที่
โยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และทั้งสองคน ถูก ต้อง ซึ่งกายนั้น ของภิกษุ ด้วยของ
ที่โยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรี-ของที่โยนต่อของเนื่องด้วยกาย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และสตรี
ถูก ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้น ของภิกษุ ด้วยของที่โยนไป ภิกษุมี
ความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และสตรีทั้งสองคน ถูก ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของภิกษุ
ด้วยของที่โยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบ
ผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำกัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และทั้งสองคน ถูก ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของ
ภิกษุ ด้วยของที่โยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย
รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรี-ของที่โยนต่อของที่โยน
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และสตรี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 149
ถูก ต้อง ซึ่งของที่โยนมานั้นของภิกษุ ด้วยของที่โยนไป ภิกษุมีความ
ประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และสตรีทั้งสองคน ถูก ต้อง ซึ่งของที่โยนมานั้นของภิกษุ ด้วย
ของที่โยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะ
อยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และทั้งสองคน ถูก ต้อง ซึ่งของที่โยนมานั้นของภิกษุ
ด้วยของที่โยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบ
ผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ ๒ ตัว.
อิตถีเปยยาล จบ
[๓๘๕] ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะ
อยู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย แต่ไม่รู้ตอบผัสสะ
ต้องอาบัติทุกกฎ
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ แต่ไม่พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ แต่ไม่พยายามด้วยกาย และไม่รู้ตอบ
ผัสสะ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่
ไม่ต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 150
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น พยายามด้วยกาย แต่ไม่รู้ตอบผัสสะ
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น แต่ไม่พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะ
อยู่ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น แต่ไม่พยายามด้วยกาย และไม่รู้
ตอบผัสสะ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๘๖] ภิกษุไม่จงใจถูกต้อง ๑ ภิกษุถูกต้องด้วยไม่มีสติ ๑ ภิกษุ
ไม่รู้ ๑ ภิกษุไม่ยินดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
วินีตวัตถุ
คาถาแสดงชื่อเรื่อง
[๓๘๗ ] เรื่องมารดา เรื่องบิดา เรื่องพี่ เรื่องน้อง เรื่องชายา
เรื่องยักษี เรื่องบัณเฑาะก์ เรื่องสตรีหลับ เรื่องสตรีตาย เรื่องสัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย เรื่องตุ๊กตาไม้ เรื่องฉุดต่อ ๆ กัน เรื่องสะพาน เรื่อง
หนทาง เรื่องต้นไม้ เรื่องเรือ เรื่องเชือก เรื่องท่อนไม้ เรื่องดัน
ด้วยบาตร เรื่องไหว้ เรื่องพยายามแต่มิได้จับต้อง.
เรื่องมารดา
[๓๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องมารดาด้วยความรัก
ฉันมารดา เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 151
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่องธิดา
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องธิดาด้วยความรักฉันธิดา เธอ
ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่องพี่น้องหญิง
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง จับต้องพี่น้องหญิงด้วยความรักฉัน
พี่น้องหญิง เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องชายา
[๓๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย
กับปุราณทุติยิกา เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องยักษี
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับนาง
ยักษิณี เธอได้มีความว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 152
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องบัณเฑาะก์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับ
บัณเฑาะก์ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องสตรีหลับ
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับสตรี
นอนหลับ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส แล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องสตรีตาย
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับสตรี
ตายแล้ว เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับสัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ ทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 153
เรื่องตุ๊กตาไม้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับตุ๊กตา
ไม้ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องทุกกฏ
เรื่องฉุดต่อ ๆ กัน
[๓๙๐] ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีจำนวนมากเอาแขนต่อ ๆ กันโอบ
พาภิกษุรูปหนึ่งไป ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอยินดีไหม
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องสะพาน
[๓๙๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด เขย่าสะพาน
ที่สตรีขึ้นเดิน เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องหนทาง
[๓๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพบสตรีเดินสวนทางมา
มีความกำหนัด ได้กระทบไหล่ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 154
เรื่องต้นไม้
[๓๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้เขย่า
ต้นไม้ที่สตรีขึ้น เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องเรือ
[๓๙๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด โคลงเรือ
ที่สตรีลงนั่ง เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องเชือก
[๓๙๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด กระตุก
เชีอกที่สตรีรับไว้ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องท่อนไม้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหนึ่งฉุดท่อนไม้ที่สตรีถือไว้ เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องดันด้วยบาตร
[๓๙๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ดันสตรีไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 155
ด้วยบาตร เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องไหว้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ยกเท้าขึ้นถูกต้อง
สตรีผู้กำลังไหว้ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราไม่ต้องสังฆาทิเสสแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องพยายามแต่มิได้จับต้อง
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพยายามว่าจะจับสตรี แต่มิได้จับต้อง
เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ จบ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
กายสังสัคคสิกขาบทวรรณนา
กายสังสัคคสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นอาทิ
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป ในกายสังสัคคสิกขาบทนั้น มีการพรรณนาบท
ที่ยังไม่ชัดเจน ดังต่อไป:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 156
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระอุทายี]
สองบทว่า อรญฺเ วิหรติ ความว่า ไม่ใช่อยู่ในป่าแผนกหนึ่ง
ต่างหาก คือ อยู่ที่สุดแดนข้างหนึ่งแห่งพระวิหารเขตวันนั่นเอง.
สองบทว่า มชฺเฌ คพฺโภ ความว่า ก็ที่ตรงกลางวิหารของท่าน
พระอุทายีนั้น มีห้อง.
บทว่า สมนฺตาปริยาคาโร ความว่า ก็โดยรอบห้องนั้น มีระเบียง
โรงกลมเป็นเครื่องล้อม. ได้ยินว่า ห้องนั้น ท่านพระอุทายีสร้างให้เป็น
ห้อง ๔ เหลี่ยมจตุรัสที่ตรงกลาง โดยมีโรงกลมเป็นระเบียงล้อมในภาย
นอก อย่างที่คนทั้งหลายอาจเพื่อจะเดินเวียนรอบภายในได้ทีเดียว.
บทว่า สุปฺปญฺต แปลว่า จัดตั้งไว้เรียบร้อย. อธิบายว่า เตียง
ดังนั้น จัดวางไว้โดยประการใด ๆ และในโอกาสใด ๆ จึงจะก่อให้เกิด
ความเลื่อมใส ให้ชาวโลกยินดี, ท่านได้จัดตั้งไว้โดยประการนั้น ๆ ใน
โอกาสนั้น ๆ. แท้จริง ท่านพระอุทายีนั้น จะกระทำกิจแม้สักอย่างหนึ่ง
โดยยกข้อวัตรขึ้นเป็นประธานก็หามิได้.
ข้อว่า เอกจฺเจ วาตปาเน ความว่า เปิดหน้าต่างทั้งหลายที่เมื่อ
ปิดแล้วมีความมืด ปิดหน้าต่างทั้งหลายที่เมื่อเปิดแล้วมีแสงสว่าง.
ข้อว่า อว วตฺเต สา พฺราหฺมณ ต พฺราหฺมณ เอตทโวจ
ความว่า เมื่อพราหมณ์นั้นกล่าวสรรเสริญอย่างนี้ นางพราหมณีนั้นเข้าใจ
ว่า พราหมณ์นี้เลื่อมใสแล้ว ชะรอยอยากจะบวช เมื่อจะเปิดเผยอาการ
ที่น่าบัดสีนั้นของตน แม้ควรปกปิดไว้ มีความมุ่งหมายจะตัดรอนศรัทธา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 157
ของพราหมณ์นั้นอย่างเดียว จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า กุโต ตสฺส อุฬา-
รตฺตตา* นี้
ในบทว่า อุฬารตฺตตา นั้น มีวิเคราะห์ว่า ตน (อัธยาศัย) ของผู้นั้น
โอฬาร (ดี); เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีตนอันโอฬาร. ภาวะแห่งบุคคล
ผู้มีตนอัน โอฬารนั้น ชื่อว่า อุฬารตฺตตา.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กุลิตฺถีหิ เป็นต้นต่อไป:-
หญิงแม่เจ้าเรือนทั้งหลาย ชื่อว่า กุลสตรี. พวกลูกสาวของตระกูล
ผู้ไปกับบุรุษอื่นได้ ชื่อว่า กุลธิดา. พวกหญิงวัยรุ่นมีใจยังไม่หนักแน่น
เรียกชื่อว่า กุลมารี. หญิงสาวที่เขานำมาจากตระกูลอื่น เพื่อเด็กหนุ่ม
ในตระกูล เรียกชื่อว่า กุลสุณหา.
(อธิบายสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยถูกราคะครอบงำ)
บทว่า โอติณฺโณ นั้น ได้แก่ ผู้อันราคะซึ่งเกิดในภายในครอบงำ
แล้ว ประหนึ่งสัตว์ทั้งหลาย ที่ถูกยักษ์เป็นต้นข่มขื่นเอาไว้ฉะนั้น. อีก
อย่างหนึ่ง เมื่อไม่พิจารณากำหนัดอยู่ในฐานะที่น่ากำหนัด ชื่อว่าหยั่งลง
สู่ความกำหนัดเอง ดังสัตว์ที่ไม่พิจารณาตกหลุมเป็นต้นฉะนั้น. ก็คำว่า
โอติณฺโณ นี้ เป็นชื่อของภิกษุผู้สะพรั่งด้วยราคะ เท่านั้น แม้โดยประการ
ทั้งสอง; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า
โอติณฺโณ นั้น อย่างนี้ว่า ผู้กำหนัดนัก ผู้มีความเพ่งเล็ง ผู้มีจิตปฏิพัทธ์
ชื่อว่า ผู้ถูกราคะครอบงำ.
*บาลี เป็นอุฬารตา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 158
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สารตฺโต ได้แก่ ผู้กำหนัดจัด ด้วย
กายสังสัคคราคะ.
บทว่า อเปกฺขวา ได้แก่ ผู้มีความเพ่งเล่ง ด้วยความมุ่งหมายใน
กายสังสัคคะ.
บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตผูกพันในวัตถุนั้น ด้วยกาย
สังสัคคราคะนั่นแหละ.
บทว่า วิปริณเตน มีความว่าจิตที่ละปกติ กล่าวคือภวังคสันตติ
ที่บริสุทธิ์เสีย เป็นไปโดยประการอื่น จัดว่าแปรปรวนไปผิดรูป หรือ
เปลี่ยนแปลงไปผิดรูป. อธิบายว่า จิตเปลี่ยนแปลงอย่างใด ชื่อว่าผิดรูป,
มีจิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างนั้น. ก็เพราะเหตุที่จิตนั้นไม่ล่วงเลยความประ-
กอบพร้อมด้วยกิเลส มีราคะเป็นต้นไปได้; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า วิปริณต นั้น โดยนัยเป็นต้นว่า วิปริณตนฺติ
รตฺตมฺปิ จิตฺต แล้วจะทรงแสดงอรรถที่ประสงค์ในสิกขาบทนี้ในที่สุด จึง
ตรัสว่า ก็แต่ว่า จิตที่กำหนัดแล้ว ชื่อว่าจิตแปรปรวน ซึ่งประสงค์ใน
อรรถนี้.
บทว่า ตทหุชาตา ได้แก่ เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น คือ สักว่าเกิด
ยังมีสีเป็นชิ้นเนื้อสด. จริงอยู่ ในเพราะเคล้าคลึงกายกับเด็กหญิง แม้เห็น
ปานนี้ ก็ย่อมเป็นสังฆาทิเสส, ในเพราะก้าวล่วงด้วยเมถุน ย่อมเป็น
ปาราชิก, และในเพราะยินดีด้วยรโหนิสัชชะ ย่อมเป็นปาจิตตีย์.
บทว่า ปเคว ได้แก่ ก่อนทีเดียว.
สองบทว่า กายสสคฺค สมาปชฺเชยฺย มีความว่า พึงถึงความ
ประชิดกายมีจับมือเป็นต้น คือ ความเป็นผู้เคล้าคลึงด้วยกาย. ก็กาย-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 159
สังสัคคะของภิกษุผู้เข้าถึงความเคล้าคลึงด้วยกายนั่นแหละ โดยใจความ
ย่อมเป็นอัชฌาจาร คือ ความประพฤติล่วงแดนแห่งสำรวมด้วยอำนาจ
ราคะ; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความโดย
ย่อแห่งสองบทนั้น จึงตรัสบทภาชนะว่า เราเรียกอัชฌาจาร.
บทว่า หตฺถคฺคาห วา เป็นต้น เป็นบทจำแนกของสองบทนั้น
ท่านแสดงโดยพิสดาร ในสิกขาบทนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้น
ว่า หตฺโถ นาม กุปฺปร อุปาทาย เพื่อแสดงวิภาคแห่งอวัยวะ มีมือ
เป็นต้น ในบทภาชนะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า กุปฺปร อุปาทาย มีความว่า หมาย
ถึงที่ต่อใหญ่ที่สอง (ตั้งแต่ข้อศอกลงไป). แต่ในที่อื่นตั้งแต่ต้นแขนถึง
ปลายเล็บ จัดเป็นมือ. ในที่นี้ ประสงค์ตั้งแต่ข้อศอกพร้อมทั้งปลาย
เล็บ.
บทว่า สุทฺเกสาน ได้แก่ ผมที่ไม่เจือด้วยด้ายเป็นต้น คือ
ผมล้วน ๆ นั่นเอง. คำว่า ช้อง นี้ เป็นชื่อของมัดผมที่ถักด้วยผม ๓
เกลียว.
บทว่า สุตฺตมิสฺสา ได้แก่ ช้องที่เขาเอาด้าย ๕ สี แซมในผม.
บทว่า มาลามิสฺสา ได้แก่ ช้องที่เขาแซมด้วยดอกมะลิเป็นต้น
หรือถักด้วยผม ๓ เกลียว. อีกอย่างหนึ่ง กำผมที่แซมด้วยดอกไม้อย่าง
เดียว แม้ไม่ได้ถัก ก็พึงทราบว่า ช้อง ในที่นี้.
บทว่า หิรญฺมิสฺสา ได้แก่ ช้องที่แซมด้วยระเบียบกหาปณะ.
บทว่า สุวณฺณมิสสา ได้แก่ ช้องที่ประดับด้วยสายสร้อยทองคำ
หรือด้วยสังวาลเป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 160
บทว่า มุตฺตามิสฺสา ได้แก่ ช้องที่ประดับด้วยแก้วมุกดา.
บทว่า มณิมิสฺสา ได้แก่ ช้องที่ประดับด้วยแก้วมณีร้อยด้าย. จริง
อยู่ เมื่อภิกษุจับช้องชนิดใดชนิดหนึ่งในช้องเหล่านี้เป็นสังฆาทิเสสทั้งนั้น.
ความพ้นไม่มีแก่ภิกษุผู้แก้ตัวว่า ข้าพเจ้าได้จับช้องที่เจือ.
ส่วนผม เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยเวณิศัพท์ ใน
บทว่า เวณิคฺคาห นี้. เพราะเหตุนั้น แม้ภิกษุใดจับผมเส้นเดียว, แม้
ภิกษุนั้น ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน.
ร่างกายที่เหลือ เว้นมือและช้องผมมีประการทุกอย่าง ซึ่งมีลักษณะ
ดังที่กล่าวแล้ว ในคำว่า หตฺถญฺจ เวณิญฺจ เปตฺวา นี้ พึงทราบว่า
อวัยวะ บรรดาอวัยวะมีมือเป็นต้น ที่กำหนดแล้วอย่างนี้ การจับมือ ชื่อว่า
หัตถัคคาหะ. การจับช้องผม ชื่อว่า เวณิคคาหะ. การลูบคลำสรีระที่
เหลือ ชื่อว่า การลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม อรรถนี้ว่า ภิกษุใด
พึงถึงการจับมือก็ตาม การจับช้องผมก็ตาม การลูบคลำอวัยวะอย่างใด
อย่างหนึ่งก็ตาม, เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุนั้น ดังนี้ เป็นใจความ
แห่งสิกขาบท.
[อรรถกถาธิบายบทภาชนีย์ว่าด้วยการจับมือเป็นต้น]
อนึ่ง การจับมือก็ดี การจับช้องผมก็ดี การลูบคลำอวัยวะที่เหลือ
ก็ดี ทั้งหมดโดยความต่างกันมี ๑๒ อย่าง เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงความ
ต่างกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า หัตถัคคาหะ
เป็นต้นนั้น โดยนัยมีอาทิว่า อามสนา ปรามสนา ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 161
บรรดาบทว่า อามสนา เป็นต้นนั้น ๒ บทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า อามสนา นาม อามฏฺมตตา และว่า ฉุปนนฺนาม ผุฏฺมตฺตา นี้
มีความแปลกกันดังต่อไปนี้ การถูกต้อง คือ การเสียดสีในโอกาสที่
ถูกต้องเท่านั้น ไม่ถึงกับเลยโอกาสที่ถูกต้องไป ชื่อว่า อามสนา. จริงอยู่
การเสียดสีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อามัฏฐมัตตา. กิริยาสักว่า
ถูกต้องไม่เสียดสี ชื่อว่า ฉุปนัง. ถึงแม้ในบทเดียวกันนั้นเองที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในนิเทศแห่ง อุมฺมสนา และ อุลฺลงฺฆนา ว่า อุทธ
อุจฺจารณา ดังนี้ ก็มีความแปลกกันดังต่อไปนี้:- บทที่ ๑ ตรัสด้วย
สามารถแห่งกายของคนถูกต้องข้างบนกายของหญิง. บทที่ ๒ ตรัสด้วย
สามารถแห่งการยกกายของหญิงขึ้น. บทที่เหลือ ปรากฏชัดแล้วแล.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงประเภทแห่งอาบัติโดย
พิสดาร ด้วย สามารถแห่งบทเหล่านี้ ของภิกษุผู้ถูกราคะครอบงำแล้วมีจิต
แปรปรวน ถึงความเคล้าคลึงกาย จึงตรัสคำเป็นต้นว่า หญิง ๑ ภิกษุ
มีความสำคัญว่าเป็นหญิง ๑ มีความกำหนัด ๑ เคล้าคลึงกายด้วยกายกับ
หญิงนั้น ๑ ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยบทเหล่านั้น ดังนี้:- คำว่า ภิกฺขุ จ น อิตฺถิยา
กาเยน กาย ความว่า ภิกษุนั้นมีความกำหนัด ๑ มีความสำคัญเป็น
หญิง ๑ (เคล้าคลึงกายของหญิง) ด้วยกายของตน บทว่า น เป็นเพียง
นิบาต. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า (เคล้าคลึง) กายนั่น คือ กายต่างด้วยมือ
เป็นต้นของหญิงนั้น.
คำว่า อามสติ ปรามสิ ความว่า ก็ภิกษุประพฤติล่วงละเมิด
โดยอาการแม้อย่างหนึ่ง บรรดาการจับต้องเป็นต้นเหล่านี้นั่นแล ต้อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 162
สังฆาทิเสส, ในการจับต้องเป็นต้นนั้น เมื่อภิกษุจับต้องคราวเดียวเป็น
อาบัติตัวเดียว, เมื่อจับต้องบ่อย ๆ เป็นสังฆาทิเสสทุก ๆ ประโยค. เเม้
เมื่อลูบคลำ หากว่า ไม่ปล่อยให้พ้นจากกายเลย ส่าย ย้าย ไส มือก็ดี
กายก็ดี ของตนไปข้างโน้น ข้างนี้, เมื่อลูบคลำอยู่ แม้ตลอดทั้งวัน ก็
เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น. ถ้าปล่อยให้พ้นจากกายแล้ว ๆ เล่า ๆ ลูบคลำ
เป็นอาบัติทุก ๆ ประโยค. เมื่อลูบลง ถ้าไม่ให้พ้นจากกายเลย ลูบตั้งแต่
กระหม่อมของหญิงลงไปจนถึงหลังเท้า ก็เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. ก็ ถ้าว่า
ถึงที่นั้น ๆ บรรดาที่มีท้องเป็นต้น ปล่อย (มือ) แล้วลูบลงไป เป็น
อาบัติทุก ๆ ประโยค.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในการลูบขึ้น ดังนี้:- เมื่อภิกษุลูบขึ้นตั้งแต่เท้า
ไปจนถึงศีรษะ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยการทับลง ดังนี้:- เมื่อภิกษุจับมาตุคามที่ผม
แล้วกดลง กระทำอัชฌาจารตามปรารถนา มีการจูบเป็นต้นแล้วปล่อย
เป็นอาบัติตัวเดียว. เมื่อภิกษุกดหญิงที่เงยขึ้นแล้ว ให้ก้มลงบ่อย ๆ เป็น
อาบัติทุก ๆ ประโยค.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในการอุ้ม ดังนี้:- เมื่อภิกษุจับมาตุคามที่ผม
ก็ดี ที่มือทั้งสองก็ดี ให้ลุกขึ้น มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในการฉุด ดังนี้:- ภิกษุฉุดมาตุคามให้หันหน้ามา
หาตน ยังไม่ปล่อย ( มือ) เพียงใด เป็นอาบัติตัวเดียวเพียงนั้นแล เมื่อ
ปล่อยวาง (มือ) แล้วกลับฉุดมาแม้อีก เป็นอาบัติทุก ๆ ประโยค.
พึงทราบวินิจฉัยในการผลัก ดังนี้:- ก็เมื่อภิกษุจับที่หลังมาตุคาม
ลับหลังแล้วผลักไป มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 163
พึงทราบวินิจฉัยในการกด ดังนี้:- เมื่อภิกษุจับที่มือ หรือที่แขน
มาตุคามให้แน่นแล้ว เดินไปแม้สิ้นระยะโยชน์หนึ่ง เป็นอาบัติเพียงตัว
เดียว. เมื่อปล่อยจับ ๆ เป็นอาบัติทุกๆ ประโยค, พระมหาสุมเถระกล่าวว่า
เมื่อไม่ปล่อยถูกต้อง หรือสวมกอดก็ดี บ่อย ๆ เป็นอาบัติทุก ๆ ประโยค
ฝ่ายพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า การจับเดิมนั่นแหละเป็นประมาณ, เพราะ-
เหตุนั้น ภิกษุยังไม่ปล่อย (มือ) ตราบใด เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว
ตราบนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในการบีบ ดังนี้:- เมื่อภิกษุบีบด้วยผ้าก็ดี เครื่อง
ประดับก็ดี ไม่ถูกต้องตัวเป็นถุลลัจจัย, เมื่อถูกต้องตัว เป็นสังฆาทิเสส
เป็นอาบัติตัวเดียวโดยประโยคเดียว, เป็นอาบัติต่าง ๆ ด้วยประโยคต่าง ๆ
กัน. ในการจับและถูกต้อง แม้เมื่อไม่กระทำวิการอะไร ๆ อื่น ย่อมต้อง
อาบัติแม้ด้วยอาการเพียงจับ เพียงถูกต้อง.
บรรดาอาการ มีการจับต้องเป็นต้นนี้ อย่างกล่าวมานี้ เมื่อภิกษุ
มีความสำคัญในหญิงว่าเป็นผู้หญิง ประพฤติล่วงละเมิดด้วยอาการแม้อย่าง
หนึ่ง เป็นสังฆาทิเสส. เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้มีความสงสัย แม้ภิกษุ
สำคัญในหญิงว่าเป็นบัณเฑาะก์ เป็นบุรุษ และเป็นดิรัจฉาน ก็เป็นถุลลัจจัย
เหมือนกัน. เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญในบัณเฑาะก์ว่าเป็น
บัณเฑาะก์ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้มีความสงสัย. สำหรับภิกษุผู้สำคัญ (ใน
บัณเฑาะก์) ว่าเป็นบุรุษ เป็นดิรัจฉาน และเป็นหญิงเป็นทุกกฏเหมือนกัน.
ภิกษุมีความสำคัญในบุรุษว่า เป็นบุรุษก็ดี มีความสงสัยก็ดี มีความสำคัญ
ว่า เป็นหญิง เป็นบัณเฑาะก์ เป็นสัตว์ดิรัจฉานก็ดี เป็นทุกกฏทั้งนั้น.
แม้ในสัตว์ดิรัจฉาน ก็เป็นทุกกฎโดยอาการทุกอย่างเหมือนกันแล. บัณฑิต
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 164
พึงกำหนดอาบัติเหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเอกมูลกันแล้ว
ทราบอาบัติทวีคูณ แม้ในทวิมูลกัน ที่ตรัสโดยอุบายนี้ และโดยอำนาจ
แห่งคำว่า เทฺว อิตฺถิโย ทฺวินฺน อิตฺถีน เป็นต้น.
เหมือนอย่างว่า ในหญิง ๒ คน พึงทราบสังฆาทิเสส ๒ ตัว ฉันใด
ในหญิงมากคน พึงทราบสังฆาทิเสสมากตัว ฉันนั้น. จริงอยู่ ภิกษุใด
เอาแขนทั้งสองรวบจับหญิงมีจำนวนมากคนที่ยืนรวมกันอยู่ ภิกษุนั้นต้อง
สังฆาทิเสสมากตัว ด้วยการนับจำนวนหญิงที่ตนถูกต้อง ต้องถุลลัจจัย
ด้วยการนับหญิงที่อยู่ตรงกลาง. จริงอยู่ หญิงเหล่านั้นย่อมเป็นอันภิกษุ
นั้นจับต้องด้วยของเนื่องด้วยกาย.
อนึ่ง ภิกษุใด จับนิ้วมือ หรือผมของหญิงจำนวนมากรวมกัน,
ภิกษุนั้น พระวินัยธรอย่านับนิ้วมือ หรือเส้นผมปรับ พึงนับหญิงปรับ
ด้วยสังฆาทิเสส และเธอย่อมต้องถุลลัจจัยด้วยการนับหญิงทั้งหลายผู้มี
นิ้วมือและผมอยู่ตรงกลาง. จริงอยู่ หญิงเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อันภิกษุนั้น
จับต้องแล้ว ด้วยของที่เนื่องด้วยกาย แต่เมื่อภิกษุรวบจับหญิงเป็นอัน
มาก ด้วยของที่เนื่องด้วยกาย มีเชือกและผ้าเป็นต้น ย่อมต้องอาบัติถุล-
ลัจจัย ด้วยการนับหญิงทั้งหมดผู้อยู่ภายในวงล้อมนั้นแล. ในมหาปัจจรี
ท่านปรับทุกกฏ ในพวกหญิงที่ไม่ได้ถูกต้องด้วย. บรรดานัยก่อนและนัย
ที่ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีนั้น เพราะขึ้นชื่อว่า การจับต้องของเนื่อง
ด้วยกาย กับของเนื่องด้วยกาย ไม่มีในบาลี; เพราะฉะนั้นแล นัยก่อน
ที่ท่านรวบรวมของเนื่องด้วยกายทั้งหมดเข้าด้วยกัน กล่าวไว้ในมหา-
อรรถกถาและกุรุนที ปรากฏว่าถูกต้องกว่าในอธิการนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 165
ก็ภิกษุใดมีความกำหนัดจัดเท่ากัน ในหญิงทั้งหลายผู้ยืนเอามือจับ
มือกันอยู่ตามลำดับ จับหญิงหนึ่งที่มือ, ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสตัวเดียว ด้วยสามารถแห่งหญิงคนที่ตนจับ, ต้องอาบัติถุลลัจจัยหลาย
ตัว ตามจำนวนแห่งหญิงนอกนี้ โดยนัยก่อนนั่นแล. ถ้าว่าภิกษุนั้นจับ
หญิงนั้น ที่ผ้า หรือที่ดอกไม้อันเป็นของเนื่องด้วยกาย ย่อมต้องอาบัติ
ถุลลัจจัยมากตัว ตามจำนวนแห่งหญิงทั้งหมด. เหมือนอย่างว่า ภิกษุรวบ
จับหญิงทั้งหลาย ด้วยเชือกและผ้าเป็นต้น ย่อมเป็นอันจับต้องหล่อนแม้
ทั้งหมด ด้วยของเนื่องด้วยกาย ฉันใดแล, แม้ในอธิการนี้ หญิงทั้งหมด
ก็เป็นอันภิกษุจับต้องแล้ว ด้วยของเนื่องด้วยกาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ฉะนี้แล.
ก็ถ้าว่า หญิงเหล่านั้นยืนจับกันและกันที่ชายผ้า, และภิกษุนี้จับ
หญิงคนแรกในบรรดาหญิงเหล่านั้น ที่มือ, เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ด้วยอำนาจแห่งหญิงคนที่ตนจับ, ต้องทุกกฏหลายตัวตามจำนวนแห่งหญิง
นอกนี้ โดยนัยก่อนนั่นแล. ด้วยว่า ของที่เนื่องด้วยกายกับของที่เนื่องด้วย
กายของหญิงเหล่านั้นทั้งหมด เป็นอันภิกษุนั้นจับต้องแล้ว โดยนัยก่อน
เหมือนกัน. ก็ถ้าแม้นว่า ภิกษุนั้นจับหญิงนั้นเฉพาะของที่เนื่องด้วยกาย
เท่านั้น, ต้องทุกกฎหลายตัวตามจำนวนแห่งหญิงนอกนี้ โดยนัยถัดมา
นั่นเอง.
ก็ภิกษุใด เบียดผู้หญิงที่นุ่งผ้าหนา ถูกผ้าด้วยกายสังสัคคราคะ,
ภิกษุนั้นต้องถุลลัจจัย เบียดผู้หญิงที่นุ่งผ้าบางถูกผ้า, ถ้าว่าในที่ซึ่งถูกกัน
นั้น ขนของผู้หญิงที่ลอดออกจากรูผ้าถูกภิกษุ หรือขนของภิกษุแยงเข้าไป
ถูกหญิง หรือขนทั้งสองฝ่ายถูกกันเท่านั้น, เป็นสังฆาทิเสส. เพราะว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 166
แม้ถูกรูปที่มีวิญญาณครอง หรือไม่มีวิญญาณครอง (ของหญิง) ด้วยกรรม-
ชรูปที่มีวิญาณ (ของตน) ก็ดี ถูกรูปที่มีวิญญาณครอง หรือไม่มี-
วิญญาณครอง (ของหญิง) ด้วยผมเป็นต้น แม้ไม่มีวิญญาณครองก็ดี ย่อม
ต้องสังฆาทิเสสเหมือนกัน. ในการที่ขนต่อขนถูกกันนั้น ในกุรุนทีกล่าวว่า
พึงนับขนปรับสังฆาทิเสส. แต่ในมหาอรรถกถากล่าวว่า ไม่ควรนับขน
ปรับอาบัติ, ภิกษุนั้นต้องสังฆาทิเสสตัวเดียวเท่านั้น ส่วนภิกษุไม่ปูลาด
นอนบนเตียงของสงฆ์ จึงควรนับขนปรับอาบัติ. คำของพระอรรถกถา
นั่นแหละชอบ. เพราะว่า อาบัตินี้ปรับด้วยอำนาจแห่งหญิง ไม่ใช่ปรับ
ด้วยอำนาจแห่งส่วน ฉะนี้แล.
[ความต่างกันแห่งมติของพระเถระ ๒ รูป]
ในอธิการนี้ท่านตั้งคำถามว่า ก็ภิกษุใด คิดว่า จักจับขอเนื่อง
ด้วยกาย แล้วจับกายก็ดี คิดว่า จักจับกาย แล้วจับของเนื่องด้วยกายก็ดี
ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติอะไร ?
พระสุมเถระตอบก่อนว่า ต้องอาบัติตามวัตถุเท่านั้น. ได้ยินว่า
ลัทธิของท่านมีดังนี้:-
วัตถุ ๑ สัญญา ๑ ราคะ ๑ ความรับรู้ผัสสะ ๑ เพราะ –
ฉะนั้น ควรปรับครุกาบัติ ที่กล่าวแล้วในนิเทศตามที่ทรง
อธิบายไว้.
ในคาถานี้ วัตถุ นั้น ได้แก่ ผู้หญิง. สัญญา นั้น ได้แก่ ความสำคัญว่า
เป็นผู้หญิง. ราคะ นั้น ได้แก่ ความกำหนัดในการเคล้าคลึงด้วยกาย. ความ
รับรู้ผัสสะ นั้น ได้แก่ ความรู้สึกผัสสะในการเคล้าคลึงด้วยกาย. เพราะ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 167
ฉะนั้น ภิกษุใดมีความสำคัญว่าเป็นผู้หญิง ด้วยความกำหนัด ในอันเคล้า-
คลึงด้วยกาย คิดว่า จักจับของเนื่องด้วยกาย แม้พลาดไปถูกกาย, ภิกษุ
นั้น ต้องสังฆาทิเสส เป็นโทษหนักแท้, ฝ่ายภิกษุนอกนี้ ต้องถุลลัจจัย
ฉะนี้แล.
ฝ่ายพระมหาปทุมเถระ กล่าวว่า
เมื่อความสำคัญผิดไป และการจับ ก็พลาดไป อาบัติ
หนักในนิเทศตามที่ทรงอธิบายไว้ ย่อมไม่ปรากฏในการจับ
นั้น.
ลัทธิของท่านเล่ามีดังนี้:- จริงอยู่ ท่านปรับสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้มี
ความสำคัญในผู้หญิงว่าเป็นผู้หญิง, แต่ความสำคัญว่าเป็นผู้หญิง อันภิกษุนี้
ให้คลาดเสีย, ความสำคัญในของเนื่องด้วยกายว่าเป็นของเนื่องด้วยกาย อัน
เธอให้เกิดขึ้นแล้ว, ก็แม้เธอจับของเนื่องด้วยกายนั้น ท่านปรับถุลลัจจัย.
อนึ่ง การจับเล่า อันภิกษุ ก็ให้คลาดเสีย เธอไม่ได้จับของ
เนื่องด้วยกายนั้น แต่ได้จับผู้หญิง; เพราะฉะนั้น สังฆาทิเสส ชื่อว่ายัง
ไม่ปรากฏ ในเพราะการจับนี้ เพราะไม่มีความสำคัญว่าเป็นผู้หญิง, ถุล-
ลัจจัย ชื่อว่าไม่ปรากฏ เพราะของเนื่องด้วยกาย เธอก็ไม่ได้จับ, แต่ปรับ
เป็นทุกกฏ เพราะเธอถูกด้วยกายสังสัคคราคะ, จริงอยู่ เมื่อถูกวัตถุเช่นนี้
ด้วยกายสังสัคคราคะ คำว่า ไม่เป็นอาบัติ ไม่มี; เพราะฉะนั้น จึงเป็น
ทุกกฏแท้.
ก็แล พระมหาสุมเถระ ครันกล่าวคำนี้แล้ว จึงกล่าวจตุกกะนี้ว่า
ภิกษุคิดว่า จักจับรูปที่มีความกำหนัด แล้วจับรูปที่มีความกำหนัด เป็น
สังฆาทิเสส, คิดว่า จักจับรูปที่ปราศจากความกำหนัด แล้วจับรูปที่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 168
ปราศจากความกำหนัด เป็นทุกกฏ คิดว่า จักจับรูปที่มีความกำหนัด
ไพล่ไปจับรูปที่ปราศจากความกำหนัด เป็นทุกกฏ คิดว่า จักจับรูปที่ปราศ-
จากความกำหนัด ไพล่ไปจับรูปที่มีความกำหนัด เป็นทุกกฏเหมือนกัน.
พระมหาปทุมเถระกล่าวแล้วอย่างนี้ แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นในวาทะ
ของพระเถระทั้งสองนี้ ก็วาทะของพระมหาสุมเถระเท่านั้น ย่อมสมด้วย
พระบาลีนี้ว่า ผู้หญิง ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นผู้หญิง ๑ มีความ
กำหนัด ๑ ถูก คลำ จับ ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายของผู้หญิงด้วยกาย
ต้องอาบัติถุลลัจจัย และด้วยวินิจฉัยในอรรถกถามีอาทิว่า ก็ภิกษุใด เอา
แขนทั้งสองรวบจับหญิงหลายคนที่ยืนรวมกันอยู่ , ภิกษุนั้น ต้องสังฆาทิเสส
เท่ากับจำนวนหญิงที่ตนถูกต้อง ดังนี้.
ก็ถ้าว่า การจับ ชื่อว่าคลาดไป ด้วยความคลาดแห่งสัญญาเป็นต้น
จะพึงมีไซร้, พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงตรัสความแปลกแห่งบาลี โดยนัย
เป็นต้นว่า กายปฏิพทฺธญฺจ โหติ กายสญฺี จ ดังนี้บ้าง เหมือนตรัสไว้
ในบาลีเป็นต้นว่า ปณฺฑโก จ โหติ อิตฺถีสญฺี ดังนี้. ก็เพราะความ
แปลกกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้แล้ว; ฉะนั้น ความเป็นตาม
วัตถุว่า เมื่อมีความสำคัญในผู้หญิงว่าเป็นผู้หญิง เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ
ผู้ถูกต้องผู้หญิง, เป็นถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้ถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ดังนี้
เท่านั้น ย่อมถูก.
จริงอยู่ แม้ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า เมื่อหญิงดำห่มผ้าสีเขียว
นอน ภิกษุคิดว่า จักเบียดกาย แล้วเบียดกาย เป็นสังฆาทิเสส, คิดว่า
จักเบียดกาย แล้วเบียดผ้าสีเขียว เป็นถุลลัจจัย, คิดว่า จักเบียดผ้าเขียว
แล้วเบียดผ้าเขียว เป็นถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 169
ก็วัตถุมิสสกนัยนี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยมีคำว่า
อิตฺถี จ ปณฺฑโก จ เป็นต้น, ในมิสสกวัตถุแม้นั้น อาบัติทั้งหลายที่
พระองค์ตรัสไว้ ด้วยอำนาจความสำคัญ และความสำคัญผิดในวัตถุ อัน
ผู้ไม่งมงายในพระบาลี พึงทราบ.
ส่วนในวาระว่าด้วยของเนื่องด้วยกายกับกาย เมื่อภิกษุมีความสำคัญ
ในผู้หญิงว่าเป็นผู้หญิง และจับของเนื่องด้วยกาย เป็นถุลลัจจัย, ใน
บัณเฑาะก์ที่เหลือ เป็นทุกกฎทุก ๆ บท, แม้ในวาระว่าด้วยกายกับของ
เนื่องด้วยกาย ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ในวาระว่าด้วยของเนื่องด้วยกายกับของที่เนื่องด้วยกาย และในวาระ
ทั้งหลาย มีวาระว่าด้วยกายกับของที่ซัดไปเป็นต้น คงเป็นทุกกฏแก่ภิกษุ
นั้น เหมือนกันทุก ๆ บท.
แต่วาระเป็นอาทิว่า “อิตฺถี จ โหติ อิตฺถีสญฺี สารตฺโต จ อีตฺถี
จ น ภิกฺขุสฺส กาเยน กาย” พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งความ
กำหนัดจัด ของมาตุคามในภิกษุ.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า อิตฺถี จ น ภิกฺขุสฺส กาเยน กาย
มีความว่า หญิงผู้มีความกำหนัดจัดในภิกษุ จึงไปยังโอกาสที่เธอนั่ง หรือ
นอน แล้วจับถูกกายของภิกษุนั้นด้วยกายของตน.
ข้อว่า เสวนาธิปฺปาโย กาเยน วายมติ ผสฺส ปฏิวิชานาติ มี
ความว่า ภิกษุซึ่งหญิงนั้นจับต้องแล้ว หรือถูกต้องอย่างนั้นแล้ว เป็นผู้มี
ความประสงค์ในอันเสพ ถ้าขยับ หรือไหวกาย แม้น้อยหนึ่ง เพื่อรับรู้
ผัสสะ, เธอต้องสังฆาทิเสส.
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ในบทว่า หญิง ๒ คน นี้. ในหญิง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 170
และบัณเฑาะก์เป็นทุกกฏกับสังฆาทิเสส. ด้วยอุบายนี้ คำว่า ผู้หญิงถูก
นิสสัคคียวัตถุ, ภิกษุมีความประสงค์ในอันเสพพยายามด้วยกาย, แต่ไม่
รับรู้ผัสสะ ต้องทุกกฏ ดังนี้ ยังมีอยู่ เพียงใด, ชนิดต้องอาบัติ พึงทราบ
ตามนัยก่อนนั่นแหละ เพียงนั้น.
ก็แล ในคำนี้ ข้อว่า กาเยน วายมติ น จ ผสฺส ปฏิวิชานาติ
ความว่า ภิกษุเห็นผู้หญิงขว้างดอกไม้ หรือผลไม้ที่ตนขว้างไป ด้วย
ดอกไม้ หรือผลไม้สำหรับขว้างของหล่อน จึงทำกายวิการ คือ กระดิก
นิ้ว หรือยักคิ้ว หรือหลิ่วตา หรือทำวิการเห็นปานนั้นอย่างอื่น ภิกษุนี้
เรียกว่า พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้ผัสสะ. แม้ภิกษุนี้ชื่อว่า ต้องทุกกฏ
เพราะมีความพยายามด้วยกาย. ผู้หญิง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว,
บัณเฑาะก์กับผู้หญิง ต้องทุกกฏ ๒ ตัวเหมือนกัน.
[อธิบายอาบัติและอนาบัติโดยลักษณะ]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติโดยพิสดาร ด้วย
อำนาจแห่งวัตถุอย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงอาบัติและอนาบัติโดยย่อ
ด้วยอำนาจลักษณะ จึงตรัสคำว่า เสวนาธิปฺปาโย เป็นอาทิ.
บรรดานัยเหล่านั้น นัยแรกเป็นสังฆาทิเสสด้วยครบองค์ ๓ คือ
ภิกษุเป็นผู้อันหญิงถูกต้องมีอยู่ ๑ มีความประสงค์ในอันเสพ พยายาม
ด้วยกาย ๑ รับรู้ผัสสะ ๑ นัยที่สองเป็นทุกกฏ ด้วยครบองค์ ๒ คือเพราะ
พยายามเหมือนในการถูกนิสสัคคียวัตถุด้วยนิสสัคคียวัตถุ ๑ เพราะไม่รับรู้
ผัสสะเหมือนในการไม่ถูกต้อง ๑. นัยที่ ๓ ไม่เป็นอาบัติแก่เธอผู้ไม่พยายาม
ด้วยกาย.
จริงอยู่ ภิกษุใดมีความประสงค์จะเสพ แต่มีการนิ่ง รับรู้ คือยินดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 171
เสวยผัสสะอย่างเดียว, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น เพราะไม่มีอาบัติในอาการ
สักว่า จิตตุปบาท.
ส่วนนัยที่ ๔ แม้ความรับรู้ผัสสะก็ไม่มี เหมือนในการถูกนิสสัคดีย-
วัตถุ ด้วยนิสสัคคียวัตถุ, มีแต่สักว่าจิตตุปบาทอย่างเดียวเท่านั้น; เพราะ-
เหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ. ไม่เป็นอาบัติในเพราะอาการทั้งปวง ของ
ภิกษุผู้ประสงค์จะให้พ้น.
ก็แล ในฐานะนี้ พึงทราบอธิบายว่า ภิกษุใดถูกผู้หญิงจับ จะ
ให้หญิงนั้นพ้นจากสรีระของตน จึงผลัก หรือ ตี, ภิกษุนี้ ชื่อว่า
พยายามด้วยกาย รับรู้ผัสสะ. ภิกษุใดเห็นผู้หญิงกำลังมาใคร่จะพ้นจาก
หญิงนั้น จึงตวาดให้หนีไป, ภิกษุนี้ ชื่อว่า พยายามด้วยกาย แต่ไม่
รับรู้ผัสสะ. ภิกษุใดเห็นทีฆชาติเช่นนั้นเลื้อยขึ้นบนกาย แต่ไม่สลัดด้วย
คิดว่า มันจงค่อย ๆ ไป, มันถูกเราสลัดเข้า จะพึงเป็นไปเพื่อความ
พินาศ, หรือรู้ว่าหญิงทีเดียวถูกตัว แต่นิ่งเฉย ทำเป็นไม่รู้เสียด้วยคิดว่า
หญิงนี้รู้ว่า ภิกษุนี้ ไม่มีความต้องการเรา แล้วจักหลีกไปเองแหละ หรือ
ภิกษุหนุ่มถูกผู้หญิงมีกำลังกอดไว้แน่น แม้อาการหนี แต่ต้องนิ่งเฉย
เพราะถูกยึดไว้มั่น ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่ได้พยายามด้วยกาย แต่รับรู้ผัสสะ.
ส่วนภิกษุใดเห็นผู้หญิงมา แล้วเป็นผู้นิ่งเฉยเสียด้วยคิดว่า หล่อนจงมาก่อน,
เราจักตี หรือผลักหล่อนแล้วหลีกไปเสียจากนั้น ภิกษุนี้ พึงทราบว่า มี
ความประสงค์จะพ้นไปไม่พยายามด้วยกาย ทั้งไม่รับรู้ผัสสะ.
บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า ไม่จงใจว่า เราจักถูกผู้หญิงคนนี้
ด้วยอุบายนี้. จริงอยู่ เพราะไม่จงใจอย่างนั้น เมื่อภิกษุแม้ถูกต้องตัว
มาตุคามเข้าในคราวที่รับบาตรเป็นต้น ย่อมไม่เป็นอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 172
บทว่า อสติยา มีความว่า ภิกษุเป็นผู้ส่งใจไปในที่อื่น คือ ไม่มี
ความนึกว่า เราจักถูกต้องมาตุคาม เพราะไม่มีสติอย่างนี้ ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้ถูกต้องในเวลาเหยียดมือและเท้าเป็นต้น.
บทว่า อชานนฺตสฺส มีความว่า ภิกษุเห็นเด็กหญิงมีเพศคล้าย
เด็กชาย ไม่รู้ว่า เป็นผู้หญิง ถูกต้องด้วยกรณียกิจบางอย่างเท่านั้น ไม่
เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้ว่า เป็นผู้หญิง และถูกต้องด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า อสาทิยนฺตสฺส มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ยินดี
การเคล้าคลึงด้วยกาย เหมือนไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุที่ถูกผู้หญิงจับแขนกัน
และกันห้อมล้อมพาเอาไปฉะนั้น ภิกษุบ้าเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วแล.
และพระอุทายีเถระเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่ท่านผู้
เป็นอาทิกัมมิกะนั้น ฉะนี้แล.
บทภาชนียวรรณนาจบ
บรรดาสมุฎฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิก
สิกขาบท ย่อมเกิดขึ้นทางกายกับจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ โดยเป็นสุขเวทนาและ
อุเบกขาเวทนาทั้งสองแล.
วินีตวัตถุในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัย ในวินีตวัตถุทั้งหลายต่อไปนี้:-
สองบทว่า มาตุยา มานุปฺเปเมน ความว่า ย่อมจับต้องกาย
ของมารดาด้วยความรักฉันมารดา. ในเรื่องลูกสาวและพี่น้องสาว ก็มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 173
นัยนี้เหมือนกัน. ในพระบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับอาบัติทุกกฏ
เหมือนกันทั้งนั้น แก่ภิกษุผู้จับต้อง ด้วยความรักอาศัยเรือนว่า ผู้นี้
เป็นมารดาของเรา นี้เป็นธิดาของเรา นี้เป็นพี่น้องสาวของเรา เพราะ
ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงแม้ทั้งหมด จะเป็นมารดาก็ตาม เป็นธิดาก็ตาม เป็นข้าศึก
แก่พรหมจรรย์ทั้งนั้น.
ก็เมื่อภิกษุระลึกถึงพระอาญานี้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าแม้นว่า
เห็นมารดาถูกกระแสน้ำพัดไป ไม่ควรจับต้องด้วยมือเลย. แต่ภิกษุผู้ฉลาด
พึงนำเรือ หรือแผ่นกระดาน หรือท่อนกล้วย หรือท่อนไม้เข้าไปให้
เมื่อเรือเป็นต้นนั้นไม่มี แม้ผ้ากาสาวะนำไปวางไว้ข้างหน้า แต่ไม่ควร
กล่าวว่า จงจับที่นี้. เมื่อท่านจับแล้ว พึงสาวมาด้วยทำในใจว่า เราสาว
บริขารมา. ก็ถ้ามารดากลัว พึงไปข้างหน้า ๆ แล้วปลอบโยนว่า อย่ากลัว
ถ้ามารดาถูกน้ำพัดไปรีบขึ้นคอ หรือจับที่มือของภิกษุผู้เป็นบุตร ภิกษุ
อย่าพึงสลัดว่า หลีกหนีไป หญิงแก่ พึงส่งไปให้ถึงบก. เมื่อมารดา
ติดหล่มก็ดี ตกลงไปในบ่อก็ดี มีนัยเหมือนกันนี้. อธิบายว่า ภิกษุพึง
ฉุดขึ้น แต่อย่าพึงจับต้องเลย.
[อธิบายวัตถุที่เป็นอนามาส]
ก็มิใช่แก่ร่างกายของมาตุคามอย่างเดียวเท่านั้น เป็นอนามาส แม้
ผ้านุ่งและผ้าห่มก็ดี สิ่งของเครื่องประดับก็ดี จนชั้นเสวียนหญ้าก็ตาม
แหวนใบตาลก็ตาม เป็นอนามาสทั้งนั้น. ก็แลผ้านุ่งและผ้าห่มนั้นตั้งไว้
เพื่อต้องการใช้เป็นเครื่องประดับเท่านั้น. ก็ถ้าหากว่ามาตุคามวางผ้านุ่ง
หรือผ้าห่มไว้ในที่ใกล้เท้า เพื่อต้องการให้เปลี่ยนเป็นจีวร ผ้านั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 174
สมควร. ก็บรรดาเครื่องประดับ ภัณฑะที่เป็นกัปปิยะ มีเครื่องประดับศีรษะ
เป็นต้น อันมาตุคามถวายว่า ท่านเจ้าคะ ขอพระคุณท่านโปรดรับสิ่งนี้
เถิด ภิกษุควรรับไว้ เพื่อเป็นเครื่องใช้ มีฝักมีดโกนและเข็มเป็นต้น.
ส่วนภัณฑะที่ทำด้วยทอง เงิน และแก้วมุกดาเป็นต้น เป็นอนามาสแท้
ถึงแม้เขาถวาย ก็ไม่ควรรับ.
อนึ่ง มิใช่แต่เครื่องประดับที่สวมร่างกาย ของหญิงเหล่านั้น
อย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นอนามาส. ถึงรูปไม้ก็ดี รูปงาก็ดี รูปเหล็กก็ดี
รูปดีบุกก็ดี รูปเขียนก็ดี รูปที่สำเร็จด้วยรัตนะทุกอย่างก็ดี ที่เขากระทำ
สัณฐานแห่งหญิง ชั้นที่สุดแม้รูปที่ปั้นด้วยแป้ง ก็เป็นอนามาสทั้งนั้น.
แต่ได้ของที่เขาถวายว่า สิ่งนี้จงเป็นของท่าน เว้นของที่สำเร็จด้วยรัตนะ
ทุกอย่าง ทำลายรูปที่เหลือ น้อมเอาสิ่งพี่ควรเป็นเครื่องอุปกรณ์เข้าใน
เครื่องอุปกรณ์ และสิ่งที่ควรใช้สอย เข้าในของสำหรับใช้สอยเพื่อ
ประโยชน์แก่การใช้สอย ควรอยู่.
อนึ่ง แม้ธัญชาติ ๗ ชนิด ก็เป็นอนามาสเช่นเดียวกับรูปสตรี
ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น เมื่อเดินไปกลางทุ่งนา อย่าเดินจับต้องเมล็ด
ธัญชาติแม้ที่เกิดอยู่ในทุ่งนานั้นไปพลาง. ถ้ามีธัญชาติที่เขาตากไว้
ที่ประตูเรือน หรือที่หนทาง และด้านข้างมีทางเดิน อย่าเดินเหยียบ
ย่ำไป. เมื่อทางเดินไม่มี พึงอธิษฐานให้เป็นทางแล้วเดินไปเถิด. คน
ทั้งหลายปูลาดอาสนะถวายบนกองธัญชาติในละแวกบ้าน จะนั่งก็ควร.
ชนบางพวกเทธัญชาติกองไว้ในโรงฉัน ถ้าอาจจะให้นำออกได้ ก็พึง
ให้นำออก ถ้าไม่อาจ อย่าเหยียบย่ำธัญชาติ พึงตั้งตั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 175
แล้ว นั่งเถิด. ถ้าไม่มีโอกาส พวกชาวบ้านปูลาดอาสนะถวายตรง
ท่ามกลางธัญชาตินั้นเอง พึงนั่งเถิด. แม้ในธัญชาติที่อยู่บนเรือ ก็มีนัย
อย่างนี้เหมือนกัน. แม้อปรัณชาติมีถั่วเขียวและถั่วเหลืองเป็นต้นก็ดี ผลไม้
มีตาลและขนุนเป็นต้นก็ดี ที่เกิดในที่นั้น ภิกษุไม่ควรจับเล่น. แม้ใน
อปรัณชาติและผลไม้ที่ชาวบ้านรวมกองไว้ ก็มีนัยเช่นนี้ เหมือนกัน. แต่
การที่ภิกษุจะถือเอาผลไม้ที่หล่นจากต้นในป่า ด้วยตั้งใจว่า จักให้แก่
พวกอนุปสัมบัน ควรอยู่.
[ว่าด้วยรัตนะ ๑๐ ประการ]
บรรดารัตนะ ๑๐ ประการเหล่านี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์
ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม บุษราคัม มุกดาตามธรรมชาติ
ยังไม่ได้เจียระไนและเจาะ ภิกษุจะจับต้องได้อยู่ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
รัตนะที่เหลือ เป็นอนามาส แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า มุกดา ที่
เจียระไนแล้วก็ดี ที่ยังไม่เจียระไนก็ดี เป็นอนามาส และภิกษุรับเพื่อ
ประโยชน์เป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ ย่อมไม่ควร แต่จะรับเพื่อเป็นยาแก่คน
เป็นโรคเรื้อน ควรอยู่. มณีชนิดสีเขียวและเหลืองเป็นต้น แม้ทั้งหมด
โดยที่สุดจนกระทั่งแก้วผลึกธรรมชาติที่เขาขัด เจียระไนและกลึงแล้ว เป็น
อนามาส. แต่มณีตามธรรมชาติพ้นจากบ่อเกิด ท่านกล่าวว่า ภิกษุจะรับ
เอาไว้เพื่อเป็นมูลค่าแห่งสิ่งของมีบาตรเป็นต้น ก็ควร. แม้มณีนั้น ท่าน
ห้ามไว้ในมหาปัจจรี. กระจกแก้ว ที่เขาหุงทำไว้อย่างเดียวเท่านั้น ท่าน
กล่าวว่า ควร. แม้ในไพฑูรย์ ก็มีวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับแก้วมณี. สังข์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 176
จะเป็นสังข์สำหรับเป่า (แตรสังข์) ก็ดี ที่เขาขัดและเจียระไนแล้วก็ดี ประดับ
ด้วยรัตนะ (ขลิบด้วยรัตนะ) ก็ดี เป็นอนามาส. สังข์สำหรับตักน้ำดื่ม
ที่ขัดแล้ว ก็ดี ยังมิได้ขัดก็ดี เป็นของควรจับต้องได้แท้. อนึ่ง รัตนะที่
เหลือ ภิกษุจะรับไว้ เพื่อใช้เป็นยาหยอดตาเป็นต้นก็ดี เพื่อเป็นมูลค่า
แห่งสิ่งของก็ดี ควรอยู่.
ศิลา ที่ขัดและเจียระไนแล้ว ประดับด้วยรัตนะมีสีเหมือนถั่วเขียว
เท่านั้น เป็นอนามาส. ศิลาที่เหลือ ภิกษุจะถือเอามาเพื่อใช้เป็นหิน
ลับมีดเป็นต้น ก็ได้. ในคำนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า รตนสยุตฺตา
ได้แก่ ศิลาที่หลอมผสมปนกับทองคำ.
แก้วประพาฬที่ขัดและเจียระไนแล้ว เป็นอนามาส. ประพาฬ
ที่เหลือเป็นอามาส (ควรจับต้องได้) และภิกษุจะรับไว้ เพื่อใช้จ่ายเป็น
มูลค่าแห่งสิ่งของ ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ประพาฬที่ขัดแล้ว
ก็ตาม มิได้ขัดก็ตาม เป็นอนามาสทั้งนั้น และจะรับไว้ไม่สมควร.
เงินและทอง แม้เขาทำเป็นรูปพรรณทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นอนามาส
และเป็นของไม่ควรรับไว้ จำเดิมแต่ยังเป็นแร่. ได้ยินว่า อุดรราชโอรส
ให้สร้างพระเจดีย์ทองส่งไปถวายพระมหาปทุมเถระ. พระเถระห้ามว่า
ไม่ควร ดอกปทุมทองและดาวทองเป็นต้น มีอยู่ที่เรือนพระเจดีย์, แม้
สิ่งเหล่านั้นก็เป็นอนามาส แต่พวกภิกษุผู้เฝ้าเรือนพระเจดีย์ตั้งอยู่ในฐาน
เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภิกษุเหล่านั้นจะลูบคลำดู
ก็ควร. แต่คำนั้น ท่านห้ามไว้ในกุรุนที. ท่านอนุญาตเพียงเท่านี้ว่า
จะชำระหยากเยื่อที่พระเจดีย์ทองควรอยู่. ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งปวง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 177
ว่า แม้โลหะที่กะไหล่ทอง* ก็มีคติทองคำเหมือนกัน จัดเป็นอนามาส.
ส่วนเครื่องใช้สอยในเสนาสนะ เป็นกัปปิยะทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เครื่อง
บริขารประจำเสนาสนะ แม้ทุกอย่างที่ทำด้วยทองและเงิน เป็นอามาส
(ควรจับต้องได้). พวกชาวบ้านสร้างมณฑปแก้ว เป็นสถานที่แสดงพระ-
ธรรมวินัยแก่ภิกษุทั้งหลาย มีเสาแก้วผลึก ประดับประดาด้วยพวงแก้ว.
การที่ภิกษุทั้งหลาย จะเก็บรักษาเครื่องอุปกรณ์ทั้งหมดในรัตนมณฑปนั้น
ควรอยู่.
ทับทิมและบุษราคัม ที่ขัดและเจียระไนแล้ว เป็นอนามาส ที่ยัง
ไม่ได้ขัดและเจียระไนนอกนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นอามาส ภิกษุจะรับไว้
เพื่อใช้เป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ทับทิม
และบุษราคัมที่ขัดแล้วก็ดี ที่ยังมิได้ก็ดี เป็นอนามาส โดยประการ
ทุกอย่าง และภิกษุจะรับไว้ ไม่ควร.
เครื่องอาวุธทุกชนิด เป็นอนามาส แม้เขาถวาย เพื่อประโยชน์
จำหน่ายเป็นมูลค่าแห่งสิ่งของก็ไม่ควรรับไว้ ชื่อว่า การค้าขายศัสตรา
ย่อมไม่สมควร. แม้คันธนูล้วน ๆ ก็ดี สายธนูก็ดี ประตักก็ดี ขอช้าง
* วิมติวิโนทนีฏีการ. อารกูฏโลหนฺติ สุวณฺณวรฺโณ กิตติมโลหวิเสโส. ติวิธญฺหิ กิตฺติมโลห
กสโลห วฏฏโลห หารกูฏโลหนฺติ ตตฺถ ติปุตมฺเพ มิสฺเสตฺวา กต กสโลห นาม. แปลว่า โลหะเทียม
มิสฺเสตฺวา กต วฏฺฏโลห. รสตมฺเพ มิสฺเสตฺวา กต หารกูฏโลห นาม แปลว่า โลหะเทียม
พิเศษมีสีเหมือนทองคำ ชื่อว่า อารกูฏโลหะ. ก็ โลหะทำเทียมมี ๓ อย่าง คือ กังสโลหะ
วัฏฏโลหะ หารกูฏโลหะ. บรรดาโลหะเหล่านั้น โลหะที่เขาผสมดีบุก และทองแดง ชื่อว่า
กังสโลหะ. ที่เขาทำผสมตะกั่วและทองแดง ชื่อว่า วัฏฏโลหะ. ที่เขาทำ ผสมปรอทและทองแดง
ชื่อว่า หารกูฏโลหะ. แม้ในสารัตถทีปนี ๓/๓๕ ก็ขยายความโดย ทำนองนี้-ผู้ชำระ. น่าจะเป็น
สัมฤทธิ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 178
ก็ดี โดยที่สุดแม้มีดและขวานเป็นต้น ที่เขาทำโดยสังเขปเป็นอาวุธก็เป็น
อนามาส. ถ้ามีใคร ๆ เอาหอก หรือโตมรมาวางไว้ในวิหาร เมื่อจะชำระ
วิหาร พึงส่งข่าวไปบอกแก่พวกเจ้าของว่า จงนำไปเสีย. ถ้าพวกเขา
ไม่นำไป อย่าให้ของนั้นขยับเขยื้อน พึงชำระวิหารเถิด. ภิกษุพบเห็น
ดาบก็ดี หอกก็ดี โตมรก็ดี ตกอยู่ในสนามรบ พึงเอาหินหรือของอะไร ๆ
ต่อยดาบเสียแล้ว ถือเอาไปเพื่อใช้ทำเป็นมีดควรอยู่. ภิกษุจะแยกแม้ของ
นอกนี้ออกแล้ว ถือเอาของบางอย่างเพื่อใช้เป็นมีด บางอย่างเพื่อใช้เป็น
ไม้เท้าเป็นต้น ควรอยู่. ส่วนว่าเครื่องอาวุธที่เขาถวายว่า ขอท่านจงรับ
อาวุธนี้ไว้ ภิกษุจะรับแม้ทั้งหมดด้วยตั้งว่า เราจักทำให้เสียหายแล้ว
กระทำให้เป็นกัปปิยภัณฑ์ดังนี้ควรอยู่.
เครื่องจับสัตว์ มีแหทอดปลาและข่ายดักนกเป็นต้นก็ดี เครื่อง
ป้องกันลูกศร มีโล่และตาข่ายเป็นต้นก็ดี เป็นอนามาสทุกอย่าง.
ก็บรรดาเครื่องดักสัตว์ และเครื่องป้องกันลูกศรที่ได้มาเพื่อเป็นเครื่อง
ใช้สอย ทีแรก ตาข่ายภิกษุจะถือเอาด้วยตั้งใจว่า เราจะผูกขึงไว้หรือพัน
เป็นฉัตรไว้เบื้องบนแห่งอาสนะ หรือพระเจดีย์ ควรอยู่. เครื่องป้องกัน
ลูกศรแม้ทั้งหมด ภิกษุจะรับไว้เพื่อใช้เป็นมูลค่าแห่งของ ก็สมควร.
เพราะว่า เครื่องป้องกันลูกศรนั้น เป็นเครื่องกันการเบียดเบียนจาก
คนอื่น ไม่ใช่เป็นเครื่องทำการเบียดเบียน ฉะนี้แล, จะรับโล่ด้วย
จงใจว่า เราจักทำเป็นภาชนะใส่ไม้สีฟัน ดังนี้ ก็ควร.
เครื่องดนตรีมีพิณและกลองเป็นต้น ที่ขึงด้วยหนัง เป็นอนามาส.
แต่ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า ตัวกลอง (หนังชะเนาะขึ้นกลอง) ก็ดี ตัวพิณ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 179
(สายขึงพิณ) ก็ดี รางเปล่าก็ดี* หนังเขาปิดไว้ที่ขอบปากก็ดี คันพิณก็ดี
เป็นอนามาสแม้ทั้งสิ้น. จะขึงเอง หรือให้คนอื่นเขาขึงก็ดี จะประโคม
เอง หรือให้คนอื่นเขาประโคมก็ดี ไม่ได้ทั้งนั้น. แม้เห็นเครื่องดนตรี
ที่พวกมนุษย์กระทำการบูชา แล้วทิ้งไว้ทีลานพระเจดีย์ อย่าทำให้เคลื่อน
ที่เลย พึงกวาดไปในระหว่าง ๆ. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ในเวลา
เทหยากเยื่อ พึงนำไปโดยกำหนดว่าเป็นหยากเยื่อแล้ววางไว้ ณ ส่วนข้าง
หนึ่ง ควรอยู่. แม้จะรับไว้เพื่อใช้เป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ ก็ควร. แต่ที่
ได้มาเพื่อต้องการจะใช้สอย จะถือเอาเพื่อต้องการทำให้เป็นบริขารนั้น ๆ
โดยตั้งใจอย่างนี้ว่า เราจักทำรางพิณและหุ่นกลองให้เป็นภาชนะใส่ไม้
สีฟัน หนังจักทำให้เป็นฝักมีด แล้วกระทำตามที่ตั้งใจอย่างนั้น ๆ
ควรอยู่.
เรื่องภรรยาเก่า มีอรรถชัดเจนทีเดียว. พึงทราบวินิจฉัยในเรื่อง
นางยักษิณี ดังนี้:- แม้ถ้าว่า ภิกษุถึงความเคล้าคลึงกายกับนางเทพี
ของท้าวปรนิมมิตวสวัดดี ก็ต้องถุลลัจจัยอย่างเดียว.
เรื่องบัณเฑาะก์ และเรื่องหญิงหลับ ปรากฏแล้วแล.
*สารัตถทีปนี ๓/๓๖. แก้ว่า เภรีสงฺฆาโฏติ สงฺฆาฏตจมฺมเภรี. วีณาสงฺฆาโฏติ สงฺฆาฏิ-
ตจมฺมวีณา. จมฺมวินทฺธาน เภรีวีณานเมต อธิวจน ตุจฺฉโปกฺขรนฺติ อวินทฺธจมฺม เภรีโปกฺขร
วีณาโปกฺขรญฺจ. แปลว่า กลองที่ขึ้นหนังแล้ว ชื่อว่า เภรีสังฆาฏะ. พิณที่ขึงสายแล้ว ชื่อว่า วีณา
สังฆาฏะ. คำทั้งสองนี้ เป็นชื่อแห่งกลองที่ขึ้นหนังและพิณ -ที่ขึงสายแล้ว. ในที่บางแห่งว่า หนัง
ชะเนาะขึ้นกลอง ชื่อว่า เภรีสังฆาฏะ สายขึงพิณ ชื่อว่า วีณาสังฆาฏะ ก็มี ดังในวิมติวิโนทนีฏีกา
อ้างถึงอรรกถากุรุนที แก้ไว้ว่า เภรีอาทีน วินทฺโธปกรณสมุโห เภรีวีณาสงฺฆาโฏติ เวทิตพฺพ.
พึงทราบว่า ประชุมเครื่องอุปกรณ์ขึ้นกลองเป็นต้น ชื่อว่า เภรีวีณาสังฆาฏะ. รางกลองและ
รางพิณที่ยังไม่ได้ขึ้นหนังและขึงสาย ชื่อว่า ตฺวฉโปกขระ. ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 180
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องหญิงตาย ดังนี้:- เป็นถุลลัจจัยในเวลา
พอจะเป็นปาราชิก นอกจากนั้น เป็นทุกกฏ.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องดิรัจฉาน ดังนี้:- (เคล้าคลึงกาย) กับ
นางนาคมาณวิกาก็ดี กับนางสุบรรณมาณวิกาก็ดี กับนางกินรีก็ดี กับ
แม่โคก็ดี เป็นทุกกฏทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องตุ๊กตาไม้ ดังนี้:- มิใช่กับไม้อย่างเดียว
เท่านั้น โดยที่สุดแม้ในรูปหญิงที่เขาเขียนจิตรกรรมไว้ ก็เป็นทุกกฏ
เหมือนกัน. เรื่องบีบบังคับภิกษุ มีอรรถกระจ่างทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องสะพาน ดังนี้:- สะพานที่คนเดินได้
จำเพาะคนเดียวก็ตาม สะพานที่เป็นทางเกวียนข้ามก็ตามที เพียงแต่
ภิกษุกระทำประโยคด้วยตั้งใจว่า เราจักเขย่าสะพาน ดังนี้ จะเขย่าก็ตาม
ไม่เขย่าก็ตาม เป็นทุกกฏ เรื่องหนทาง ปรากฏชัดแล้วแล.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องต้นไม้ ดังนี้:- ต้นไม้เป็นไม้ใหญ่ขนาด
เท่าต้นหว้าใหญ่ก็ตาม เป็นต้นไม้เล็กก็ตาม ภิกษุอาจเพื่อเขย่าก็ตาม
ไม่อาจเพื่อจะเขย่าก็ตาม เป็นทุกกฏ เพราะเหตุเพียงแต่มีความพยายาม
แม้ในเรื่องเรือ ก็มีนัย เช่นนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องเชือก ดังนี้:- ภิกษุอาจเพื่อจะดึงเชือก
ให้เคลื่อนจากฐานได้ เป็นถุลลัจจัยในเพราะเชือกนั้น. เชือกชนิดใดเป็น
เชือกเส้นใหญ่ ย่อมไม่เคลื่อนไหวจากฐาน แม้เพียงเล็กน้อยเป็นทุกกฏ
ในเพราะเชือกนั้น. แม้ในขอนไม้ก็มีนัยเช่นนี้ เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้
ต้นไม้ใหญ่ที่ล้มลงบนฟื้นดิน ก็ทรงถือเอาแล้วด้วยทัณฑศัพท์เหมือนกัน
ในเรื่องขอนไม้นี้. เรื่องบาตรปรากฏชัดแล้วแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 181
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องไหว้ ดังนี้:- หญิงผู้ประสงค์จะนวดเท้า
ทั้งสองไหว้ ภิกษุพึงห้าม พึงปกปิดเท้าไว้ หรือพึงนิ่งเฉยเสีย. ด้วย
ว่า ภิกษุผู้นิ่งเฉย แม้จะยินดี ก็ไม่เป็นอาบัติ.
เรื่องสุดท้าย ปรากฏชัดแล้วแล.
กายสังสัคควรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ ด้วยประการฉะนี้
มหาวิภังค์ ภาค ๑ วินัยปิฎก พระไตรปิฎกเล่ม ๑ ข้อ ๓๗๗-๓๙๖
สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ หน้า ๒๐-๓๙
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๓ หน้า ๑๒๓-๑๘๑
ประโยค ๗ – ทุติยสมันตปาสาทิกาแปล ภาค ๑ หน้า ๓๒-๕๘
…………………………….
…………………………….