บาลีวันละคำ

ถุลลัจจัย (บาลีวันละคำ 3,444)

ถุลลัจจัย

เลวอย่างหยาบ

อ่านว่า ถุน-ลัด-ไจ

ประกอบด้วยคำว่า ถุลล + อัจจัย

(๑) “ถุลล” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ถุลฺล” (มีจุดใต้ ลฺ ตัวหน้า) อ่านว่า ถุน-ละ รากศัพท์มาจาก ถูลฺ (ธาตุ = เติบโต) + ปัจจัย, รัสสะ อู ที่ ถู-(ลฺ)เป็น อุ (ถูลฺ > ถุล)

: ถูลฺ + = ถูลฺล > ถุลฺล แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เติบโต” 

ลบที่สุดธาตุ (ถูลฺ > ถู)ได้รูปเป็น “ถูล” ก็มี – 

: ถูลฺ + = ถูลฺล > ถูล 

ถุลฺลถูล” (คุณศัพท์) ใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) กระชับ, ใหญ่โต (compact, massive) 

(2) หยาบ, ใหญ่เทอะทะ (coarse, gross) 

(3) เบ้อเร่อ, แข็งแรง, เกะกะงุ่มง่าม (big, strong, clumsy) 

(4) (มีคุณภาพ) ต่ำ, (กิริยาวาจา) หยาบ (low, unrefined, rough) 

(5) (รูปร่าง) อ้วน, ล่ำ (stout, fat)

(6) สามัญ (common)

บาลี “ถูล” และ “ถุลฺล” สันสกฤตเป็น “สฺถูล

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

สฺถูล : (คำวิเศษณ์) อ้วน, มีเนื้อ, ใหญ่; โง่, เขลา, โต, ใหญ่; หยาบ, ขี้เหร่, ขี้ริ้ว; fat, corpulent, bulky; stupid, dull; large, great; coarse; clumsy, ill-made or awkward.”

ในที่นี้ใช้ตามรูปบาลีเป็น “ถุลฺล” เขียนแบบไทยเป็น “ถุลล” (ไม่มีจุดใต้ ตัวหน้า)

ในสำนวนบาลีมีข้อควรสังเกต :

ถูล” มาคู่กับ “อณุ” (อณุํ ถูลํ) หมายถึง ใหญ่ (คู่กับเล็ก), มาก (คู่กับน้อย)

ถูล” มาคู่กับ “กิส” (กีส) หมายถึง อ้วน (คู่กับผอม)

ถูล” หรือ “ถุลฺล” จะใช้ในความหมายอย่างไรจึงต้องดูบริบทด้วย

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ถุล-, ถุลละ : (คำแบบ) (คำวิเศษณ์) อ้วน, พี; หยาบ. (ป. ถูล, ถุลฺล; ส. สฺถูล).”

(๒) “อัจจัย” 

บาลีเป็น “อจฺจย” อ่านว่า อัด-จะ-ยะ รากศัพท์มาจาก อติ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, เกิน, ล่วง) + อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ติ เป็น จฺจ (อติ > อจฺจ), แปลง อิ ธาตุเป็น

: อติ + อิ = อติอิ + = อติอิณ > อติอิ > อจฺจอิ > อจฺจย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “อาการที่ละเมิดเหยียบย่ำมรรยาทที่ดีเป็นไป” (2) “อาการเป็นเหตุให้ล่วงละเมิด

อจฺจย” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) [เกี่ยวกับเวลา] ความล่วงไปหรือผ่านไป; ความสิ้นสุด, ความสุดสิ้น, ความตาย [temporal] (lapse, passing; passing away, end, death)

(2) ผ่านไปหรือเลยไป, ล่วงเลยไป, ชนะ (passing or getting over, overcoming, conquering)

(3) การออกนอก [แบบอย่าง], อาบัติ, การล่วงละเมิด (going beyond [the norm], transgression, offence) 

ในที่นี้ “อจฺจย” ใช้ในความหมายตามข้อ (3)

บาลี “อจฺจย” ภาษาไทยทับศัพท์เป็น “อัจจัย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อัจจัย : (คำนาม) การล่วงไป; การล่วงเกิน, การดูหมิ่น. (ป. อจฺจย; ส. อตฺยย).”

ถุลฺล + อจฺจย = ถุลฺลจฺจย (ถุน-ลัด-จะ-ยะ) แปลว่า “ความล่วงละเมิดที่หยาบ” หมายถึง อาบัติหยาบ, ความผิดที่ควรตำหนิอย่างหนัก (a grave offence) คือการกระทำที่คนปกติหรือภิกษุที่มีสภาพจิตใจเป็นปกติจะไม่ทำเช่นนั้น 

ถุลฺลจฺจย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ถุลลัจจัย” (ถุน-ลัด-ไจ) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ถุลลัจจัย : (คำนาม) ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. (ป.).”

ขยายความ :

ถุลลัจจัย” เป็นชื่ออาบัติ คือ โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ 1 ใน 7 อย่าง

อาบัติมี 7 ชื่อ มีความหมายตามลักษณะความผิด (เพื่อเข้าใจง่าย ขอแปลแบบถอดความ) ดังนี้

(1) ปาราชิก = “แพ้ไล่ออก” 

(2) สังฆาทิเสส = “ต้องให้สงฆ์สั่งสอน” 

(3) ถุลลัจจัย = “เลวอย่างหยาบ

(4) ปาจิตตีย์ = “ทำดีตกแตก

(5) ปาฏิเทสนียะ = “รับสารภาพ

(6) ทุกกฏ = “มารยาททราม

(7) ทุพภาสิต = “ปากเสีย

มาตรการลงโทษกำหนดไว้ดังนี้ (ตัวเลขในวงเล็บคืออาบัติ)

(1) ขาดจากความเป็นพระทันทีที่ทำ 

(2) ที่ประชุมสงฆ์ลงโทษตามวิธีการที่กำหนด 

(3-7) เปิดเผยความผิดต่อหน้าเพื่อนภิกษุด้วยกัน เรียกว่า “ปลงอาบัติ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “ถุลลัจจัย” ไว้ดังนี้ 

…………..

ถุลลัจจัย : “ความล่วงละเมิดที่หยาบ”, ชื่ออาบัติหยาบอย่างหนึ่ง เป็นความผิดขั้นรองลงมาจากอาบัติสังฆาทิเสส เช่น ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุชักสื่อบัณเฑาะก์ (กะเทย) ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุนุ่งห่มหนังเสืออย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. 

…………..

เพื่อความเข้าใจเรื่องอาบัติของภิกษุกว้างขวางยิ่งขึ้น โปรดอ่านเพิ่มเติมที่ “บาลีวันละคำ” ต่อไปนี้ –

ปาราชิก [1] (109)

ปาราชิก [2] (2,896)

สังฆาทิเสส (3,066)

ปาจิตตีย์ (3,068)

นิสสัคคีย์ (3,069)

ปาฏิเทสนียะ (3,075)

เสขิยวัตร (3,067)

ทุกกฏ (1,263)

อนิยต (3,065)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: กิริยาวาจาหยาบก็ควรให้อภัย-ถ้าใจไม่หยาบ

: แต่บัณฑิตย่อมสุภาพ ทั้งกาย วาจา ใจ

#บาลีวันละคำ (3,444)

16-11-64 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *