บาลีวันละคำ

พุทฺธํ บุดดัง (บาลีวันละคำ 4,027)

พุทฺธํ บุดดัง

ทำไมพระธรรมยุตจึงออกเสียง “พุทฺธํ” เป็น บุดดัง

พุทฺธํ” บาลีรูปคำเดิมเป็น “พุทฺธ” อ่านว่า พุด-ทะ รากศัพท์มาจาก พุธฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลง ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ, แปลง เป็น ธฺ (นัยหนึ่งว่า แปลง ธฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น ทฺธ)

: พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺต > พุทฺธ (พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺธ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้ทุกอย่างที่ควรรู้

พุทฺธ” แปลตามศัพท์ได้หลายนัย ความหมายของ “พุทฺธ” ตามที่เข้าใจกันทั่วไปมักแปลว่า –

(1) ผู้รู้ = รู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง

(2) ผู้ตื่น = ตื่นจากกิเลสนิทรา ความหลับไหลงมงาย

(3) ผู้เบิกบาน = บริสุทธิ์ผ่องใสเต็มที่

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “พุทฺธ” ว่า –

One who has attained enlightenment; a man superior to all other beings, human & divine, by his knowledge of the truth, a Buddha (ผู้ตรัสรู้, ผู้ดีกว่าหรือเหนือกว่าคนอื่นๆ รวมทั้งมนุษย์และเทพยดาด้วยความรู้ในสัจธรรมของพระองค์, พระพุทธเจ้า)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

พุทธ, พุทธ-, พุทธะ : (คำนาม) ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).”

พุทฺธ” ในบาลี อ่านว่า พุด-ทะ แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “พุทฺธํ” อ่านตามลิ้นไทยปกติว่า พุด-ทัง

แล้วทำไมพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตจึงออกเสียง “พุทฺธํ” เป็น บุดดัง?

เรื่องนี้เป็นเหตุผลทางอักขรวิธี 

อักขรวิธีในการเขียนคำบาลีเป็นอักษรโรมัน (ที่มักเรียกกันผิดๆ ว่า “เขียนเป็นภาษาอังกฤษ”) ตามที่นักเรียนบาลีทั่วโลกตกลงตรงกัน เป็นดังนี้ –

(1) พยัญชนะวรรค 

วรรค (อ่านว่า วรรค กะ ไม่ใช่วรรค กอ พยัญชนะทุกตัวออกเสียง อะ ไม่ใช่ ออ)

ก = K/k 

ข = Kh/kh 

ค = G/g 

ฆ = Gh/gh 

ง = ng (มีเฉพาะตัวตามหรือตัวสะกด)

วรรค

จ = C/c 

ฉ = Ch/ch 

ช = J/j 

ฌ = Jh/jh 

ญ = Ñ/ñ

วรรค (ฏ ปฏัก ไม่ใช่ ฎ ชฎา)

ฏ = Ṭ/ṭ 

ฐ = Ṭh/ṭh 

ฑ = Ḍ/ḍ 

ฒ = Ḍh/ḍh 

ณ = ṇ (มีเฉพาะตัวตามหรือตัวสะกด)

วรรค

ต = T/t 

ถ = Th/th 

ท = D/d 

ธ = Dh/dh 

น = N/n

วรรค

ป = P/p 

ผ = Ph/ph 

พ = B/b 

ภ = Bh/bh 

ม = M/m 

(2) พยัญชนะอวรรค (อะ-วัก) คือไม่มีวรรคหรือไม่จัดเป็นวรรค มี 8 ตัว โปรดสังเกตว่า อํ (อ่านว่า อัง) ท่านจัดเป็นพยัญชนะด้วย

ย = Y/y 

ร = R/r 

ล = L/l 

ว = V/v 

ส = S/s 

ห = H/h 

ฬ = Ḷ/ḷ 

อํ = Aŋ/aŋ 

(3) สระ มี 8 ตัว

อะ = A/a 

อา = Ā/ā 

อิ = I/i 

อี = Ī/ī 

อุ = U/u 

อู = Ū/ū 

เอ = E/e 

โอ = O/o 

…………..

จะเห็นได้ว่า คำบาลี –

พ พาน เมื่อเขียนเป็นอักษรโรมันใช้ตัว B/b ถอดเป็นเสียงไทยก็คือ บ ใบไม้ “พุทฺ-” จึงเป็น “บุด”

ธ ธง เมื่อเขียนเป็นอักษรโรมันใช้ตัว Dh/dh ถอดรูปไทยคือ ธ ธง แต่ถอดเสียงเป็นไทยเสียงคล้าย ด เด็ก “-ธํ” จึงเป็น “ดัง”

พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตสวด “แบบมคธ” คือหยุดตามวรรคตอนตามประโยคภาษาบาลี และออกเสียงพยัญชนะบางตัวตามแบบมคธ เช่น ทหาร ธ ธง ออกเสียงคล้าย เด็ก พาน ออกเสียงเป็น ใบไม้ เป็นต้น

นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตจึงออกเสียง “พุทฺธํ” เป็น บุดดัง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ออกเสียงผิดอักขรวิธี มนุษย์ให้อภัยกันได้

: แต่ทำผิดศีลธรรม นรกไม่ให้อภัย

#บาลีวันละคำ (4,027)

22-6-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *