บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

พระศาสนาอันตรธาน (๑)

พระศาสนาอันตรธาน (๒)

พระศาสนาอันตรธาน (๒)

———————

คำเสนอแนะ:

๑ สำหรับท่านที่ไม่ถนัดที่จะอ่านคำบาลี (ซึ่งเมื่อไรจึงจะถนัดก็ไม่อาจทราบได้) ท่านจะอ่านเฉพาะคำแปลก็ได้ หวังใจว่าคำแปลเป็นไทยก็คงไม่ยากเกินกว่าที่คนไทยจะอ่านเข้าใจได้ดีพอสมควร

๒ สำหรับท่านที่มีกุศลจิตนิยมสวดมนต์ประจำวัน ขอเสนอแนะให้ท่านลงทุนคัดลอกข้อความสัทธัมมปฏิรูปกสูตรที่นำมาเสนอนี้ทำเป็นแผ่นกระดาษที่สะดวกแก่การเปิดอ่าน เมื่อท่านสวดมนต์ประจำวันหรือในโอกาสที่ท่านเคยปฏิบัติอยู่ เมื่อสวดบทอื่นๆ ตามปกติแล้วขอให้เพิ่มสัทธัมมปฏิรูปกสูตรเข้าไปอีกบทหนึ่ง 

ในที่นี้คำบาลีเขียนแบบบาลี ด้วยเจตนาจะกระตุ้นให้เกิดอุตสาหะในการอ่าน ถ้าท่านมีอุตสาหะในการสวดมนต์ เพียงแค่การอ่านคำบาลีอักษรไทยแค่นี้ทำไมจะอ่านไม่ได้ โปรดระลึกว่าคนที่อ่านได้เขาก็ไม่ได้อ่านได้มาตั้งแต่เกิด มาฝึกฝนเอาทีหลังทั้งนั้น

หัดเอื้อมขึ้นไปหยิบเอาเองได้ ท่านจะภาคภูมิใจยิ่งกว่าที่มีคนหยิบยื่นส่งมาให้ทุกอย่าง

ในการสวด ท่านจะสวดเฉพาะคำบาลีก็ได้ จะสวดคำแปลควบคู่ไปด้วยก็ได้ ในที่นี้ได้ทำเครื่องทับ (/) ไว้ให้แล้ว หมายถึงหยุดเป็นวรรคๆ เมื่อถึงเครื่องหมายทับ

ถ้าจะให้เกิดอรรถรสยิ่งขึ้น ในเวลาสวด-โดยเฉพาะสวดคำบาลี-ควรเอื้อนเสียงสูง-ต่ำ ยาว-สั้น ตามจังหวะลีลาของถ้อยคำคล้ายกับที่พระธรรมยุตท่านสวด ผมไม่สามารถบอกได้ว่าคำไหนตรงไหนควรเป็นเสียงสูง-ต่ำ ยาว-สั้นอย่างไร ขอให้ท่านมีอิสระในการคิดอ่านปรุงแต่งเอาเองตามอัธยาศัย การสวดเป็นทำนองแบบนั้นถ้าสวดร่วมกันเป็นหมู่จะยิ่งเกิดอรรถรส นำมาซึ่งปีติโสมนัสในธรรม เกิดมหากุศลยิ่งๆ ขึ้นไป

ขออนุโมทนาสาธุกับทุกท่านมา ณ ที่นี้

………………….

สัทธัมมปฏิรูปกสูตร

………………….

[๕๓๑]  เอกํ  สมยํ  ภควา / สาวตฺถิยํ  วิหรติ  เชตวเน  อนาถปิณฺฑิกสฺส  อาราเม  ฯ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน/อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้กรุงสาวัตถี 

อถ  โข  อายสฺมา  มหากสฺสโป / เยน  ภควา  เตนุปสงฺกมิ  อุปสงฺกมิตฺวา  ภควนฺตํ  อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ  นิสีทิ  ฯ

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ/ ครั้นเข้าไปเฝ้าถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

เอกมนฺตํ  นิสินฺโน  โข  อายสฺมา  มหากสฺสโป  ภควนฺตํ  เอตทโวจ

ครั้นท่านพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า

โก  นุ  โข  ภนฺเต  เหตุ  โก  ปจฺจโย / เยน  ปุพฺเพ  อปฺปตรานิ  เจว  สิกฺขาปทานิ  อเหสุํ / พหุตรา  จ  ภิกฺขู  อญฺญาย  สณฺฐหึสุ / โก  ปน  ภนฺเต  เหตุ  โก  ปจฺจโย / เยเนตรหิ  พหุตรานิ  เจว  สิกฺขาปทานิ / อปฺปตรา  จ  ภิกฺขู  อญฺญาย  สณฺฐหนฺตีติ  ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ/ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย/ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุดำรงอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก/ และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย/ให้บัดนี้สิกขาบทมีมากและภิกษุดำรงอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย

[๕๓๒]  เอวญฺเหตํ  กสฺสป โหติ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า/ ดูก่อนกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ 

สตฺเตสุ  หายมาเนสุ  สทฺธมฺเม  อนฺตรธายมาเน / พหุตรานิ  เจว  สิกฺขาปทานิ  โหนฺติ / อปฺปตรา  จ  ภิกฺขู  อญฺญาย  สณฺฐหนฺติ

คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง/ พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป/ สิกขาบทจึงมีมากขึ้น/ ภิกษุที่ดำรงอยู่ในพระอรหัตผลจึงมีน้อยลง

น  ตาว  กสฺสป  สทฺธมฺมสฺส  อนฺตรธานํ  โหติ / ยาว  น  สทฺธมฺมปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ

สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด/ พระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไปตราบนั้น 

ยโต  จ  โข  กสฺสป  สทฺธมฺมปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ / อถ  สทฺธมฺมสฺส  อนฺตรธานํ  โหติ  ฯ

และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด/ พระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไปเมื่อนั้น 

เสยฺยถาปิ  กสฺสป  น  ตาว  ชาตรูปสฺส  อนฺตรธานํ  โหติ / ยาว  น  ชาตรูปปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ / ยโต  จ  โข  กสฺสป  ชาตรูปปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ / อถ  ชาตรูปสฺส  อนฺตรธานํ  โหติ  ฯ

ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด/ ทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไปตราบนั้น/ และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้นในโลก/ ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด

เอวเมว  โข  กสฺสป / น  ตาว  สทฺธมฺมสฺส  อนฺตรธานํ  โหติ / ยาว  น  สทฺธมฺมปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ / ยโต  จ  โข  กสฺสป  สทฺธมฺมปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ / อถ  สทฺธมฺมสฺส  อนฺตรธานํ  โหติ  ฯ

พระสัทธรรมก็ฉันนั้นแลกัสสป/ สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด/ พระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไปตราบนั้น/ เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น/ เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป

[๕๓๓]  น  โข  กสฺสป  ปฐวีธาตุ  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปติ / น  อาโปธาตุ  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปติ / น  เตโชธาตุ  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปติ / น  วาโยธาตุ  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปติ

ดูก่อนกัสสป/ ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้/ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ 

อถ  โข  อิเธว  เต  อุปฺปชฺชนฺติ  โมฆปุริสา / เย  อิมํ  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปนฺติ / เสยฺยถาปิ  กสฺสป  นาวา  อาทิเกเนว  โอปิลาวติ  ฯ

ที่แท้โมฆบุรุษในศาสนานี้เอง/เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป/ เปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะต้นหนนั่นเอง 

น  โข  กสฺสป  เอวํ  สทฺธมฺมสฺส  อนฺตรธานํ  โหติ  ฯ

ดูก่อนกัสสป/ พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไป ด้วยประการฉะนี้

[๕๓๔]  ปญฺจ  โขเม  กสฺสป  โอกฺกมนิยา  ธมฺมา / สทฺธมฺมสฺส  สมฺโมสาย  อนฺตรธานาย  สํวตฺตนฺติ  ฯ

ดูก่อนกัสสป/ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม 

กตเม  ปญฺจ  ฯ

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน? 

อิธ  กสฺสป  ภิกฺขู  ภิกฺขุนิโย  อุปาสกา  อุปาสิกาโย / สตฺถริ  อคารวา  วิหรนฺติ  อปฺปติสฺสา / ธมฺเม  อคารวา  วิหรนฺติ  อปฺปติสฺสา / สงฺเฆ  อคารวา  วิหรนฺติ  อปฺปติสฺสา / สิกฺขาย  อคารวา  วิหรนฺติ  อปฺปติสฺสา / สมาธิสฺมึ  อคารวา  วิหรนฺติ  อปฺปติสฺสา  ฯ

คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้/ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑/ ในพระธรรม ๑/ ในพระสงฆ์ ๑/ ในสิกขา ๑/ ในสมาธิ ๑ 

อิเม  โข  กสฺสป  ปญฺจ  โอกฺกมนิยา  ธมฺมา / สทฺธมฺมสฺส  สมฺโมสาย  อนฺตรธานาย  สํวตฺตนฺติ  ฯ

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล/ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม

[๕๓๕]  ปญฺจ  โขเม  กสฺสป  ธมฺมา / สทฺธมฺมสฺส  ฐิติยา  อสมฺโมสาย  อนนฺตรธานาย  สํวตฺตนฺติ  ฯ

ดูก่อนกัสสป/ เหตุ (ฝ่ายสูง) ๕ ประการเหล่านี้แลย่อมเป็นไปพร้อม/เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม 

กตเม  ปญฺจ  ฯ

เหตุ (ฝ่ายสูง) ๕ ประการเป็นไฉน? 

อิธ  กสฺสป  ภิกฺขู  ภิกฺขุนิโย  อุปาสกา  อุปาสิกาโย / สตฺถริ  สคารวา  วิหรนฺติ  สปฺปติสฺสา / ธมฺเม  สคารวา  วิหรนฺติ  สปฺปติสฺสา / สงฺเฆ  สคารวา  วิหรนฺติ  สปฺปติสฺสา / สิกฺขาย  สคารวา  วิหรนฺติ  สปฺปติสฺสา / สมาธิสฺมึ  สคารวา  วิหรนฺติ  สปฺปติสฺสา  ฯ

คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้/ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑/ ในพระธรรม ๑/ ในพระสงฆ์ ๑/ ในสิกขา ๑/ ในสมาธิ ๑ 

อิเม  โข  กสฺสป  ปญฺจ  ธมฺมา / สทฺธมฺมสฺส  ฐิติยา  อสมฺโมสาย  อนนฺตรธานาย  สํวตฺตนฺตีติ  ฯ

เหตุ (ฝ่ายสูง) ๕ ประการเหล่านี้แล/ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม

เตรสมํ  ฯ

จบสัทธัมมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓

…………………………

ที่มา: สัทธัมมปฏิรูปกสูตร สังยุตนิกาย นิทานวรรค

พระไตรปิฎกเล่ม ๑๖ ข้อ ๕๓๑-๕๓๕

…………………………

ตอนหน้า: ชวนกันศึกษาสัทธัมมปฏิรูปกสูตร

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๘ กันยายน ๒๕๖๔

๑๗:๔๕

………………………………..

พระศาสนาอันตรธาน (๓)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

………………………………..

พระศาสนาอันตรธาน (๑)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *