บาลีวันละคำ

ปิตติวิสัย – 1 ในอบายภูมิ (บาลีวันละคำ 3,497)

ปิตติวิสัย – 1 ในอบายภูมิ

แดนเปรต 

ปิตติวิสัย” อ่านว่า ปิด-ติ-วิ-ไส

เขียนแบบาลีเป็น “ปิตฺติวิสย” อ่านว่า ปิด-ติ-วิ-สะ-ยะ

ประกอบด้วยคำว่า ปิตฺติ + วิสย 

(๑) “ปิตฺติ” 

อ่านว่า ปิด-ติ รากศัพท์มาจาก ปร (โลกอื่น) + อิ (ธาตุ = ไป) + ติ ปัจจัย, ซ้อน , ลบ รฺ ที่ ป (ปร >

: ปร > + อิ = ปิ + ตฺ + ติ = ปิตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปสู่ปรโลก

ปิตฺติ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ตาย, จากไป (dead, departed)

(2) เป็นคำนาม หมายถึง วิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไป, เปรต (the departed spirit, ghosts)

ปิตฺติ” ความหมายตรงกับคำว่า “เปรต” ที่รู้จักกันดีในภาษาไทย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เปรต, เปรต– : (คำนาม) สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหย็อกหย็อย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาสคนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือในทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).”

(๒) “วิสัย”

บาลีเขียน “วิสย” (วิ-สะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + สิ (ธาตุ = เสพ, คบหา; ผูก, พัน) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ สิ เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (สิ > เส > สย)

: วิ + สิ = วิสิ + = วิสิณ > วิสิ > วิเส > วิสย แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภูมิภาคเป็นที่เสพอาศัย” (2) “ภาวะที่ผูกอินทรีย์ไว้” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วิสย” ไว้ดังนี้ –

(1) locality, spot, region; world, realm, province, neighbourhood (ที่ตั้ง, แหล่งที่; ภูมิภาค, โลก, อาณาจักร, จังหวัด, บริเวณ)

(2) reach, sphere [of the senses], range, scope; object, characteristic, attribute (ขอบเขต, โลก [ของความรู้สึก], แนว, วง; วิสัย, ลักษณะ, คุณสมบัติ)

จับความหมายของ “วิสย > วิสัย” สั้น ๆ ว่า –

(1) ขอบเขต 

(2) สิ่งที่จิตไปรับรู้เกาะเกี่ยว = อารมณ์

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิสย-, วิสัย : (คำนาม) ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตรภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).”

ปิตฺติ + วิสย = ปิตฺติวิสย (ปิด-ติ-วิ-สะ-ยะ) แปลว่า “แดนแห่งเปรต” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปิตฺติวิสย” ว่า the realm of the departed spirits (เปรตวิสัย, อาณาจักรของเปรต หรือสถานะที่คนตายจะต้องรับใช้กรรมของตน) 

ปิตฺติวิสย” คำนี้ในคัมภีร์ใช้เป็น “เปตฺติวิสย” (เปด-ติ-วิ-สะ-ยะ) ก็มี คือแผลง อิ ที่ ปิตฺ- เป็น เอ (ปิตฺติ– > เปตฺติ-) พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เปตฺติวิสย” ว่า the world of the manes, the realm of the petas (โลกของปีศาจ, วิสัยหรืออาณาจักรของเปรต) 

ปิตฺติวิสย” หรือ “เปตฺติวิสย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “เปรตวิษัย” และ “เปรตวิสัย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า 

เปรตวิษัย, เปรตวิสัย : (คำนาม) ภูมิหรือขอบเขตที่อยู่แห่งเปรต, เปตวิสัย ก็ใช้. (ส. ไปตฺรฺย + วิษฺย; ป. เปตฺติวิสย).”

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต สะกดคำนี้เป็น “ปิตติวิสัย” บอกไว้ดังนี้ –

ปิตติวิสัย : แดนเปรต, ภูมิแห่งเปรต (ข้อ ๓ ในทุคติ ๓, ข้อ ๓ ในอบาย ๔); เปตติวิสัย ก็เรียก; ดู เปรต, ทุคติ, อบาย 

ที่คำว่า “เปรต” บอกไว้ดังนี้ –

…………..

เปรต : 1. ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว, คนที่ตายไปแล้ว 2. สัตว์จำพวกหนึ่งซึ่งเกิดอยู่ในอบายชั้นที่เรียกว่าปิตติวิสัย หรือ เปตติวิสัย (แดนเปรต) ได้รับความทุกข์ทรมานเพราะอดอยาก ไม่มีจะกิน แม้เมื่อมี ก็กินไม่ได้ หรือกินได้โดยยาก.

…………..

ที่คำว่า “ทุคติ” บอกไว้ดังนี้ –

…………..

ทุคติ : คติไม่ดี, ทางดำเนินที่ไม่ดีมีความเดือดร้อน, ที่ไปเกิดอันชั่ว หรือที่ไปเกิดของผู้ทำกรรมชั่ว, แดนกำเนิดที่ไม่ดีมากไปด้วยความทุกข์ มี ๓ ได้แก่ นรก ดิรัจฉาน เปรต; คติที่ไม่ดี คือ ทุคติ ๓ นี้ ตรงข้ามกับคติที่ดี คือ สุคติ ๒ (มนุษย์ และ เทพ) รวมทั้งหมดเป็น คติ ๕ ที่ไปเกิดหรือแดนกำเนิดไม่ดีนี้ บางทีเรียกว่า อบาย หรืออบายภูมิ (แปลว่า แดนซึ่งปราศจากความเจริญ) แต่อบายภูมินั้นมี ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน, เหตุให้จำนวนไม่เท่ากันนั้น มีคำอธิบาย ดังที่อรรถกถาบางแห่งกล่าวไว้ว่า (อุ.อ.๑๔๕; อิติ.อ.๑๔๕) ในกรณีนี้ รวมอสุรกาย เข้าในจำพวกเปรตด้วย จึงเป็นทุคติ ๓.

…………..

สรุปว่า “ปิตติวิสัย” เป็น 1 ในอบายภูมิ คือภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี 4 อย่าง คือ –

1. นิรยะ = นรก 

2. ติรัจฉานโยนิ = กำเนิดดิรัจฉาน 

3. ปิตติวิสัย = ภูมิแห่งเปรต 

4. อสุรกาย = พวกอสุรกาย 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รู้จักอิ่มรู้จักพอเมื่อใด

: พ้นจากเปรตวิสัยเมื่อนั้น

#บาลีวันละคำ (3,497)

8-1-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *