บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

ปอระมินมะหา

ปอระมินมะหา

เรียนถามท่านครู ตามรูปที่แนบมา ราชบัณฑิตไม่ออกเสียง ปอ-ระ-มิน-“ทะ-ระ” เหมือนเช่นที่ท่านครูกรุณาแนะนำ รบกวนท่านครูอภิปรายด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

———

ขออนุญาตอภิปรายดังนี้ครับ –

.

ผมขอยืนยันว่า ต้องอ่าน –มิน-ทระ-มะ-หา- จึงจะถูกตามหลักการอ่าน อ่าน –มิน-มะ-หา- คืออ่านแบบ “รักง่าย” คือชอบทำอะไรแบบง่ายๆ ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง

.

อีกคำหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่า “รักง่าย” คือ อดุลยเดช  หนังสือเล่มนี้บอกให้อ่าน อะ-ดุน-ยะ-เดด แต่คำอ่านที่ถูกต้องคือ อะ-ดุน-ละ-ยะ-เดด

.

มีคำเทียบอยู่คำหนึ่ง คือ “เถลิงถวัลยราชสมบัติ” ลองให้คน “รักง่าย” อ่านดูได้เลย เขาจะอ่านว่า –ถะ-หฺวัน-ราด-สม-บัด

.

จังหวัดราชบุรีบ้านผม อักษรโรมันสะกดว่า ratchaburi แต่คนส่วนมากเรียกว่า ราด-บุ-รี จนเป็นคำอ่านที่ถูกไปอีกคำหนึ่ง นี่ก็เกิดจากการ “รักง่าย” เหมือนกัน

.

ผมจึงว่า ภาษาไทยของเราเรียวลงไปเรื่อยๆ เพราะความรักง่ายนี่แหละ

.

แต่ไม่ต้องไปทะเลาะกับราชบัณฑิตยฯ นะครับ มีหลายคำที่ราชบัณฑิตยฯ ผิด เราเพียงแต่ช่วยกันรับรู้เอาไว้เงียบๆ ใครจะอ่านแบบ “รักง่าย” ก็เชิญอ่านไป แต่เมื่อใดที่เราอ่านเอง เราต้องอ่านแบบที่ถูกต้อง ไม่ใช่อ่านแบบ “รักง่าย” แล้วอ้างราชบัณฑิตยฯ หรืออ้างคนใหญ่คนโตที่อ่านผิด

.

คนตาดีควรช่วยกันบอกคนตาดีที่แกล้งทำเป็นคนตาหลิ่ว (เพราะเข้าเมืองตาหลิ่ว) ว่าเลิกทำเป็นคนตาหลิ่วได้แล้วเพราะเราเป็นคนตาดี ไม่ใช่พลอยทำเป็นตาหลิ่วเพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่ง

—————-

เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ญาติมิตรผู้ใช้นามว่า อาซัน ตะวันทิตย์ ได้ส่งลิงก์คำอ่านพระปรมาภิไธยของอาลักษณ์มาให้ฟัง

อาลักษณ์อ่านพระปรมาภิไธย

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *