บาลีวันละคำ

อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ (บาลีวันละคำ 1,600)

อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ

สร้อยพระปรมาภิไธยที่มีนัยน่าพิศวง

อ่านว่า อะ-เหฺนก-กะ-ชน-นิ-กอน-สะ-โม-สอน-สม-มด

ประกอบด้วย อเนก + ชน + นิกร + สโมสร + สมมติ

(๑) “อเนก

ประสมขึ้นจากคำว่า + เอก

(นะ) แปลว่า “ไม่ใช่

เอก (เอ-กะ) แปลว่า “หนึ่ง” (จำนวน 1)

ตามกฎไวยากรณ์บาลี ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วย “” คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ท่านให้แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

+ เอก จึงเท่ากับ อน + เอก

อ่าง ที่ “เอก” ตามหลักบาลีถือว่าไม่มีรูป คือ =

จึงเท่ากับ อน + = อเนก

อเนก แปลตามศัพท์ว่า “ไม่ใช่หนึ่ง” หมายถึง “มีจำนวนมากหลาย” (not one, many, various; countless) เอามาใช้ในภาษาไทยออกเสียงว่า อะ-เหฺนก

(๒) “ชน

บาลีอ่านว่า ชะ-นะ หมายถึง คน, ประชาชน, สัตว์, ผู้เกิด บางทีก็ใช้ทับศัพท์ว่า ชน (a creature, living being)

ชน” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังกุศลหรืออกุศลให้เกิดได้” เป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรมอีกเช่นกัน เพราะธรรมดาของคน ดีก็ทำได้ ชั่วก็ทำได้

(๓) “นิกร

บาลีอ่านว่า นิ-กะ-ระ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำส่วนย่อยให้อยู่ใกล้กัน” คือเอาส่วนย่อยหลายๆ ส่วนมาอยู่รวมกัน = ฝูง, กลุ่ม, หมู่, พวก, ประชุมชน, มหาชน (a multitude)

(๔) “สโมสร

บาลีอ่านว่า สะ-โม-สะ-ระ แปลตามศัพท์ว่า “ไปรวมกัน” หมายถึง การสโมสร, การประชุม, การรวมกัน, การบรรจบกัน (coming together, meeting, union, junction)

(๕) “สมมติ

บาลีเป็น “สมฺมติ” อ่านว่า สำ-มะ-ติ แปลตามศัพท์ว่า “การรู้พร้อมกัน” คือ รับรู้ร่วมกัน, ยอมรับร่วมกัน (authorized, selected, agreed upon)

การประกอบคำ :

(1) อเนก + ชน = อเนกชน แปลว่า คนเป็นอันมาก

(2) อเนกชน + นิกร = อเนกชนนิกร แปลว่า หมู่ชนเป็นอันมาก

(3) อเนกชนนิกร + สโมสร = อเนกชนนิกรสโมสร แปลว่า ที่ชุมนุมแห่งหมู่ชนเป็นอันมาก, หมู่ชนเป็นอันมากที่ชุมนุมกัน

(4) อเนกชนนิกรสโมสร + สมมติ = อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ แปลว่า การตกลงยินยอมของหมู่ชนเป็นอันมากที่ชุมนุมกัน, หมู่ชนเป็นอันมากชุมนุมกันเพื่อการตกลงยินยอม

อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ” นิยมใช้เป็นสร้อยพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ในสมัยเก่าก่อน

อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ” แปลได้ความทั้งสองทาง :

(1) แปลจากหลังมาหน้า : ผู้ที่ได้รับการยอมยกให้เป็น..โดยที่ชุมนุมแห่งหมู่ชนเป็นอันมาก

(2) แปลจากหน้าไปหลัง : ผู้ที่หมู่ชนเป็นอันมากชุมนุมกันยอมยกให้เป็น..

อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ” ตีความได้ทั้งสองสมัย :

(1) สมัยราชาธิปไตย : มีความหมายว่า ผู้ที่พสกนิกรชื่นชมยินดีอัญเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์

(2) สมัยประชาธิปไตย : มีความหมายว่า ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

จะตีความตามสมัยไหนย่อมขึ้นอยู่กับกาลเทศะ รู้การควรไม่ควร

……………

: เรื่องจริงไม่อาจเป็นเรื่องสมมติ

: แต่เรื่องสมมติอาจเป็นเรื่องจริง

21-10-59