บาลีวันละคำ

จิตแพทย์ (บาลีวันละคำ 3,499)

จิตแพทย์

หมอจิตหรือหมอใจ

อ่านว่า จิด-ตะ-แพด

ประกอบด้วยคำว่า จิต + แพทย์

(๑) “จิต” 

เขียนแบบบาลีเป็น “จิตฺต” (มีจุดใต้ ตฺ ตัวหน้า) อ่านว่า จิด-ตะ รากศัพท์มาจาก – 

(1) จิ (ธาตุ = สะสม) + ปัจจัย, ซ้อน ตฺ

: จิ + ตฺ + = จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “สีอันเขาผสมกันไว้” (คือเขียนระบายไว้) หมายถึง สีระบาย, ลวดลาย (2) “สิ่งที่สะสมการสืบต่อของตนไว้” หมายถึง จิต, ใจ อันเป็นที่เก็บสั่งสมบุญบาปไว้

(2) จินฺต (ธาตุ = คิด) + ปัจจัย, ลบ นฺ

: จินฺต + = จินฺตต > จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ทำหน้าที่คิด” (2) “สิ่งที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์” หมายถึง จิต, ใจ, ความคิด

(3) จิตฺต (ความวิจิตรพิสดารต่างๆ) + ปัจจัย, ลบ

: จิตฺต + = จิตฺตณ > จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ทำให้วิจิตรไปต่างๆ” หมายถึง จิต, ใจ ซึ่งมีลักษณะคิดเรื่องราวจินตนาการต่างๆ สุดจะบรรยาย

(4) จิตฺต (สิ่งที่งดงาม) + (อะ) ปัจจัย

: จิตฺต + = จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งามวิจิตรเพราะสร้างขึ้นด้วยจิต” หมายถึง จิตรกรรม, ความวิจิตรต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จิตฺต” ไว้ดังนี้ –

(1) the heart (psychologically), i. e. the centre & focus of man’s emotional nature as well as that intellectual element which inheres in & accompanies its manifestations; i. e. thought (หัวใจ [ทางจิตวิทยา] คือศูนย์และจุดรวมของธรรมชาติที่เกี่ยวกับความรู้สึกของมนุษย์ กับส่วนของสติปัญญาซึ่งอยู่ในการแสดงออกเหล่านั้น; กล่าวคือ ความคิด)

(2) variegated, manifold, beautiful; tasty, sweet, spiced (of cakes) (วิจิตร, มีลวดลายหลายหลาก, สวยงาม, อร่อย, หวาน, ใส่เครื่องเทศ [พูดถึงขนม]) 

(3) painting (ภาพเขียน) 

ในที่นี้ “จิตฺต” ใช้ในความหมายตามที่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลในข้อ (1)

จิตฺต” ในภาษาไทยในที่ทั่วไป ตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “จิต” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จิต, จิต– : (คำนาม) ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบราณ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).”

(๒) “แพทย์” 

บาลีเป็น “เวชฺช” (เวด-ชะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) วิชฺชา ( = ความรู้ทางยา) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ วิชฺ-เป็น เอ, ลบ และลบสระท้ายคำหน้า : วิชฺชา > วิชฺช

: วิชฺชา + = วิชฺชา > เวชฺชา > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้วิชาทางยา

(2) วิทฺ (ธาตุ = รู้) + ณฺย ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ-เป็น เอ, แปลง ทฺย เป็น ชฺช

: วิทฺ + ณฺย = วิทฺย > เวทฺย > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้การเยียวยา” 

เวชฺช” (ปุงลิงค์) หมายถึง หมอรักษาโรค

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เวชฺช” ว่า a physician, doctor, medical man, surgeon (หมอ, แพทย์, หมอยา, ศัลยแพทย์)

เวชฺช” สันสกฤตเป็น “ไวทฺย” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ไวทฺย : (คำนาม) ‘แพทย์’ หมอยา, หมอรักษาโรค; ผู้คงแก่เรียน; ผู้คงแก่เรียนในพระเวท; a physician, a learned man; one well versed in Vedas;- (คำวิเศษณ์) อันเป็นสัมพันธินแก่ยา; medical relating to medicine.”

เวชฺช” ใช้ในภาษาไทยว่า “แพทย์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

แพทย-, แพทย์ : (คำนาม) หมอรักษาโรค. (ส. ไวทฺย).”

จิต + แพทย์ = จิตแพทย์ แปลตามศัพท์ว่า “หมอทางจิต

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จิตแพทย์ : (คำนาม) แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดงความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ. (อ. psychiatrist).”

จิตแพทย์” แปลงกลับเป็นบาลีเป็น “จิตฺตเวชฺช” (จิด-ตะ-เวด-ชะ) แต่ยังไม่พบศัพท์เช่นนี้ในคัมภีร์บาลี

อภิปรายขยายความ :

จิตแพทย์” เป็นศัพท์บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า psychiatrist 

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี ไม่ได้เก็บคำว่า psychiatrist ไว้ แต่มีคำว่า psychiater ซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกัน แปลเป็นบาลีไว้ว่า –

manorogatikicchaka มโนโรคติกิจฺฉก (มะ-โน-โร-คะ-ติ-กิด-ฉะ-กะ) = ผู้รักษาโรคทางใจ

ศัพท์บัญญัติอีกคำหนึ่งเกี่ยวกับโรคทางจิตที่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 คือคำว่า “จิตเวชศาสตร์” (จิด-ตะ-เวด-ชะ-สาด) บอกไว้ดังนี้ –

จิตเวชศาสตร์ : (คำนาม) วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาการตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต. (อ. psychiatry).”

คำว่า “จิตเวช-” รากศัพท์ก็เหมือนกับ “จิตแพทย์” แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่ได้เก็บคำว่า “จิตเวช” ไว้ ตรวจดูศัพท์บัญญัติที่บัญญัติว่า “จิตเวช” ตรงตัวก็ยังไม่พบ

จิตแพทย์” กับ “จิตเวช” ต่างกันอย่างไร?

พิจารณาจากคำนิยามของพจนานุกรมฯ : 

จิตแพทย์” = แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดงความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ

จิตเวช” (ในคำว่า “จิตเวชศาสตร์”) = วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาการตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต

ผู้เขียนบาลีวันละคำปรารถนาจะเข้าใจว่า –

อวัยวะที่ทำหน้าที่คิดนึกมีสภาพปรกติ ไม่เป็นโรคใดๆ แต่วิธีนึกคิดผิดแปลกไปจากคนปกติ ต้องแก้ไขที่วิธีนึกคิด อย่างนี้เป็นหน้าที่ของ “จิตแพทย์

อวัยวะที่ทำหน้าที่คิดนึกมีสภาพผิดปรกติด้วยสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่งผลให้การนึกคิดผิดแปลกไปจากคนปกติ ถ้าแก้ไขอาการผิดปกติที่อวัยวะได้ อาการผิดปรกติทางการนึกคิดก็จะหายไปเอง อย่างนี้เป็นหน้าที่ของ “จิตเวช

หรืออาจจะอนุโลมเรียกว่า –

จิตแพทย์” รักษาเน้นหนักทางจิตภาพ

จิตเวช” รักษาเน้นหนักทางกายภาพ

ผิดถูกประการใด ขอผู้รู้โปรดพิจารณาด้วยเถิด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เพียงประพฤติไม่ผิด

: โรคจิตก็หายทันที

#บาลีวันละคำ (3,499)

10-1-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *