บาลีวันละคำ

รัตนตรัย (บาลีวันละคำ 3,935)

รัตนตรัย

ทำไมจึงไม่เขียนเป็น “รัตนไตร”

อ่านว่า รัด-ตะ-นะ-ไตฺร

ประกอบด้วยคำว่า รัตน + ตรัย

(๑) “รัตน” 

บาลีเป็น “รตน” อ่านว่า ระ-ตะ-นะ รากศัพท์มาจาก – 

(1) รติ (ความยินดี) + ตนฺ (ธาตุ = ขยาย, แผ่ไป) + ปัจจัย, ลบ , ลบ ติ ที่ รติ (รติ > )

: รติ + ตนฺ = รติตน + = รติตนณ > รติตน > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายความยินดี” คือเพิ่มความยินดีให้ 

(2) รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ตน ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (รมฺ > )

: รมฺ + ตน = รมตน > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นที่ชื่นชอบแห่งผู้คน” 

(3) รติ (ความยินดี) + นี (ธาตุ = นำไป) + (อะ) ปัจจัย, ลบ อิ ที่ รติ (รติ > รต), ลบสระที่ธาตุ (นี > )

: รติ + นี = รตินี + = รตินี > รตนี > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่นำไปสู่ความยินดี

(4) รติ (ความยินดี) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + (อะ) ปัจจัย, แปลง อิ ที่ รติ เป็น ะ (รติ > รต), ลบ ต้นธาตุ (ชนฺ > )

: รติ + ชนฺ = รติชนฺ + = รติชน > รตชน > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยังความยินดีให้เกิดขึ้น” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกความหมายของ “รตน” (นปุงสกลิงค์) ไว้ดังนี้ –

(1) [lit.] a gem, jewel ([ความหมายตามตัว] อัญมณี, รัตนะ)

(2) [fig.] treasure, gem of ([ความหมายเชิงอุปมา] สมบัติ, รัตนะ)

บาลี “รตน” ในภาษาไทยใช้เป็น “รัตน-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) “รัตน์” และ “รัตนะ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รัตน-, รัตน์, รัตนะ : (คำนาม) แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ-จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ-ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ-ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ-มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ-นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ-ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ-ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).”

(๒) “ตรัย” 

บาลีเป็น “ตย” (ตะ-ยะ) คำเดิมมาจาก “ติ” เป็นคำจำพวก “สังขยา” (คำบอกจำนวน) แปลว่า “สาม” (จำนวน 3) แปลง “ติ” เป็น “ตย” (หรือจะว่า แปลง อิ เป็น ก็ได้) มีฐานะเป็นคำนาม แปลว่า “หมวดสาม-” 

ปรกติ “ตย” จะไม่ใช้เดี่ยวๆ แต่จะต้องมีคำนามนำหน้าเสมอ บอกให้รู้ว่า “หมวดสาม-” แห่งอะไร เช่นในที่นี้คือ “รตนตฺตย” 

บาลี “ตย” สันสกฤตเป็น “ตฺรย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ตรัย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ตรัย : (คำวิเศษณ์) สาม, หมวด ๓, ใช้ในคําสมาส เช่น ตรัยตรึงศ์ รัตนตรัย. (ส.).”

รตน + ตย ซ้อน ตฺ ระหว่างศัพท์

: รตน + ตฺ + ตย = รตนตฺตย (ระ-ตะ-นัด-ตะ-ยะ) แปลว่า “หมวดสามแห่งรัตนะ” คือ รัตนะ 3 อย่าง (a Triad of Gems) 

รตนตฺตย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “รัตนตรัย

ขยายความ :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า – 

รัตนตรัย : (คำนาม) แก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์. (ส.).”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับปรุงคำนิยามใหม่เป็นดังนี้ – 

รัตนตรัย : (คำนาม) แก้ว ๓ ประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน หมายถึง พระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธรัตนะ พระธรรม เรียกว่า ธรรมรัตนะ พระสงฆ์ เรียกว่า สังฆรัตนะ, ไตรรัตน์ ก็เรียก.”

รัตนตรัย” ไม่ใช่ “รัตนไตร

โปรดจำไว้ว่า 

ถ้าเขียนเป็น “ไตร” ต้องอยู่หน้า เป็น “ไตรรัตน์” ไม่ใช่ “ตรัยรัตน์

ถ้าเขียนเป็น “ตรัย” ต้องอยู่หลัง เป็น “รัตนตรัย” ไม่ใช่ “รัตนไตร

กฎเกณฑ์ของภาษาไม่ได้มีไว้เพื่อกดขี่ 

แต่มีไว้เพื่อสร้างความงามความดีในภาษา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: วันนี้ ถ้าไม่รู้จักควบคุมตัวเอง

: วันหนึ่ง จะต้องโดนนักเลงเข้ามาควบคุม

#บาลีวันละคำ (3,935)

22-3-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *