บาลีวันละคำ

วิญญาณัญจายตนะ (บาลีวันละคำ 3,531)

วิญญาณัญจายตนะ

อรูปพรหมชั้นที่สอง

อ่านว่า วิน-ยา-นัน-จา-ยะ-ตะ-นะ 

วิญญาณัญจายตนะ” เขียนแบบบาลีเป็น “วิญฺญาณญฺจายตน” อ่านว่า วิน-ยา-นัน-จา-ยะ-ตะ-นะ แยกศัพท์เป็น วิญฺญาณญฺจ + อายตน 

(๑) “วิญฺญาณญฺจ” 

อ่านว่า วิน-ยา-นัน-จะ รูปศัพท์เดิมคือ วิญฺญาณ + อนนฺต 

(ก) “วิญฺญาณ” อ่านว่า วิน-ยา-นะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + ญา (ธาตุ = รู้) + ยุ ปัจจัย, ซ้อน ญฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (วิ + ญฺ + ญา), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แปลง เป็น  

: วิ + + ญา = วิญฺญา + ยุ > อน = วิญฺญาน > วิญฺญาณ แปลตามศัพท์ว่า “ความรู้แจ้ง” 

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) บอกความหมายของ “วิญฺญาณ” ว่า วิญญาณ, จิต, ความรู้แจ้ง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกว่า “วิญฺญาณ” เป็นคำพิเศษในพุทธอภิปรัชญา (as special term in Buddhist metaphysics) และบอกความหมายของ “วิญฺญาณ” ไว้ดังต่อไปนี้ –

(1) a mental quality as a constituent of individuality (ลักษณะทางจิตใจอันเป็นองค์ประกอบของการเป็นคน)

(2) the bearer of [individual] life (ผู้ทรงชีวิต)

(3) life-force [as extending also over rebirths] (กำลังของชีวิต [ซึ่งแผ่ขยายออกไปถึงการเกิดใหม่ด้วย]) 

(4) principle of conscious life (หลักของชีวิตที่ยังไม่ดับ)

(5) general consciousness [as function of mind and matter] (ความรู้สึกโดยทั่วๆ ไป [ในฐานเป็นหน้าที่ของใจและกาย])

(6) regenerative force (พลังซึ่งให้ชีวิตใหม่)

(7) animation (การทำให้มีชีวิต) 

(8 ) mind as transmigrant, as transforming [according to individual kamma] one individual life [after death] into the next (ใจ ในฐานเป็นธรรมชาติที่ย้ายที่ได้ และเปลี่ยนแปลงชีวิต [หลังตาย] ไปสู่ชีวิตอนาคต [ตามกรรมเฉพาะตัว])

หมายเหตุ :

เราฟังที่ฝรั่งแปลไว้เป็นการศึกษา แต่ไม่จำเป็นต้องเชื่อหรือเห็นด้วยกับความหมายที่ฝรั่งบอกไว้ทุกอย่างไป

บาลี “วิญฺญาณ” ในภาษาไทยใช้ทับศัพท์เป็น “วิญญาณ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของคำว่า “วิญญาณ” ไว้ดังนี้ –

…………..

วิญญาณ : ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่นรู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตาเป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยินเป็นอาทิ; วิญญาณ ๖ คือ ๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น) ๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน) ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น) ๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส) ๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย) ๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

…………..

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

วิญญาณ : (คำนาม) สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺญาน).”

ข้อสังเกต :

คำว่า “วิญฺญาณวิญญาณ” นี้ ไม่มีปัญหาในการเขียนหรืออ่าน แต่มีปัญหาในทางความเข้าใจ

พจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า “วิญญาณ” คือ สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่

ตามหลักพุทธศาสนาเถรวาท วิญญาณที่อยู่ในกายเมื่อมีชีวิต ก็คือความรับรู้อารมณ์ คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งที่กระทบกาย (เช่น เย็นร้อนอ่อนแข็งเป็นต้น) และรู้เรื่องที่ใจนึกคิด

และพระพุทธศาสนาเถรวาทไม่ได้สอนว่า เมื่อตาย วิญญาณจะออกจากร่างล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ แต่บอกว่า เมื่อจุติจิตเกิดแล้วดับไป (คือตาย) ถ้ายังมีกิเลสอยู่ จุติจิตจะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดติดต่อกันไปทันที (คือเกิดใหม่)

เมื่อพูดว่า “วิญญาณ” เราจะแปลเป็นอังกฤษว่า soul และพอเห็นคำว่า soul ก็จะแปลกันว่า “วิญญาณ”

แต่ฝรั่งที่ทำพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ไม่ได้แปล “วิญญาณ” ว่า soul และไม่ได้แปล soul เป็นบาลีว่า “วิญฺญาณ

(ข) “อนนฺต” อ่านว่า อะ-นัน-ตะ ประสมขึ้นจากคำว่า (ไม่, ไม่ใช่) + อนฺต 

(1) “อนฺต” (อัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + (ตะ) ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ + = อมฺต > อนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง :

1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

3) ข้าง (side)

4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

(2) + อนฺต แปลง เป็น อน ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – 

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “อนฺต” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ – จึงต้องแปลง เป็น อน

: > อน + อนฺต = อนนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีที่สุด” หมายถึง หาที่สุดมิได้, ไม่จบสิ้น, ไม่มีขอบเขต (endless, infinite, boundless)

ตามศัพท์ อนนฺต ไม่ได้แปลว่า “มากล้น” แต่สิ่งใด “ไม่มีที่สุด” สิ่งนั้นย่อมส่อนัยว่า มากมาย มากเหลือล้นนั่นเอง

บาลี “อนนฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อนันต” “อนันต์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนันต-, อนันต์ : (คำวิเศษณ์) ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์. (ป.).”

: วิญฺญาณ + อนนฺต = วิญฺญาณานนฺต (วิน-ยา-นา-นัน-ตะ) แปลว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด

แปลง “วิญฺญาณานนฺต” เป็น “วิญฺญาณญฺจ” 

ทำไม “วิญฺญาณานนฺต” จึงไม่เป็น “วิญฺญาณานญฺจ”?

คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค 2 (อารุปฺปนิทฺเทส) หน้า 143 ชี้แจงไว้ดังนี้ – 

…………..

นาสฺส  อนฺโตติ  อนนฺตํ  ฯ

ที่สุดแห่งวิญญาณนั้นไม่มี เหตุนั้น วิญญาณนั้นจึงชื่อ อนันตะ

อนนฺตเมว  อานญฺจํ  ฯ

(คำว่า) “อนันตะ” นั่นแหละ แปลงรูปคำเป็น “อานัญจะ”

วิญฺญาณํ  อานญฺจํ  วิญฺญาณานญฺจนฺติ  อวตฺวา …

วิญญาณเป็นอานัญจะ แต่ท่านไม่พูดว่า “วิญญาณานัญจะ”

(วิญฺญาณ + อานญฺจ = วิญฺญาณานญฺจ)

วิญฺญาณญฺจนฺติ  วุตฺตํ  ฯ

… ท่านกลับพูดว่า “วิญญาณัญจะ” ไปเสีย 

(จาก วิญญาณานัญจะ เป็น วิญญาณัญจะ)

อยํ  เหตฺถ  รุฬฺหิสทฺโท  ฯ

นี่เป็นความขยายตัวของภาษาที่ใช้ในความหมายนี้ 

…………..

สรุปว่า เมื่อท่านควรจะพูดว่า “วิญฺญาณานญฺจ” แต่หาได้ออกเสียงเช่นนั้นไม่ กลับพูดเป็น “วิญฺญาณญฺจ” แต่ความหมายคงเดิม

: วิญฺญาณานนฺต > วิญฺญาณานญฺจ > วิญฺญาณญฺจ (วิน-ยา-นัน-จะ) 

(๒) “อายตน” 

อ่านว่า อา-ยะ-ตะ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ยตฺ (ธาตุ = พยายาม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: อา + ยตฺ = อายตฺ + ยุ > อน = อายตน (อา-ยะ-ตะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ผู้ต้องการผลพยายาม” (ผู้ต้องการผลอันใดอันหนึ่ง ไปลงมือพยายามทำกิจเพื่อผลนั้นในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า “ที่เป็นที่ผู้ต้องการผลพยายาม”)

(2) อา (ผล)+ ตน (ธาตุ = ขยาย, แผ่ไป) + (อะ) ปัจจัย

: อาย + ตนฺ = อายตนฺ + = อายตน (อา-ยะ-ตะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายผลของตนไป” 

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “อายตน” ว่า อายตนะ, ที่อยู่, ที่เกิด, ที่ประชุม, เหตุ, บ่อเกิด, เทวาลัย, เจดีย์, ลัทธิ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกความหมายของ “อายตน” ไว้ดังนี้ –

(1) stretch, extent, reach, compass, region; sphere, locus, place, spot; position, occasion (ระยะ, เขต, ปริมณฑล, ดินแดน, ถิ่น, สถานที่, จุด; ตำแหน่ง, โอกาส) 

(2) exertion, doing, working, practice, performance (ความพยามยาม, การกระทำ, การทำงาน, การปฏิบัติ, การประกอบ) 

(3) sphere of perception or sense in general, object of thought, sense-organ & object; relation, order (ขอบเขตของความเข้าใจหรือความรู้สึกโดยทั่วๆ ไป, สิ่งที่คิดถึง, สิ่งที่รับรู้ และธรรมารมณ์; ความสัมพันธ์, ลำดับ) 

ในที่นี้ “อายตน” ใช้ในความหมายตามข้อ (1)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

อายตนะ : (คำนาม) เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).”

พึงทราบว่า ตามที่พจนานุกรมฯ บอกไว้นี้เป็นเพียงความหมายหนึ่งเท่านั้นของคำว่า “อายตน” ในบาลี

วิญฺญาณญฺจ + อายตน = วิญฺญาณญฺจายตน (วิน-ยา-นัน-จา-ยะ-ตะ-นะ) แปลว่า “ภูมิแห่งผู้บรรลุฌานกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้” 

วิญฺญาณญฺจายตน” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วิญญาณัญจายตนะ” (วิน-ยา-นัน-จา-ยะ-ตะ-นะ) คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายคำว่า “วิญญาณัญจายตนะ” ไว้ดังนี้ –

…………..

วิญญาณัญจายตนะ : ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (ข้อ ๒ ในอรูป ๔)

…………..

และที่คำว่า “อรูป” พจนานุกรมพุทธศาสน์ฯ มีคำอธิบายดังนี้ –

…………..

อรูป : ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

…………..

วิญญาณัญจายตนะ” จัดอยู่ในภูมิที่เรียกว่า “อรูปาวจรภูมิ” ชั้นของพรหมผู้ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป หรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน คือที่เรียกรวมว่า “อรูปพรหม” และเป็นอรูปพรหมชั้นที่สอง

ภูมิของอรูปพรหมมี 4 ระดับ คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าปฏิบัติธรรมให้ถึงระดับเข้าถึงเหตุผล

: ก็จะข้ามพ้นจากการถกเถียงกันด้วยทิฐิ

#บาลีวันละคำ (3,531)

11-2-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *