บาลีวันละคำ

สัมมากัมมันตะ (บาลีวันละคำ 3,560)

สัมมากัมมันตะ

องค์ที่สี่ของมรรคมีองค์แปด

อ่านว่า สำ-มา-กำ-มัน-ตะ

ประกอบด้วยคำว่า สัมมา + กัมมันตะ

(๑) “สัมมา” บาลีเป็น “สมฺมา” (สำ-มา) 

สมฺมา” รากศัพท์มาจาก สมุ (ธาตุ = สงบ) + ปัจจัย, ลบสระท้ายธาตุ, ซ้อน มฺ, ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สมุ > สม + = สมฺม + = สมฺม + อา = สมฺมา แปลตามศัพท์ว่า “เหตุเป็นเครื่องสงบ

หมายเหตุ :

สมฺมา” ตามรากศัพท์นี้ หมายถึง สลักของแอก (a pin of the yoke)

สมฺมา” ที่กำลังกล่าวถึงนี้น่าจะมีรากศัพท์เดียวกัน

——-

สมฺมา” เป็นคำที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “อัพยยศัพท์” คือคำที่คงรูป ไม่เปลี่ยนรูปไปตามวิธีแจกวิภัตติ แต่อาจเปลี่ยนตามวิธีสนธิได้บ้าง และทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ ขยายคำอื่น ไม่ใช้ตามลำพัง

สมฺมา > สัมมา” แปลว่า โดยทั่วถึง, โดยสมควร, โดยถูกต้อง, โดยชอบ, ในทางดี, ตามสมควร, ดีที่สุด, โดยสมบูรณ์ (thoroughly, properly, rightly; in the right way, as it ought to be, best, perfectly)

คำที่ใช้ “สัมมา” นำหน้า ที่เราคุ้นกันดีก็เช่น สัมมาสัมพุทโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัมมาทิฐิ

คำที่ตรงกันข้ามกับ “สัมมา” ก็คือ “มิจฉา” (มิด-ฉา) แปลว่า ผิด, อย่างผิดๆ, ด้วยวิธีผิด, ไม่ถูก, เก๊, หลอกๆ (wrongly, in a wrong way, wrong–, false)

(๒) “กัมมันตะ

เขียนแบบบาลีเป็น “กมฺมนฺต” อ่านว่า กำ-มัน-ตะ ประกอบด้วย กมฺม + อนฺต 

(ก) “กมฺม” (กำ-มะ) รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กรรม ๑, กรรม– ๑ : (คำนาม) (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม.(๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ.(๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ.(๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.”

ในที่นี้สะกดเป็น “กัมม” หมายถึง การงาน, กิจ

(ข) “อนฺต” (อัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ที่สุดธาตุเป็น (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ > อน + = อนฺต (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง –

(1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

(2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

(3) ข้าง (side)

(4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

กมฺม + อนฺต = กมฺมนฺต (กำ-มัน-ตะ) มีความหมายเท่ากับ “กมฺม” แต่เน้นเฉพาะ การกระทำ, การทำงาน; การงาน; ธุรกิจ, อาชีพ (doing, acting, working; work, business, occupation, profession) 

สมฺมา + กมฺมนฺต = สมฺมากมฺมนฺต (สำ-มา-กำ-มัน-ตะ) ใช้ในภาษาไทยเป็น “สัมมากัมมันตะ” แปลตามสำนวนนิยมว่า “ทำการงานชอบ” หมายถึง ทำงานที่ถูกต้อง หรือการกระทำที่ถูกต้อง

“ชอบ” ในภาษาไทยมักหมายถึง ถูกใจ หรือ like

“ชอบ” ในภาษาบาลีหมายถึง ถูกต้อง หรือ right

สัมมากัมมันตะ” เป็นองค์หนึ่งในหลักธรรมที่เรียกว่า “มรรคมีองค์แปด” อันประกอบด้วย (1) สัมมาทิฏฐิ (2) สัมมาสังกัปปะ (3) สัมมาวาจา (4) สัมมากัมมันตะ (5) สัมมาอาชีวะ (6) สัมมาวายามะ (7) สัมมาสติ (8 ) สัมมาสมาธิ

ขยายความ :

ในพระไตรปิฎกท่านให้คำจำกัดความคำว่า “สัมมากัมมันตะ” ไว้ดังนี้ – 

…………..

กตโม  จ  ภิกฺขเว  สมฺมากมฺมนฺโต  ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะคืออย่างไร

ปาณาติปาตา  เวรมณี

การเว้นจากการฆ่าสัตว์

อทินฺนาทานา  เวรมณี

การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

กาเมสุ  มิจฺฉาจารา  เวรมณี

การเว้นจากความประพฤติผิดในกาม

อยํ  วุจฺจติ  ภิกฺขเว  สมฺมากมฺมนฺโต  ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ

ที่มา: มหาสติปัฏฐานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค 

พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 299

…………..

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [293] สรุปความหมายของ “สัมมากัมมันตะ” ไว้ดังนี้ –

…………..

4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 — Sammākammanta: Right Action)

…………..

กายสุจริต 3 คือ งดเว้นและประพฤติตรงข้ามกับ ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [320] กุศลกรรมบถ 10 ขยายความ “กายสุจริต” ไว้ดังนี้ –

…………..

ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย — bodily action)

1. ปาณาติปาตํ ปหาย ฯเปฯ สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี โหติ (ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน — to avoid the destruction of life and be anxious for the welfare of all lives)

2. อทินฺนาทานํ ปหาย ฯเปฯ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อนาทาตา โหติ (ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น — to avoid stealing, not violating the right to private property of others)

3. กาเมสุมิจฺฉาจารํ ปหาย ฯเปฯ น จาริตฺตํ อาปชฺชิตา โหติ (ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ — to avoid sexual misconduct, not transgressing sex morals)

…………..

สรุปว่า “สัมมากัมมันตะ” ในทางปฏิบัติ หรือในแง่ “ห้ามทำ” หมายถึง ไม่ฆ่า ไม่ลักขโมยทุจริตฉ้อโกง และไม่ประพฤติผิดทางเพศ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทำกิจการงานหรือทำอะไรก็ตามที่ไม่ล่วงละเมิดเบญจศีล 3 ข้อ ส่วนในแง่ “ให้ทำ” หมายถึง ช่วยชีวิตผู้อื่น ช่วยเหลือเจือจานผู้อื่น และยินดีพอใจเฉพาะในคู่ครองของตน ปฏิบัติได้ดังนี้ คือ “สัมมากัมมันตะ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: วันนี้ถือศีลห้า

: วันหน้ามีสิทธิ์ไปนิพพาน

#บาลีวันละคำ (3,560)

12-3-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *