บาลีวันละคำ

กัมมันตภาพรังสี (บาลีวันละคำ 4,547)

กัมมันตภาพรังสี

บาลีวันละคำทำได้แค่แยกศัพท์ให้ดู

อ่านว่า กำ-มัน-ตะ-พาบ-รัง-สี

ประกอบด้วยคำว่า กัมมันต + ภาพ + รังสี

(๑) “กัมมันต

เขียนแบบบาลีเป็น “กมฺมนฺต” อ่านว่า กำ-มัน-ตะ ประกอบด้วย กมฺม + อนฺต 

(ก) “กมฺม” อ่านว่า กำ-มะ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กรรม ๑, กรรม– ๑ : (คำนาม) (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม.(๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ.(๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ.(๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.”

ในที่นี้สะกดเป็น “กัมม” หมายถึง การกระทำ

(ข) “อนฺต” อ่านว่า อัน-ตะ รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ที่สุดธาตุเป็น (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ > อน + = อนฺต (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง –

(1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

(2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

(3) ข้าง (side)

(4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

กมฺม + อนฺต = กมฺมนฺต (กำ-มัน-ตะ) ความหมายทั่วไปคือ การกระทำ, การทำงาน; การงาน; ธุรกิจ, อาชีพ (doing, acting, working; work, business, occupation, profession) 

แต่เฉพาะในที่นี้ แปลว่า “ที่สุดแห่งการกระทำ” หมายความว่า มีการกระทำเกิดขึ้น เมื่อการกระทำนั้นสิ้นสุดลงแล้วมีผลอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดตามมาหรือผลของการกระทำนั้นยังเหลืออยู่

(๒) “ภาพ

บาลีเป็น “ภาว” อ่านว่า พา-วะ รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมี” “ความเป็น

ภาว” หมายถึง ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ (being, becoming, condition, nature) 

ภาว แปลง เป็น : ภาว > ภาพ เมื่อใช้ต่อท้ายคำอื่น แปลว่า “การ–” หรือ “ความ–” แบบเดียวกับภาษาอังกฤษที่ลงท้ายว่า -ness, -tion หรือ -ty

ภาพ” ในภาษาไทย นอกจากคงตามบาลีแล้ว ความหมายยังเคลื่อนที่ไปอีก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ภาพ, ภาพ– : (คำนาม) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).”

(๓) “รังสี

บาลีเป็น “รํสิ” อ่านว่า รัง-สิ รากศัพท์มาจาก รสฺ (ธาตุ = ยินดี) + อิ ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุ (รสฺ > รํส)

: รสฺ + อิ = รสิ > รํสิ แปลตามศัพท์ว่า “แสงเป็นที่ยินดีแห่งเหล่าสัตว์” หมายถึง แสง, แสงสว่าง (a ray, light)

รํสิ” สันสกฤตเป็น “รศฺมิ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

รศฺมิ : (คำนาม) รัศมี; ปักษมัน, ขนตา; a ray of light; an eye-lash.”

รํสิ” ภาษาไทยใช้เป็น “รังสิ” และ “รังสี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

รังสิ, รังสี : (คำนาม) แสง, แสงสว่าง. (ป. รํสิ; ส. รศฺมี).”

การประสมคำ :

กมฺมนฺต + ภาว = กมฺมนฺตภาว (กำ-มัน-ตะ-พา-วะ) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งการสิ้นสุดการกระทำ” 

กมฺมนฺตภาว” ใช้ในภาษาไทยเป็น “กัมมันตภาพ” (กำ-มัน-ตะ-พาบ)

คำว่า “กัมมันตภาพ” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ต้องดูความหมายที่คำว่า “กัมมันตภาพรังสี

กัมมันตภาพ + รังสี = กัมมันตภาพรังสี (กำ-มัน-ตะ-พาบ-รัง-สี) แปลตามศัพท์ว่า “รังสีของภาวะแห่งการสิ้นสุดการกระทำ” 

ขยายความ :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของคำว่า “กัมมันตภาพรังสี” ไว้ดังนี้ –

กัมมันตภาพรังสี : (คำนาม) การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. (อ. radioactivity).” 

…………..

แถม :

คำแปลตามศัพท์บาลีเข้าใจยาก 

คำนิยามตามพจนานุกรมฯ ก็เข้าใจยาก

ต้องรอให้ผู้รู้เรื่องนี้โดยตรงมาอธิบายเป็นภาษาชาวบ้าน ๆ ให้เข้าใจง่ายอีกทีหนึ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ตญฺจ  กมฺมํ  กตํ  สาธุ

: ยํ  กตฺวา  นานุตปฺปติ.

: กรรมใดทำแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง

: กรรมนั้นแลทำเถิดเป็นดี

ที่มา:

– เขมสูตร สังยุตนิกาย สคาถวรรค 15/281

– พาลวรรค ธรรมบท 25/15

#บาลีวันละคำ (4,547)

23-11-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *