บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

คาถากับกถา

คาถากับกถา

————

“คาถา” หมายถึง ถ้อยคำที่เป็นบทร้อยกรอง เทียบกับคำไทยก็คือถ้อยคำที่แต่งเป็นกาพย์กลอนโคลงฉันท์

“กถา” หมายถึง ถ้อยคำที่เป็นคำพูดปกติธรรมดา

ผู้ที่ไม่ได้เรียนบาลีหรือไม่คุ้นเคยกับคำบาลีมักไม่เข้าใจว่า คำว่า “คาถา” กับคำว่า “กถา” ต่างกันอย่างไร จึงมักพูดคลุมๆ หรือมัวๆ กันไป โดยที่ตัวเองก็ไม่แน่ใจว่าต้องการจะพูดว่า “คาถา” หรือ “กถา” กันแน่ 

และเมื่อพูดคำว่า “คาถา” หรือ “กถา” ออกไปแล้ว ก็ยังไม่รู้หรือเข้าใจไม่ชัดเจนอยู่นั่นเองว่า “คาถา” คืออะไร และ “กถา” คืออะไร 

จึงปรากฏอยู่เสมอว่า มีผู้เรียกคำที่แต่งเป็นกาพย์กลอนภาษาบาลีว่า “กถา” และเรียกถ้อยคำธรรมดาที่บรรยายธรรมะ เช่นพระธรรมเทศนาที่พระเทศน์ว่า “คาถา” 

การที่เรียกเพราะความไม่เข้าใจเช่นนี้ ถ้าเรียกผิดกันมากเข้าก็มักจะมีท่านผู้ทำท่าจะรู้ออกมาอธิบายเป็นเชิงแก้แทนให้ว่า เรียกเช่นนั้นไม่ผิดหรอกด้วยเหตุผลเช่นนั้นเช่นนี้ พอคนเชื่อคำอธิบายกันมากๆ คำที่เรียกผิดพูดผิดนั้นเลยกลายเป็นถูกไปก็มี 

วิธีแก้ ไม่ใช่ช่วยกันอธิบายผิดให้กลายเป็นถูก แต่ต้องช่วยกันให้ความรู้ที่ถูกต้องแล้วแก้ไขเรื่องที่ผิดนั้นให้กลับมาพูด มาเรียก หรือมาใช้กันให้ถูกต้อง

……………………………………………

แก้ไขผิดให้กลับเป็นถูก คือคนแท้

อธิบายผิดให้กลายเป็นถูก คือคนแถ

……………………………………………

พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย

๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

๑๓:๕๕

……………………………………….

คาถากับกถา

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *