บาลีวันละคำ

พาหนะ (บาลีวันละคำ 397)

พาหนะ

อ่านว่า พา-หะ-นะ

คำนี้บาลีมักใช้เป็น “วาหน” อ่านว่า วา-หะ-นะ (ที่เป็น “พาหน” ก็มี แต่น้อย) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่นำไปให้ถึง” “สิ่งเป็นเครื่องพยายามเมื่อเกิดกิจธุระขึ้น

คำแปลข้อหลังนี้ หมายความว่า เมื่อเกิดความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปมาให้เร็วขึ้น หรือต้องนำพาสัมภาระเป็นจำนวนมากเกินกว่าแรงคนจะหอบหิ้วแบกหามไปได้ มนุษย์จึงต้องพยายามหาเครื่องมือมาใช้เพื่อการนั้น จึงเป็นที่มาของ “วาหนสิ่งที่นำไปให้ถึง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

พาหนะ : เครื่องนําไป, เครื่องขับขี่, สัตว์สําหรับขี่บรรทุกหรือลากเข็นมีช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น เรียกว่า สัตว์พาหนะ, ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ

ในภาษาบาลี ถ้าเติม “” (สะ) เข้าข้างหน้า เป็น “สวาหน” (สะ-วา-หะ-นะ) “วาหน” จะมีความหมายว่า ไพร่พล กองทัพ เช่นในพระคาถาชินบัญชรที่ว่า “เชตฺวา  มารํ  สวาหนํ” แปลว่า “ชนะมารพร้อมทั้งไพร่พล

ในภาษาไทย “พาหนะ” ถ้าเขียน “พาหน” (ไม่มีสระ อะ) อ่านว่า พา-หน ( สะกด) เช่น “พระเศวตอดุลยเดชพาหน” ชื่อช้างเผือกประจำรัชกาลปัจจุบัน

พาหนะ หรือ พาหน ใช้เพื่อการเดินทางไปมา

คำว่า “หน” ที่หมายถึง ทาง, ทิศ, ที่, สถานที่ ถ้ายังไม่รู้ว่าจะให้เป็นภาษาอะไรดี จะลอง “จับบวช” ไปพลางก่อนก็ได้ คือบอกว่า กร่อนมาจาก “พาหน

ถ้ามีพยานหลักฐานว่าไม่ใช่ ก็ “จับสึก” ได้ทันที

บาลีวันละคำ (397)

16-6-56

วาหน = พาหนะ (ยาน โยคฺค) (ศัพท์วิเคราะห์)

วาหนฺติ สงฺคามาทีสุ กิจฺเจ อุปฺปนฺเน ปยตนฺติ วีริยํ กโรนฺติ เอเตนาติ วาหนํ สิ่งเป็นเครื่องพยายามเมื่อเกิดกิจธุระขึ้น

วาห ธาตุ ในความหมายว่าพยายาม ยุ ปัจจัย

วหตีติ วาหนํ ยานที่นำไปให้ถึง

วห ธาตุ ในความหมายว่านำไปให้ถึง ยุ ปัจจัย พฤทธิ์ อ เป็น อา

วาหน ในคัมภีร์

สมฺมปฺปธานา  มารเธยฺยาภิภูตา

เต  อสิตา  ชาติมรณภยสฺส  ปารคู

เต  ตุสิตา  เชตฺวาน  มารํ  สวาหนํ

เต  อเนชา (สพฺพ) นมุจิพลํ  อุปาติวตฺตา (เต  สุขิตาติ)

ภิกษุเหล่านั้นมีความเพียรชอบ ย่อมครอบงำเสียได้ซึ่งแดนมาร

ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว

พ้นภัยคือเกิดตายแล้ว ถึงฝั่ง (คือพระนิพพาน)

ภิกษุเหล่านั้นสบายใจ ชนะมารกับทั้งพลพาหนะแล้ว

ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ล่วงเสียซึ่งมารและพลมารทั้งปวง

ถึงซึ่งความสุข.

อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต ข้อ ๑๓

หํสา  อาทิจฺจปเถ  ยนฺติ    อากาเส  ยนฺติ  อิทฺธิยา

นียนฺติ  ธีรา  โลกมฺหา       เชตฺวา  มารํ  สวาหนํ ฯ

หงส์ทั้งหลายย่อมไปในทางแห่งดวงอาทิตย์

ท่านผู้มีฤทธิ์ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์

ธีรชนชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว

ย่อมออกไปจากโลกได้.

โลกวรรค (๑๓) ธรรมบท

ติงสภิกขุวัตถุ (๑๔๔) ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๖

สมนฺตา  ธชินึ  ทิสฺวา         ยุตฺตํ  มารํ  สวาหนํ

ยุทฺธาย  ปจฺจุคจฺฉามิ         มา  มํ  ฐานา  อจาวยิ ฯ

เราเห็นมารพร้อมด้วยพาหนะยกออกแล้วโดยรอบ

จึงมุ่งหน้าไปเพื่อรบ

มารอย่าได้ยังเราให้เคลื่อนจากที่.

ปธานสูตร สุตตนิบาต ข้อ ๓๕๕

ตอนต้นพระสูตรนี้ได้แสดง “เสนามาร” ไว้ดังนี้ –

กามทั้งหลาย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๑ ของท่าน

ความไม่ยินดี เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๒ ของท่าน

ความหิวและความกระหาย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๓ ของท่าน

ตัณหา เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๔ ของท่าน

ถีนมิทธะ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๕ ของท่าน

ความขลาดกลัว เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๖ ของท่าน

ความสงสัย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๗ ของท่าน

ความลบหลู่ ความหัวดื้อ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๘ ของท่าน

ลาภ สรรเสริญ สักการะ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๙ ของท่าน

และยศที่ได้มาผิดซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลยกตนและดูหมิ่นผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๑๐ ของท่าน

ดูก่อนมาร เสนาของท่านนี้มีปกติกำจัดซึ่งคนผู้มีธรรมดำ

คนผู้ไม่กล้าย่อมไม่ชนะซึ่งเสนาของท่านนั้น

ส่วนคนผู้กล้าย่อมชนะได้

ครั้นชนะแล้วย่อมได้ความสุข.

อยญฺจ  ทหโร  ภิกฺขุ      อยมุตฺตมโปริโส

ธาเรติ  อนฺติมํ  เทหํ  เชตฺวา  มารํ  สวาหนํ ฯ

ก็ภิกษุหนุ่มนี้นับว่าเป็นบุรุษผู้สูงสุด

ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว

ทรงร่างกายอันเป็นชาติสุดท้ายไว้

มหาโมคคัลลานเถรคาถา สัฏฐิกนิบาต ข้อ ๔๐๐ หน้า ๔๒๗

(ในเถรคาถายังมีอีกหลายแห่ง)

จริมํ  วตฺตเต  มยฺหํ   ภวา  สพฺเพ  สมูหตา

ธาเรมิ  อนฺติมํ  เทหํ  เชตฺวา  มารํ  สวาหนํ ฯ

เมื่อชีวิตของเราในภพสุดท้ายเป็นไปอยู่

เราถอนภพขึ้นได้ทั้งหมด

ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว

ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันเป็นชาติสุดท้ายไว้.

อุปเสนวังคันตบุตรเถระ อปทาน ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๓๒ ข้อ ๑๙

อารามทฺวารา  นิกฺขมฺม     โคสีสํ  สนฺถตํ  มยา

อนุโภมิ  สกํ  กมฺมํ            ปุพฺพกมฺมสฺสิทํ  ผลํ ฯ

อาชานิยา  วาตชวา         สินฺธวา  สีฆพาหนา

อนุโภมิ  สพฺพเมตํ            โคสีสสฺส  อิทํ  ผลํ ฯ

เราออกจากประตูพระอารามแล้ว

ได้ทอดไม้จันทน์ขาวไว้ (เพื่อให้สงฆ์เดิน)

เราได้เสวยกรรมของตน

นี้เป็นผลแห่งบุรพกรรม.

ม้าสินธพอาชาไนยมีกำลังวิ่งเร็วดังลมพัด

เป็นพาหนะเร็ว

เราได้เสวยผลนั้นทั้งหมด

นี้เป็นผลแห่งการทอดไม้จันทน์ขาว.

โคสีสนิกเขปกเถราปทาน อปทาน ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๓๒ ข้อ ๒๙๗

ชนะมาร ชนะอะไร

นทนฺติ  เอวํ  สปฺปญฺญา    สีหาว  คิริคพฺภเร

ธีรา วิชิตสงฺคามา           เชตฺวา  มารํ  สวาหนํ

ธีรชนผู้มีปัญญา ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว

ชื่อว่าผู้ชนะสงคราม

ย่อมบันลือสีหนาท

ดังราชสีห์ในถ้ำภูเขาฉะนั้น

ภารทวาชเถรคาถา ทุกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ ข้อ ๒๘๖

๑ ม. ยุ. วีรา อรรถกถาก็แก้เป็น วีรา  ๒ ม. สวาหนึ

วีราติ  จตุพฺพิธสมฺมปฺปธานวิริยสมฺปนฺนตาย  วีรา  ตโตเอว 

อนวเสสสงฺกิเลสปกฺขนิมฺมถเนน  สวาหนํ  กิเลสมารํ 

อภิสงฺขารมารํ  เทวปุตฺตมารญฺจ  เชตฺวา  สพฺพโส  วิชิตสงฺคามา  

นทนฺติ  สปฺปญฺญาติ  สมฺพนฺโธ ฯ

บทว่า  วีรา  ความว่า ชื่อว่ามีความเพียร เพราะสมบูรณ์ด้วยความเพียร คือสัมมัปปธาน ๔ อย่าง.

เชื่อมความว่า เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาชนะกิเลสมาร อภิสังขารมาร และเทวบุตรมาร พร้อมทั้งพาหนะ* ด้วยการทำลายธรรมอันเป็นฝ่ายสังกิเลสได้โดยไม่เหลือ ชื่อว่าเป็นผู้ชนะสงครามแล้วอย่างเบ็ดเสร็จ ย่อมบันลือสีหนาท.

*ตามนัยนี้ “พาหนะ” ย่อมหมายถึง “เสนามาร”

เสนามารคืออะไรบ้าง ดูปธานสูตร สุตตนิบาต

ปรมัตถทีปนี ภาค ๑ เถรคาถาวัณณนา หน้า ๖๔๕

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๕๑ หน้า ๑๔๒

วาหน (บาลี-อังกฤษ)

๑ (คุณ) บรรทุกหรือนำไป, ดึงไป, ลากไป carrying, pulling, drawing

๒ (นปุง.) ยวดยาน, สัตว์พาหนะ, พาหนะ conveyance, beast of burden, monture

พาหน นป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

พาหนะ, เครื่องนำไป, เครื่องขับขี่.

วาหน นป.

สิ่งที่นำไป, พาหนะ.

พาหนะ

  [-หะนะ] น. เครื่องนําไป, เครื่องขับขี่, สัตว์สําหรับขี่บรรทุกหรือลากเข็นมีช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น เรียกว่า สัตว์พาหนะ, ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ. (ป., ส. วาหน).

วาหนะ

  [วาหะ-] น. พาหนะ. (ป., ส.).

“หน” เป็นภาษาอะไร

หน

  น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

หนทาง

  น. ทาง, ช่องทาง, เช่น เวลานี้เขาหมดหนทางทำมาหากินแล้ว.

Akarin Pongpandechaได้โพสต์ไปยังนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย

10 มิถุนายน บริเวณ Bang Yai, Nonthaburi ผ่าน โทรศัพท์มือถือ.

คุณครูครับ ขออนุญาตเรียนถามว่า คำว่า “หน” ที่ใช้ควบคู่กับ ทาง แปลว่าอะไรครับ และมีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีหรือเปล่าครับ

 เคยอ่านพบในวรรณกรรมว่า “จรมาในทางหน” และ มียอดชฎา ทรงหนึ่ง เรียกว่า ชฎายอดเดินหน

 จึงขอความกรุณาจากคุณครู ช่วยอธิบายเป็นวิทยาทานด้วยครับ ชอบพระคุณครับ

Tanagorn Promdoung ขออนุญาตนะครับ คำว่า”หน” อาจอ่านว่าหะนะ หรือเปล่า เช่นในคำว่า พาหนะ ซึ่งเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเช่นกัน กระผมก็ติดใจในคำนี้ ขอความกรุณาจากอาจารย์ครับ

10 มิถุนายน เวลา 22:07 น. ผ่าน มือถือ · เลิกถูกใจ · 3

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างพลายเผือกโท เกิดในป่าเขตจังหวัดกระบี่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2494

ถูกคล้องได้ที่ บ้านหนองจูด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่เมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนายแปลก ฟุ้งเฟื่องและนายปลื้ม สุทธิเกิด(หมอเฒ่า)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กำหนดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกประจำรัชกาล ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เป็นปีที่ 13 ในรัชกาลปัจจุบัน

ได้รับพระราชทานนามเต็มว่า

พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวมนาถบารมี

 ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์

 สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ์ประสิทธิ์

 รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้า ๚

พระเศวตอดุลยเดชพาหนล้มในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล หัวหิน

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย