บาลีวันละคำ

โอกาส (บาลีวันละคำ 399)

โอกาส

บาลีอ่านว่า โอ-กา-สะ ไทยอ่านว่า โอ-กาด

โอกาส” รากศัพท์มาจาก อว (คำอุปสรรค = ลง) + กส (ธาตุ = ไถ) + (ปัจจัย)

กระบวนการทางไวยากรณ์คือ แปลง อว เป็น โอ, กส เป็น กาส ตามกฎของปัจจัยที่มี “” : อว = โอ + กส = กาส =โอกาส

โอกาส” แปลตามศัพท์ว่า “ช่องเป็นที่ไถลง

อธิบายเป็นภาพว่า ถ้าเอาไถไปไถตรงไหน แล้วไถนั้นไม่ถูกอะไรเลย มีแต่ปักหัวลงท่าเดียว ตรงนั้นแหละเรียกว่า “โอกาส

ดังนั้น ความหมายของ “โอกาส” ก็คือ –

1 ที่ว่าง, ช่องว่าง, ที่โล่งแจ้ง, บรรยากาศ, อวกาศ

2 การมองเห็นได้, รูปร่าง

3 วาระ, จังหวะ, การตกลง, ความยินยอม (= อนุญาตให้-)

4 (คุณศัพท์) มองดูเหมือน-, ดูปรากฏว่า-

พจน.42 บอกความหมายในภาษาไทยว่า “โอกาส : ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ

คำนี้สันสกฤตเป็น “อวกาศ” ไทยเขียนตามบาลีเป็น “โอกาส

ระวัง ! ใช้ เสือ สะกด ไม่ใช่ ศาลา

: ความหมายหลักของ “โอกาส” คือ “ว่าง

: หัวใจว่างเมื่อไร โอกาส-ก็ได้เมื่อนั้น

บาลีวันละคำ (399)

18-6-56

โอกาส = โอกาส, ช่องว่าง, ที่แจ้ง (ศัพท์วิเคราะห์)

อวกสฺสติ เอตฺถาติ โอกาโส ช่องเป็นที่ไถลง

อว บทหน้า กส ธาตุ ในความหมายว่าไถ ณ ปัจจัย พฤทธิ์ โอ เป็น อว ทีฆะ อ เป็น อา

โอกาส (บาลี-อังกฤษ)

๑ ทัศนวิสัย, ระยะเห็นได้ (visible space ศัพท์เรขาคณิต), ที่ว่าง, บรรยากาศ, อวกาศ “visibility”, (visible) space as geometrical term, open space, atmosphere, air as space

๒ การมองเห็นได้, รูปร่าง,(คุณ.) มองดูเหมือน, ดูปรากฏว่า “visibility”, i. e. appearance, as adj. looking like, appearing.

๓ โอกาส, วาระ, จังหวะ, การตกลง, ความยินยอม (= อนุญาตให้-), มติ  occasion, chance, opportunity, permission, consent, leave

โอกาส ป.

โอกาส, ช่อง, ที่ว่าง; การอนุญาต; การปรากฏ.

โอกาสกมฺม นป.

การอนุญาต, การให้โอกาส.

โอกาส

ช่อง, ที่ว่าง, ทาง, เวลาที่เหมาะ, จังหวะ;

ในวิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์มีระเบียบว่า ก่อนจะกล่าวคำโจทนาคือคำฟ้องขึ้นต่อหน้าสงฆ์ โจทก์พึงขอโอกาสต่อจำเลย

คำขอโอกาสว่า

        “กโรตุ เม อายสฺมา โอกาสํ, อหนฺตํ วตฺตุกาโม”

        แปลว่า “ขอท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวกะท่าน”

        ถ้าโจทโดยไม่ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ คำให้โอกาส ท่านไม่ได้แสดงไว้ อาจใช้ว่า

        “กโรมิ อายสฺมโต โอกาสํ” แปลว่า “ข้าพเจ้าทำโอกาสแก่ท่าน”;

        ภิกษุพร้อมด้วยองค์ ๕ แม้จะขอให้ทำโอกาสก็ไม่ควรทำ (คือไม่ควรให้โอกาส) กล่าวคือ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ถูกซักเข้า ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซัก,

        องค์ ๕ อีกหมวดหนึ่งว่า เป็นอลัชชี เป็นพาล มิใช่ปกตัตตะ กล่าวด้วยปรารถนาจะกำจัด มิใช่เป็นผู้มีความปรารถนาในอันให้ออกจากอาบัติ

โอกาสโลก

โลกอันกำหนดด้วยโอกาส, โลกอันมีในอวกาศ, โลกซึ่งเป็นโอกาสแก่สัตว์ทั้งหลายที่จะอยู่อาศัย, โลกคือแผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย, จักรวาล (ข้อ ๓ ในโลก ๓)

โอกาส

  [-กาด] น. ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ. (ป.; ส. อวกาศ).

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย