บาลีวันละคำ

มุฏฐสัจจะ (บาลีวันละคำ 3,625)

มุฏฐสัจจะ

ภาพลวงตาของผู้ที่ไม่ได้เรียนบาลี

อ่านว่า มุด-ถะ-สัด-จะ

มุฏฐสัจจะ” เขียนแบบบาลีเป็น “มุฏฺฐสจฺจ” (มุฏฺ– มีจุดใต้ ) อ่านว่า มุด-ถะ-สัด-จะ รูปคำเดิมมาจาก มุฏฺฐ + สติ 

(๑) “มุฏฺฐ” 

อ่านว่า มุด-ถะ รากศัพท์มาจาก มุสฺ (ธาตุ = หลงลืม) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น ฏฺฐ (หรือจะว่า ลบที่สุดธาตุ แล้วแปลง เป็น ฏฺฐ ก็ได้)

: มุสฺ + = มุสต > มุฏฺฐ 

: มุสฺ + = มุสต > มุต > มุฏฺฐ

แปลตามศัพท์ว่า “หลงแล้ว” ใช้เป็นกริยาและคุณศัพท์ หมายถึง ลืม, ผู้ลืม (having forgotten, one who forgets)

(๒) “สติ” 

รากศัพท์มาจาก สรฺ (ธาตุ = คิด, ระลึก; เบียดเบียน) + ติ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (สรฺ > )

: สรฺ + ติ = สรติ > สติ แปลตามศัพท์ว่า (1) “กิริยาที่ระลึกได้” (2) “ธรรมชาติเป็นเหตุให้ระลึกได้” (3) “ผู้เบียดเบียนความประมาท” 

สติ” (อิตถีลิงค์) หมายถึง ความระลึกได้, การจำได้, สติ; ความตั้งใจ, การมีใจตื่นอยู่, ความตระหนัก, ความระมัดระวัง, ความเข้าใจ, การครองสติ, มโนธรรม, ความมีสติถึงตนเอง (memory, recognition, consciousness, intentness of mind, wakefulness of mind, mindfulness, alertness, lucidity of mind, self-possession, conscience, self-consciousness)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

สติ : (คำนาม) ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).”

มุฏฺฐ + สติ = มุฏฺฐสติ (มุด-ถะ-สะ-ติ) แปลว่า “สติที่หลงลืม” หมายถึง หลงลืมสติ

โปรดทราบว่า “มุฏฺฐสติ” อาจสะกดเป็น “มุฏฺฐสฺสติ” ก็ได้ คือ ซ้อน สฺ ระหว่างคำ (มุฏฺฐ + สฺ + สติ = มุฏฺฐสฺสติ

มุฏฺฐสติ” กลายเป็น “มุฏฺฐสจฺจ” ได้อย่างไร? 

กรรมวิธีทางไวยากรณ์ก็คือ มุฏฺฐสติ + ณฺย ปัจจัย, ลบ (ณฺย > ), ลบสระหน้า คือ อิ ที่ (ส)-ติ (สติ > สต), แปลง ตฺย (คือ ที่ –ส กับ ที่ลบ ณฺ ออกแล้ว) เป็น จฺจ 

: มุฏฺฐสติ + ณฺย = มุฏฺฐสติณฺย > มุฏฺฐสตณฺย > มุฏฺฐสตย > มุฏฺฐสจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งบุคคลผู้หลงลืมสติ

โปรดสังเกตว่า –

รูปคำ “-สจฺจ” เกิดจาก – สติ > สต + แปลง ตฺ กับ เป็น จฺจ ไม่ใช่ “สจฺจ” ที่แปลว่า ความจริง 

ผู้ไม่ได้เรียนบาลีเห็นรูปคำ “-สจฺจ” ก็จะเข้าใจว่าเป็น “สจฺจ” ที่แปลว่า ความจริง นี่คือภาพที่ลวงคนไม่ได้เรียนบาลีให้หลง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “มุฏฺฐสจฺจ” ว่า “forgotten-mindedness” (“ความมีใจหลงลืม”), forgetfulness (ความหลงลืม) 

โปรดสังเกตว่า ไม่มีคำแปลที่เกี่ยวข้องกับ true หรือ truth อยู่ด้วยเลย

มุฏฺฐสจฺจ” เขียนแบบไทยเป็น “มุฏฐสัจจะ

ขยายความ :

ในคัมภีร์อธิบายความหมายของ “มุฏฐสัจจะ” ไว้ดังนี้ –

…………..

มุฏฺฐสจฺจนฺติ  สติวิปฺปวาโส  ฯ

คำว่า “มุฏฐสัจจะ” หมายถึง การอยู่อย่างขาดสติ

ยถาห

สมดังที่ท่านกล่าวไว้ (ในคัมภีร์ธรรมสังคณี อภิธรรมปิฎก 34/864) ว่า –

ตตฺถ  กตมํ  มุฏฺฐสจฺจํ  ฯ

บรรดาธรรมเหล่านั้น มุฏฐสัจจะคืออะไร

ยา  อสติ

คือ ไม่มีสติ

อนนุสฺสติ

ระลึกตามไปไม่ได้

อปฺปฏิสฺสติ  ฯ

ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้

อสติ

นึกไม่ออก

อสรณตา  ฯ

คิดไม่เห็น

อธารณตา

จำไม่ได้

ปิลาปนตา

ฟั่นเฟือน

สมฺมุสฺสนตา  ฯ

หลงลืม

อิทํ  วุจฺจติ  มุฏฺฐสจฺจนฺติ  ฯ

นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ

ที่มา: สุมังคลวิลาสินี ภาค 3 หน้า 276 (อรรถกถาสังคีติสูตร)

…………..

แถม :

นอกจาก “มุฏฐสัจจะ” แล้ว ยังมี “พาหุสัจจะ” อีกคำหนึ่งที่เป็นภาพลวงตาของผู้ที่ไม่ได้เรียนบาลี 

เจ้าสำนักชื่อดังท่านหนึ่งท่านชอบยกคำบาลีที่อิงธรรมะขึ้นมาแปล เช่น “ตัณหา” ท่านแปลว่า “หาไม่เจอ” คือ “หา” สิ่งต่างๆ ไปตามความอยาก แต่หาไปๆ แล้วไปเจอทาง “ตัน” ไปต่อไม่ได้ ก็เลยหาไม่เจอ

พาหุสัจจะ” เจ้าสำนักนั้นท่านแปลว่า “มีความจริงมาก” 

พาหุ” คือ “มาก

สัจจะ” คือ “ความจริง

ท่านเข้าใจว่าเป็นอย่างนี้

ความจริงก็คือ “สัจจะ” ในคำว่า “พาหุสัจจะ” นี้ เป็นคนละคำกับ “สัจจะ” ที่แปลว่า ความจริง แบบเดียวกับ “มุฏฐสัจจะ” นั่นเอง

พาหุสัจจะ” แปลว่า ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมามาก หรือความคงแก่เรียน ไม่ต้องเอาไปเกี่ยวข้องกับ “สัจจะ” ที่แปลว่า ความจริงนั่นเลย

มุฏฐสัจจะ” แปลว่า ความเป็นผู้หลงลืมสติ หรือความฟั่นเฟือน ก็ไม่ต้องเอาไปเกี่ยวข้องกับ “สัจจะ” ที่แปลว่า ความจริงเช่นเดียวกัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: บาลีไม่หลอกใคร

: ไม่เรียนรู้ให้เข้าใจจึงหลอกตัวเอง

#บาลีวันละคำ (3,625)

16-5-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *