บาลีวันละคำ

จันดะโชโต (บาลีวันละคำ 3,629)

จันดะโชโต

คำบาลีที่ต้องมีคำอธิบาย

อ่านตรงตัวว่า จัน-ดะ-โช-โต

ประกอบด้วยคำว่า จันดะ + โชโต

(๑) “จันดะ” 

บาลีเป็น “จนฺท” อ่านว่า จัน-ทะ รากศัพท์มาจาก –

(1) จทิ (ธาตุ = ยินดี, พอใจ, รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุ, แปลงนิคหิตเป็น นฺ, ลบสระที่สุดธาตุ

: จทิ > จํทิ > จนฺทิ > จนฺท + = จนฺท แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ยังสัตว์โลกให้พอใจ” (คือเมื่อเห็นแล้วผู้คนก็ชื่นใจ พอใจ) (2) “ผู้รุ่งเรืองด้วยสิริ” (คือมีแสงสว่างผ่องใส)

(2) ฉนฺท (ความพอใจ) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น

: ฉนฺท + = ฉนฺทก > ฉนฺท > จนฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังความพอใจให้เกิด” 

จนฺท” (ปุงลิงค์) หมายถึง ดวงจันทร์ (the moon) คำไทยเรียก “เดือน”

บาลี “จนฺท” สันสกฤตเป็น “จนฺทฺร” (จัน-ทฺระ) ภาษาไทยนิยมใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “จันทร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

จันทร-, จันทร์ : (คำนาม) ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “จันท์” ตามรูปคำบาลีไว้ด้วย บอกไว้ดังนี้ –

จันท์ : (คำแบบ)  (คำนาม) จันทร์, ดวงเดือน. (ป.; ส. จนฺทฺร).”

“คำแบบ” หมายถึง คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป

ในที่นี้ใช้ตามรูปคำบาลี แต่เขียนเป็น “จันดะ” (ดูคำอธิบายข้างหน้า)

(๒) “โชโต” 

อ่านว่า โช-โต รูปคำเดิมเป็น “โชต” อ่านว่า โช-ตะ รากศัพท์มาจาก ชุตฺ (ธาตุ = สว่าง, รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย, แผลง อุ ที่ ชุ-(ตฺ) เป็น โอ (ชุตฺ > โชต

: ชุตฺ + = ชุต > โชต (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ส่องลางดีลางร้าย” (2) “ผู้สว่าง” “ผู้รุ่งเรือง” หมายถึง มีแสงสว่าง, ให้แสงสว่าง; อธิบาย (illuminating, making light; explaining)

จนฺท + โชต = จนฺทโชต (จัน-ทะ-โช-ตะ) แปลว่า “ผู้รุ่งเรืองดังดวงจันทร์” 

จนฺทโชต” ใช้เป็นนามฉายา (ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท) ของภิกษุ (ภิกฺขุ)

คำว่า “ภิกฺขุ” ในภาษาบาลีเป็นวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) ปุงลิงค์ เอกวจนะ ในบาลีไวยากรณ์มีกฎว่า คำที่ทำหน้าที่ขยายความ ต้องมีวิภัตติ ลิงค์ วจนะ ตามคำที่ตนขยาย ดังนั้น คำว่า “จนฺทโชต” จึงต้องแจกรูปเป็นวิภัตตินามที่หนึ่ง ปุงลิงค์ เอกวจนะ ตามไปด้วย เปลี่ยนรูปเป็น “จนฺทโชโต” (จัน-ทะ-โช-โต)

ขยายความ :

จนฺทโชโต” เขียนแบบคำอ่านเป็น “จันทะโชโต

แล้ว “จันดะโชโต” มาจากไหน?

จันดะโชโต” มาจากการออกเสียงคำบาลี 

เพื่อไม่ให้ฟั่นเฝือ ขอยกมาแสดงเพียง 2 คำ คือ –

พยัญชนะบาลีที่เขียนเป็นอักษรไทยใช้ ท ทหาร บาลีออกเสียงเป็น ด เด็ก เช่นคำว่า “ทุกฺข” บาลีออกเสียงว่า ดุก-ขะ

พยัญชนะบาลีที่เขียนเป็นอักษรไทยใช้ พ พาน บาลีออกเสียงเป็น บ ใบไม้ เช่น “พล” บาลีออกเสียงเป็น บะ-ละ

ถ้าดูหลักการถอดคำบาลีเป็นอักษรโรมันซึ่งตกลงยอมรับกันทั่วโลก ก็จะเห็นชัดขึ้น กล่าวคือ –

พยัญชนะบาลีที่เขียนเป็นอักษรไทยใช้ ท ทหาร อักษรโรมันใช้ D = ด

พยัญชนะบาลีที่เขียนเป็นอักษรไทยใช้ พ พาน อักษรโรมันใช้ B = บ

ทุกฺข = Dukkha

พล = Bala

เพราะฉะนั้น “จนฺทโชโต” อ่านตามเสียงบาลีจึงเป็น จัน-ดะ-โช-โต

จนฺทโชโต” แม้จะออกเสียงเป็น จัน-ดะ-โช-โต แต่เมื่อเขียนเป็นอักษรไทย ก็ต้องยึดหลักการถอดคำบาลีเป็นอักษรไทย นั่นคือ –

พยัญชนะบาลีที่ออกเสียงเป็นตัว D อักษรไทยใช้ ท ทหาร 

พยัญชนะบาลีที่ออกเสียงเป็นตัว B อักษรไทยใช้ พ พาน

นามฉายาคำนั้น เมื่อเขียนเป็นอักษรไทย จึงต้องเขียนเป็น “จนฺทโชโต” หรือ “จันทะโชโต” 

แต่ใครจะอ่านเสียงเป็น จัน-ดะ-โช-โต ก็อ่านได้ เพราะเป็นการอ่านตามเสียงบาลี แต่จะเขียนเป็น “จันดะโชโต” ใช้ ด เด็ก แทน ทหาร ดังที่ยกมาเสนอไว้นี้หาชอบไม่ เพราะผิดต่อหลักการถอดคำบาลีเป็นอักษรไทย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่าติดสมมุติ

: แต่ก็อย่าผิดสมมุติ

#บาลีวันละคำ (3,629)

20-5-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *