บาลีวันละคำ

โลกามิส (บาลีวันละคำ 2480)

โลกามิส

เหยื่อของโลก

อ่านว่า โล-กา-มิด

ประกอบด้วยคำว่า โลก + อามิส

(๑) “โลก

บาลีอ่านว่า โล-กะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ลุชฺ (ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น , แผลง อุ ที่ ลุ-(ชฺ) เป็น โอ

: ลุชฺ + = ลุชณ > ลุช > โลช > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะพินาศไป

(2) ลุจฺ (ธาตุ = ย่อยยับ, พินาศ) + ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น , แผลง อุ เป็น โอ

: ลุจฺ + = ลุจ > ลุก > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะย่อยยับไป

(3) โลกฺ (ธาตุ = เห็น, ปรากฏ, ตั้งอยู่) + ปัจจัย

: โลกฺ + = โลก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างอันเขาเห็นอยู่” (2) “ร่างเป็นที่ตั้งอยู่แห่งบุญบาปและผลแห่งบุญบาปนั้น

โลก” (ปุงลิงค์) มีความหมายหลายหลาก เช่น โลก, แผ่นดิน, จักรวาล, คน, มนุษยชาติ, ประชาชน, สัตว์ (world, earth, universe, man, mankind, people, beings)

ขยายความ :

1 โลก หมายถึง ดินแดน แผ่นดิน วัตถุธาตุ หรือดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง คือโลกที่เรามองเห็นและอาศัยอยู่นี้ รวมทั้งดาวดวงอื่น

2 โลก หมายถึง สิ่งมีชีวิต เช่นคน สัตว์ เช่นในคำว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

3 โลก หมายถึง สังคม หมู่ชน ชุมชน เช่นในคำว่า โลกติเตียน เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

4 โลก หมายถึง ชีวิต อันประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ของแต่ละคน ที่สำนวนเก่าเรียกว่า “โลกคือกายยาววา หนาคืบ กว้างศอก”

5 โลก หมายถึงวิสัยหรือธรรมดาของโลก เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย พบ พราก ได้ เสีย อิ่ม อด สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์

6 โลก หมายถึง ค่านิยม ความคิดจิตใจ ความประพฤติแบบหนึ่ง ที่ตรงกันข้ามกับ “ธรรม” เช่น ดื่ม กิน เที่ยว เสพสุข เป็น “โลก” สงบ สำรวม ควบคุมขัดเกลาตนเอง เป็น “ธรรม

(๒) “อามิส

บาลีอ่านว่า อา-มิ-สะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อา (แทนศัพท์ “อนฺโต” = ภายใน ตัดมาเฉพาะ “” แล้วทีฆะเป็น “อา”) + มิ (ธาตุ = ใส่) + สก ปัจจัย ลบ

: > อา + มิ = อามิ + สก = อามิสก > อามิส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ใส่ไว้ภายใน” (คือใส่ไว้ล่อ)

(2) อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + มสฺ (ธาตุ = จับต้อง) + ปัจจัย, แปลง อะ ที่ -(ส) เป็น อิ (มส > มิส)

: อา + มสฺ = อามส + = อามส > อามิส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันความตายจับต้อง

อามิส” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เนื้อสด (raw meat)

(2) ดิบ, ไม่ได้ตระเตรียม, ไม่มีการปลูกฝัง (raw, unprepared, uncultivated)

(3) มีเนื้อ, วัตถุ, อามิส (fleshy, material, physical)

(4) อาหาร, อาหารที่ถูกปาก, อาหารสำหรับกินเพื่อความเอร็ดอร่อย, อาหารอันโอชะ (food, palatable food, food for enjoyment, dainties

(5) เหยื่อ (bait)

(6) ลาภ, รางวัล, เงิน, สินบน, เงินรางวัล, การให้รางวัล (gain, reward, money, douceur, gratuity, tip)

(7) ความเพลิดเพลิน (enjoyment)

(8) ความโลภ, ความอยากได้, ตัณหา (greed, desire, lust)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อามิษ, อามิส, อามิส– : (คำนาม) สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจมีเงินเป็นต้น, เช่น อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง. (ส. อามิษ; ป. อามิส).”

โลก + อามิส = โลกามิส บาลีอ่านว่า โล-กา-มิ-สะ แปลว่า “เหยื่อในโลก” “เหยื่อของโลก” หมายถึง ประโยชน์ทางโลกีย์, เครื่องล่อของสัตว์โลก (worldly gain, bait of the flesh)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โลกามิส : (คำนาม) เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส. (ป. โลก + อามิส).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต มีคำว่า “โลกามิษ” บอกไว้ดังนี้ –

โลกามิษ : เหยื่อแห่งโลก, เครื่องล่อ ที่ล่อให้ติดอยู่ในโลก, เครื่องล่อใจให้ติดในโลก ได้แก่ ปัญจพิธกามคุณ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ; โลกามิส ก็เขียน.”

…………..

ดูก่อนภราดา!

ตำแหน่งทางการเมืองท่านว่าเป็น “โลกามิส” ชนิดหนึ่ง

: แบ่งกันกิน ได้กินทุกคน

: แย่งกันกิน (ระวังจะ) อดกินทุกคน

#บาลีวันละคำ (2,480)

28-3-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *