บาลีวันละคำ

อัปปมาณสุภา (บาลีวันละคำ 3,521)

อัปปมาณสุภา

รูปพรหมชั้นที่แปด

อ่านว่า อับ-ปะ-มา-นะ-สุ-พา เขียนแบบบาลีเป็น “อปฺปมาณสุภา” แยกศัพท์เป็น อปฺปมาณ + สุภา

(๑) “อปฺปมาณ

อ่านว่า อับ-ปะ-มา-นะ ประกอบด้วย + ปมาณ

(ก) “” บาลีอ่านว่า อะ (ไม่ใช่ ออ) คำเดิมคือ “” (นะ) เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ 

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า “ ไม่ โน ไม่ มา อย่า เทียว” ( [นะ] = ไม่, โน = ไม่, มา = อย่า, [วะ] = เทียว

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(ข) “ปมาณ” บาลีอ่านว่า ปะ-มา-นะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + มา (ธาตุ = นับ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น  

: + มา = ปมา + ยุ > อน = ปมาน > ปมาณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การนับ” “วิธีอันเขานับ

ปมาณ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เครื่องวัด, ขนาด, จำนวน (measure, size, amount)

(2) เครื่องวัดเวลา, เข็มทิศ, ความยาว, ระยะเวลา (measure of time, compass, length, duration)

(3) อายุ = “โลกิยลักษณะ” (age = “worldly characteristic”)

(4) ขอบเขต (limit)

(5) มาตรฐาน, บทนิยาม, คำบรรยายลักษณะ, มิติ (standard, definition, description, dimension)

บาลี “ปมาณ” สันสกฤตเป็น “ปฺรมาณ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปฺรมาณ : (คำนาม) ‘ประมาณ,’ มูล, เหตุ; เขตต์; พิสูจน์, หลักฐาน, อธิการหรือศักติ์; ปริมาณ, กำหนดมากน้อย; เวทหรือธรรมศาสตร์; ผู้กล่าวความจริง; นามพระวิษณุ; cause, motive; limit; proof, testimony, authority; measure, quantity; a scripture or work of sacred authority; speaker of the truth; a title of Vishṇu; – ค. นิตย์, นิรันดร; มุขย์, มหัตหรือมหันต์; eternal; principal, capital.”

บาลี “ปมาณ” ในภาษาไทยใช้เป็น “ประมาณ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประมาณ : (คำกริยา) กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจำนวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่น เขาประมาณราคาค่าก่อสร้างบ้านไว้ ๓ ล้านบาท. (คำวิเศษณ์) ราว ๆ เช่น ประมาณ ๓-๔ เดือน. (ส. ปฺรมาณ; ป. ปมาณ).”

พจนานุกรมฯ ไม่ได้เก็บคำว่า “ปมาณ” ไว้ เป็นอันว่าคำนี้ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ประมาณ” 

ในที่นี้ใช้ตามรูปบาลีเป็น “ปมาณ

การประสมคำ :

+ ปมาณ

ตามกฎไวยากรณ์บาลี : 

(1) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ท่านให้แปลง “” เป็น “” (อะ)

(2) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ท่านให้แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

ในที่นี้ “ปมาณ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ดังนั้นจึงต้องแปลง “” เป็น “

: + ปมาณ = อปมาณ ซ้อน ปฺ ระหว่างนิบาตกับคำนาม 

: > + ปฺ + ปมาณ = อปฺปมาณ (อับ-ปะ-มา-นะ) แปลว่า “สิ่งที่นับไม่ได้” 

อปฺปมาณ” ในบาลี ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) “ประมาณไม่ได้”, วัดไม่ได้, ไม่มีที่สิ้นสุด, ไม่มีขอบเขต, ไม่มีวงจำกัด, แผ่ไปทั่ว (“without measure”, immeasurable, endless, boundless, unlimited, unrestricted all-permeating)

(2) “ไม่มีความแตกต่างกัน”, ไม่อยู่ในประเด็น, โดยทั่ว ๆ ไป (“without difference”, irrelevant, in general)

(๒) “สุภา

รูปคำเดิมเป็น “สุภ” อ่านว่า สุ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สุ (คำอุปสรรค = ดี,งาม) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบสระที่สุดธาตุ (ภา > )

: สุ + ภา = สุภา + กฺวิ = สุภากฺวิ > สุภา > สุภ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่รุ่งเรืองด้วยดี

(2) สุภฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย

: สุภฺ + = สุภ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งดงาม

(3) สุ (คำอุปสรรค = ดี,งาม) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบสระที่สุดธาตุ (ภู > )

: สุ + ภู = สุภู + กฺวิ = สุภูกฺวิ > สุภู > สุภ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นโดยสภาวะที่งดงาม

สุภ” ใช้เป็นคุณศัพท์หมายถึง –

(1) เจิดจ้า, สว่าง, งดงาม (shining, bright, beautiful) 

(2) ได้ฤกษ์, โชคดี, น่าพึงใจ (auspicious, lucky, pleasant) 

สุภ” ใช้เป็นคำนามหมายถึง สวัสดิภาพ, ความดี, ความพึงใจ, ความสะอาด, ความสวยงาม, สุขารมณ์ (welfare, good, pleasantness, cleanliness, beauty, pleasure)

บาลี “สุภ” สันสกฤตเป็น “ศุภ” (ศุ ศาลา)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) ศุภ : (คำวิเศษณ์) เปนสุขหรือมีสุข, มีโชคหรือเคราะห์ดี, มีหรือเป็นมงคล; งาม; วิศิษฏ์; คงแก่เรียน; happy, fortunate, auspicious; handsome, beautiful; splendid; learned. 

(2) ศุภ : (คำนาม) มงคล; ศุภโยค, โชคหรือเคราะห์ดี; สุข; นักษัตรโยคอันหนึ่ง; คณะเทพดา; ข้าวหลาม; อาภา; โสภาหรือความงาม; auspiciousness; good junction or consequence, good fortune; happiness; one of the astronomical Yogas; an assemblage of the gods; bamboo-manna; light; beauty.

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “ศุภ” (ศ ศาลา) ของสันสกฤต และ “สุภ” (ส เสือ) ของบาลี บอกความหมายไว้เหมือนกันว่า “ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ”

ในที่นี้สะกดตามรูปบาลีเป็น “สุภ

อปฺปมาณ + สุภ = อปฺปมาณสุภ (อับ-ปะ-มา-นะ-สุ-พะ) แปลว่า “ผู้มีความงดงามนับไม่ได้” 

คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังคปกรณ์ อภิธรรมฺปิฎก ตอนธัมมหทยวิภังคนิทเทส หน้า 835 กระจายศัพท์ให้เห็นที่มาของชื่อนี้ว่า 

…………..

อปฺปมาณา  สุภา  เอเตสนฺติ  อปฺปมาณสุภา  ฯ

แปลว่า ความงามของพรหมเหล่านี้นับไม่ได้ ดังนั้น จึงชื่อว่า อปฺปมาณสุภา = ผู้มีความงดงามนับไม่ได้ 

…………..

ในภาษาบาลี “อปฺปมาณสุภ” ใช้เป็นคุณศัพท์ขยายคำว่า “เทวา” (เทวดาทั้งหลาย) จึงเปลี่ยนรูปเป็น “อปฺปมาณสุภา

อปฺปมาณสุภา” ในที่นี้ใช้ในภาษาไทยเป็น “อัปปมาณสุภา” คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

อภิปรายขยายความ :

อัปปมาณสุภา” เป็นชื่อของพรหมชั้นที่ 8 ในรูปาวจรภูมิซึ่งมีทั้งหมด 16 ชั้น พรหม “อัปปมาณสุภา” เป็นพรหมระดับตติยฌาน (ในการเจริญฌานแบบจตุกนัย) หรือระดับจตุตถฌาน (ในการเจริญฌานแบบปัญจกนัย) ซึ่งมี 3 จำพวก คือ ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา และสุภกิณหา

…………..

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย ตอนอธิบายมหานิทานสูตร อธิบายเรื่องพรหม 3 จำพวกที่เกิดด้วยอำนาจตติยฌานหรือจตุตถฌานเหมือนกัน คือ พรหมปริตตสุภา พรหมอัปปมาณสุภา และ พรหมสุภกิณหา เปรียบเทียบกันดังนี้ –

…………..

ปญฺจกนเย  ปน  ปริตฺตมชฺฌิมปณีตสฺส  จตุตฺถชฺฌานสฺส  วเสน  โสฬสทฺวตฺตึสจตุสฏฺฐิกปฺปายุกา  ปริตฺตสุภา  อปฺปมาณสุภา  สุภกิณฺหา  นาม  หุตฺวา  นิพฺพตฺตนฺติ  ฯ

แต่ในการเจริญฌานแบบปัญจกนัย ผู้เจริญจตุตถฌานระดับเล็กน้อยมาเกิด ชื่อว่าพรหมปริตตสุภา มีอายุ 16 กัป

ผู้เจริญจตุตถฌานระดับปานกลางมาเกิด ชื่อว่าพรหมอัปปมาณสุภา มีอายุ 32 กัป

ผู้เจริญจตุตถฌานระดับประณีตมาเกิด ชื่อว่าพรหมสุภกิณหา มีอายุ 64 กัป

อิติ  สพฺเพปิ  เต  เอกตฺตกายา  เจว  จตุตฺถชฺฌานสญฺญาย  เอกตฺตสญฺญิโน  จาติ  เวทิตพฺพา  ฯ

พึงทราบว่า พรหมเหล่านั้นทั้งหมดมีรูปกายเหมือนกัน และเมื่อว่าตามสัญญาในจตุตถฌานก็มีสัญญา (คือความรู้สึกนึกคิดจำได้หมายรู้สิ่งต่างๆ) เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้

ที่มา: สุมังคลวิลาสินี ภาค 2 หน้า 179

…………..

สรุปว่า พรหมอัปปมาณสุภาคือผู้เจริญจตุตถฌานระดับปานกลางมาเกิด เป็นพรหมชั้นที่ 8 ในรูปาวจรภูมิ มีอายุยืนยาว 32 กัป 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความงามไม่ใช่ความดีเสมอไป

: แต่ความดีเป็นความงามเสมอ

#บาลีวันละคำ (3,521)

1-2-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *