บาลีวันละคำ

ปริตตาภา (บาลีวันละคำ 3,517)

ปริตตาภา

รูปพรหมชั้นที่สี่

อ่านว่า ปะ-ริด-ตา-พา เขียนแบบบาลีเป็น “ปริตฺตาภา” (มีจุดใต้ เต่า ตัวหน้า) แยกศัพท์เป็น ปริตฺต + อาภา

(๑) “ปริตฺต” 

อ่านว่า ปะ-ริด-ตะ มี 2 ความหมาย คือ –

(ก) “ปริตฺต” นัยหนึ่ง รากศัพท์มาจาก –

(1) ปริ (คำอุปสรรค = รอบด้าน) + อตฺต (สิ่งที่แตกเป็นชิ้นเล็กๆ

: ปริ + อตฺต = ปริตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่แตกไปโดยรอบ” 

(2) ปริ (คำอุปสรรค = รอบด้าน) + ทา (ธาตุ = ขาดตอน) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ทา > ), แปลง เป็น , ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (ปริ + ตฺ + ทา)

: ปริ + ตฺ + ทา = ปริตฺทา > ปริตฺตา > ปริตฺต + = ปริตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่ขาดไปโดยรอบ” 

ปริตฺต” (นปุงสกลิงค์) ตามรากศัพท์นี้หมายถึง เล็ก, เล็กน้อย, ด้อยกว่า, ไม่ว่าสำคัญ, จำกัด, นิดหน่อย, นิดเดียว (small, little, inferior, insignificant, limited, of no account, trifling)

(ข) “ปริตฺต” อีกนัยหนึ่ง รากศัพท์มาจาก ปริ (คำอุปสรรค = รอบด้าน) + ตา (ธาตุ = ป้องกัน) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ตา > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (ปริ + ตฺ + ตา)

: ปริ + ตฺ + ตา = ปริตฺตา > ปริตฺต + = ปริตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ป้องกันภัยเป็นต้นให้แก่สัตว์รอบด้าน” 

ปริตฺต” ตามรากศัพท์นี้หมายถึง การป้องกัน, การรักษาให้ปลอดภัย; ของขลังสำหรับป้องกันตัว, ของที่ช่วยบรรเทา, เครื่องราง (protection, safeguard; protective charm, palliative, amulet)

ในที่นี้ “ปริตฺต” ใช้ในความหมายตามนัยแรก คือ เล็กน้อย, ด้อยกว่า

ปริตฺต” ในความหมายนี้ภาษาไทยใช้เป็น “ปริต” “ปริต-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “ปริตตะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ปริต, ปริต-, ปริตตะ : (คำวิเศษณ์) น้อย. (ป. ปริตฺต; ส. ปรีตฺต).”

ในที่นี้มีคำว่า “อาภา” มาสมาสข้างท้าย แต่สะกดเป็น “ปริตต-” ( เต่า 2 ตัว)

(๒) “อาภา” 

อ่านว่า อา-พา รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ

: อา + ภา = อาภา + กฺวิ = อาภากฺวิ > อาภา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่รุ่งเรืองอย่างยิ่ง” หมายถึง การส่องแสง, ความงดงาม, ความรุ่งโรจน์, แสงสว่าง (shine, splendour, lustre, light)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อาภา : (คำนาม) แสง, รัศมี, ความสว่าง. (ป., ส.).”

ปริตฺต + อาภา = ปริตฺตาภา แปลว่า “ผู้มีความรุ่งโรจน์เพียงเล็กน้อย” 

ในภาษาบาลี “ปริตฺตาภา” รูปคำเดิมเป็น “ปริตฺตาภ” ใช้เป็นคุณศัพท์ขยายคำว่า “เทวา” (เทวดาทั้งหลาย) เปลี่ยนรูปเป็น “ปริตฺตาภา

ปริตฺตาภา” ในที่นี้ใช้ในภาษาไทยเป็น “ปริตตาภา” (ไม่มีจุดใต้ เต่า ตัวหน้า) คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

อภิปรายขยายความ :

ปริตตาภา” เป็นชื่อของพรหมชั้นที่ 4 ในรูปาวจรภูมิซึ่งมีทั้งหมด 16 ชั้น พรหม “ปริตตาภา” เป็นพรหมระดับทุติยฌาน กล่าวคือผู้บำเพ็ญฌานถึงระดับทุติยฌานดับขันธ์แล้วไปเกิดเป็นพรหมระดับนี้ ซึ่งมีอยู่ 3 จำพวก คือ พรหมปริตตาภา พรหมอัปปมาณาภา และ พรหมอาภัสระ หรือจะเรียกว่า ปริตตาภาพรหม อัปปมาณาภาพรหม และ อาภัสรพรหม ก็ได้

…………..

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย ตอนอธิบายมหานิทานสูตร อธิบายเรื่องพรหม 3 จำพวกที่เกิดด้วยอำนาจทุติยฌานเหมือนกัน คือ พรหมปริตตาภา พรหมอัปปมาณาภา และ พรหมอาภัสระ เปรียบเทียบกันดังนี้ –

…………..

เตสุ  จตุกฺกปญฺจกนเยสุ  ทุติยตติยชฺฌานทฺวยํ  ปริตฺตํ  ภาเวตฺวา  อุปปนฺนา  ปริตฺตาภา  นาม  โหนฺติ  ฯ

บรรดาพรหมเหล่านั้น ผู้เจริญฌานนิดหน่อย คือทุติยฌานและตติยฌานในจตุกนัยและปัญจกนัยมาเกิด ชื่อว่าพรหมปริตตาภา

เตสํ  เทฺว  กปฺปา  อายุปฺปมาณํ  ฯ

พรหมปริตตาภานั้นมีกำหนดอายุ 2 กัป

มชฺฌิมํ  ภาเวตฺวา  อุปปนฺนา  อปฺปมาณาภา  นาม  โหนฺติ  ฯ

ผู้เจริญทุติยฌานระดับปานกลางมาเกิด ชื่อว่าพรหมอัปปมาณาภา

เตสํ  จตฺตาโร  กปฺปา  อายุปฺปมาณํ  ฯ

พรหมอัปปมาณาภานั้นมีกำหนดอายุ 4 กัป

ปณีตํว  ภาเวตฺวา  อุปปนฺนา  อาภสฺสรา  นาม  โหนฺติ  ฯ  

ผู้เจริญทุติยฌานระดับประณีตแท้มาเกิด ชื่อพรหมอาภัสระ

เตสํ  อฏฺฐ  กปฺปา  อายุปฺปมาณํ ฯ

พรหมอาภัสระนั้นมีกำหนดอายุ 8 กัป

สพฺเพสํปิ  เตสํ  กาโย  เอกวิปฺผาโรว  โหติ  ฯ

รูปร่างของพรหมทั้ง 3 ชั้นเหล่านั้นมีความผึ่งผายเป็นอย่างเดียวกันแท้

สญฺญา  ปน  อวิตกฺกวิจารมตฺตา  วา  อวิตกฺกาวิจารา  วาติ  นานา ฯ

แต่ที่ต่างกันคือวิตกและวิจารอันเป็นองค์ฌานที่บำเพ็ญมา คือบางพวกไม่มีวิตก แต่มีวิจาร บางพวกไม่มีทั้งวิตกทั้งวิจาร 

ที่มา: สุมังคลวิลาสินี ภาค 2 หน้า 178-179

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนส่วนมากมัวแต่น้อยใจว่าทำบุญมาน้อย

: มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่เร่งทำบุญให้มากขึ้น

#บาลีวันละคำ (3,517)

28-1-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *