บาลีวันละคำ

มาตุรงค์-บิตุรงค์ (บาลีวันละคำ 426)

มาตุรงค์-บิตุรงค์

คำไทยที่สร้างขึ้นจากคำบาลี

อ่านว่า มา-ตุ-รง, บิ-ตุ-รง

มาตุรงค์ แปลว่า “แม่บิตุรงค์ แปลว่า “พ่อ

มาตุรงค์-บิตุรงค์ ไม่ใช่คำที่ใช้พูดจากันตามปกติ แต่นิยมใช้ในกาพย์กลอนซึ่งจำเป็นต้องหาคำมารับสัมผัส กวีจึงสร้างคำขึ้นเพื่อให้มีเสียงรับสัมผัสตามที่ต้องการ

มาตุรงค์” มาจาก มาตุ (มา-ตุ = แม่) + องฺค (อัง-คะ = องค์) เติม “” เข้าตรงกลางเพื่อให้เกิดรื่นไหลในการเปล่งเสียง (ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ลง (ระ) อาคม”) : มาตุ + + องฺค = มาตุรงฺค (มา-ตุ-รัง-คะ) เขียนแบบไทยเป็น “มาตุรงค์

องฺค” แปลว่า ส่วน, ส่วนของร่างกาย, ส่วนประกอบ แต่ในที่นี้ใช้ในฐานะเป็นส่วนประกอบของคำโดยไม่ทำให้มีความหมายเพิ่มขึ้น คือ “มาตุรงค์” คงแปลว่า “แม่” เท่าเดิม

บิตุรงค์” มาจาก ปิตุ (ปิ-ตุ = พ่อ) + องฺค = ปิตรงฺค เขียนแบบไทยเป็น “บิตุรงค์” ( ใบไม้ ไม่ใช่ ปลา) ใช้หลักเกณฑ์การสร้างคำเช่นเดียวกับ “มาตุรงค์

มาตุรงค์-บิตุรงค์ เป็นมรดกทางภาษาของภูมิปัญญาไทย

: สร้างคำขึ้นมาใช้ในที่เหมาะ

: รูปก็เพราะเสียงก็ดีมีความหมาย

: สร้างคนขึ้นมาใช้ไว้มากมาย

: น่าเสียดายคนดีดีมีไม่ใช้

————————

(ตามคำขอของ Grammarian Ruongthongdee)

บาลีวันละคำ (426)

15-7-56

Grammarian Ruongthongdee ๑๑ ก.ค.๕๖

อ.ครับ รบกวนขอคำอธิบาย คำว่า ปิตุรงค์ หน่อยครับ มันเกิดจากสนธิชนิดไหน อย่างไร ขอบคุณครับ

ปิตุ ๑ = พระพรหม (ศัพท์วิเคราะห์)

สพฺพโลกานํ ปิตุฏฺฐานิยตฺตา ปิตา ผู้ดำรงอยู่ในฐานะบิดาของชาวโลกทั้งปวง

สพฺพโลกํ ปาติ รกฺขตีติ ปิตา ผู้คุ้มครองชาวโลกทั้งปวง

ปา ธาตุ ในความหมายว่ารักษา, คุ้มครอง ริตุ ปัจจัย ลบ รฺ อนุพันธ์และสระหน้า ลง สิ วิภัตติ แปลง อุ กับ สิ เป็น อา

ปิตุ ๒ = บิดา

ปุตฺตํ ปาติ รกฺขตีติ ปิตา ผู้คุ้มครองบุตร

ปา ธาตุ ในความหมายว่ารักษา, คุ้มครอง ริตุ ปัจจัย ลบ รฺ อนุพันธ์และสระหน้า ลง สิ วิภัตติ แปลง อุ กับ สิ เป็น อา

ปุตฺตํ ปิยายตีติ ปิตา ผู้รักบุตร

ปิ ธาตุ ในความหมายว่ายินดี, ชอบใจ ริตุ ปัจจัย ลบ รฺ อนุพันธ์และสระหน้า ลง สิ วิภัตติ แปลง อุ กับ สิ เป็น อา

ปิตุ สันสกฤตเป็น ปิตฤ

มาตุ = มาตฤ

(สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน)

ปิตุ

  (แบบ) น. พ่อ. (ป.).

บิตุรงค์

  (กลอน) น. พ่อ. (ป. ปิตุ + องฺค).

มาตุ = มารดา,แม่ (ชนนี อมฺมา ชนิกา ชเนตฺตี) (ศัพท์วิเคราะห์)

ธมฺเมน ปุตฺตํ มาเนตีติ มาตา ผู้รักบุตรโดยธรรมชาติ

มาน ธาตุ ในความหมายว่ารัก, ทะนุถนอม ราตุ ปัจจัย ลบ ร อนุพันธ์ พยัญชนะที่สุดธาตุ และสระหน้า ลง สิ วิภัตติ แปลง อุ กับ สิ เป็น อา

ปาเยตีติ มาตา ผู้ยังบุตรให้ดื่มนม

ปา ธาตุ ในความหมายว่าดื่ม ตุ ปัจจัย แปลง ป เป็น ม ลง สิ วิภัตติ แปลง อุ กับ สิ เป็น อา

มาตุ อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

มารดา.

มาตุ (บาลี-อังกฤษ)

(อิต.) มารดา

มาตุ

  น. แม่. (ป.).

มาตุรงค์, มาตุเรศ

  (กลอน) น. แม่.

องค-, องค์

  [องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย