บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

สังฆทานเวียน : ทำบุญแบบเด็กเล่นขายของ

สังฆทานเวียน : ทำบุญแบบเด็กเล่นขายของ

——————–

ถวายสังฆทานเวียน

ได้บุญจริงหรือ ?

ในพระวินัย มีระบุไว้ว่า อนุญาตให้นำของสงฆ์

ที่ได้รับฉันทามติจากคณะสงฆ์แล้วไปแลก

ในสิ่งที่ดีกว่าได้ การทำเช่นนั้นเรียกว่า “ผาติกรรม”

(แปลว่า ทำให้ดีขึ้น) เปรียบได้กับ การเวียน

สังฆทาน เพื่อนำไปแลกกับสิ่งที่ดีกว่า ซึ่งส่วนใหญ่

สิ่งที่ดีกว่าในปัจจุบันก็คือ “เงิน” เพราะสามารถ

นำไปใช้ประโยชน์อื่นได้เช่น ชำระค่าน้ำ ค่าไฟ

ค่าก่อสร้าง ภายในวัด ก่อให้เกิดประโยชน์

ต่อพระพุทธศาสนาต่อไป ดังนั้นการถวาย

สังฆทานเวียน จึงมิใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด

อีกทั้งผู้ถวายสังฆทานเวียนก็ได้รับอานิสงส์

ผลบุญเช่นกัน

………….

(ข้อความจากภาพ)

ผู้ส่งภาพ: Kru Too

๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘

————-

การจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ถูกต้องถ่องแท้ ควรเริ่มตั้งแต่ ความหมายของถ้อยคำ

คำที่เป็นหลักในเรื่องนี้คือ “ผาติกรรม”

“ผาติกรรม” บาลีเป็น “ผาติกมฺม” (ผา-ติ-กำ-มะ) 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ผาติกมฺม” ว่า increase, profit, advantage (การเพิ่มพูน, กำไร, การได้เปรียบ)

“ผาติกมฺม” ถ้าเป็นคำกริยา เป็น “ผาติกโรติ”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ผาติกโรติ” ว่า to make fat, to increase, to use to advantage (ทำให้อ้วน, เพิ่มขึ้น, ใช้ให้เป็นประโยชน์)

ที่ยกพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ก็เพราะคนสมัยนี้เห็นคำอังกฤษแล้วเข้าใจความหมายดีกว่าคำไทย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ผาติกรรม : (คำนาม) การทําให้เจริญ, ใช้ในวินัยว่า การจําหน่ายครุภัณฑ์เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทําของสงฆ์ชํารุดไปบ้าง, รื้อของที่ไม่ดีออกเสียทําให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทําอย่างอื่นแล้วสร้างวัดถวายใหม่เป็นการชดใช้.

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

ผาติกรรม : “การทำให้เจริญ” หมายถึงการจำหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างหนึ่งอย่างใด โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทำของสงฆ์ชำรุดไป, รื้อของที่ไม่ดีออกทำให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทำอย่างอื่นแล้วสร้างวัดถวายให้ใหม่; การชดใช้, การทดแทน

คำที่จะต้องทำความเข้าใจอีกคำหนึ่งคือ “ครุภัณฑ์” เพราะท่านว่าของที่อนุญาตให้ทำผาติกรรมได้ต้องเป็น “ครุภัณฑ์”

ครุภัณฑ์มีอะไรบ้าง ท่านแสดงรายการไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑ ข้อ ๒๓๐ (กล่าวถึงภิกษุที่เปรียบเหมือนมหาโจร ๕ จำพวก เที่ยวปล้นอยู่ในพระศาสนานี้)

ส่วนลหุภัณฑ์ มีกล่าวถึงในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ พระไตรปิฎกเล่ม ๕ ข้อ ๑๖๗

ลหุภัณฑ์-ครุภัณฑ์ มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก 

ถ้าจะให้แน่ใจก็ต้องไปอ่านจากพระไตรปิฎก 

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเก็บสาระจากพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถามาแสดงไว้ครบถ้วนแล้วในหนังสือวินัยมุข เล่ม ๒ เรื่องนี้อยู่ในกัณฑ์ที่ ๒๐ ภัณฑะต่างเจ้าของ หน้า ๑๔๒-๑๕๓ 

ขอสรุปเพื่อเข้าใจสั้นๆ ดังนี้ –

ของอันจะพึงบริโภคสิ้นไป เช่น บิณฑบาต เภสัช กับบริขารประจำตัว (ของใช้ส่วนตัว) เช่น บาตร จีวร และของเล็กน้อย เช่นเข็มเย็บผ้า มีดโกน เป็นลหุภัณฑ์ เป็นของแจกกันได้

ของอันไม่ใช่สำหรับใช้สิ้นไป เป็นของควรรักษาไว้ได้นาน เช่นเครื่องใช้ในเสนาสนะหรือตัวเสนาสนะเอง ตลอดถึงกุฏิและที่ดิน จัดเป็นครุภัณฑ์ เป็นของที่แจกกันไม่ได้ ให้เก็บรักษาไว้ เป็นของสาธารณะแก่สงฆ์

————-

ในภาษาไทย ครุภัณฑ์ หมายถึง ของที่ใช้ทนทาน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้. (พจน.๕๔)

สิ่งของที่ท่านอนุญาตให้ทำผาติกรรมได้ต้องเป็น “ครุภัณฑ์”

ถ้าถือตามนี้ ของที่เป็น “ลหุภัณฑ์” ก็เอามาทำผาติกรรมไม่ได้ เพราะสามารถแจกจ่ายให้ผู้ที่ต้องการได้อยู่แล้ว

หมายความว่า ครุภัณฑ์ ท่านไม่อนุญาตให้เอามาแจกกัน เพราะเป็นของที่ภิกษุทั้งปวงสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ แต่ในกรณีที่ครุภัณฑ์นั้นเกิดไม่อำนวยประโยชน์จะด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ถ้าปล่อยไปตามนั้นก็จะไม่มีใครได้ประโยชน์ ท่านจึงอนุญาตให้จัดการบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธี “ผาติกรรม” (ย้อนไปดูความหมาย)

ส่วน “ลหุภัณฑ์” นั้น เมื่อได้มาก็สามารถบริโภคใช้สอยได้ทันที แต่ละคนได้ประโยชน์ทันที ทั้งสามารถแจกจ่ายให้ผู้ที่ขาดแคลนต่อไปได้อีก เป็นของที่หมดไปด้วยการกินการใช้ จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องเอามาทำผาติกรรมอะไรอีก

หลักการของ “ผาติกรรม” เป็นดังที่ว่ามานี้

————-

คราวนี้มาดูกันว่า สิ่งของที่เรียกว่า “สังฆทานเวียน” นั้นคืออะไร

สิ่งของที่เรียกว่า “สังฆทานเวียน” เป็นจำพวกที่เรียกว่า ของกินของใช้หมดเปลือง ทั้งนั้น เป็นของกินของใช้ส่วนตัวที่ต้องกินต้องใช้และหมดเปลืองไปตามลักษณะการกินการใช้ ถ้ามีมาก ก็สามารถแจกจ่ายให้ทั่วถึงกัน หรือแจกไปยังผู้ที่ขาดแคลนต่อไปได้ 

สรุปว่า ของที่อยู่ในถังสังฆทานนั้นจัดอยู่ในประเภท “ลหุภัณฑ์” 

เพราะฉะนั้น ถังสังฆทานจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเอามาทำผาติกรรมได้

ขอให้คิดถึงข้อเท็จจริง 

ของกินของใช้ที่มีผู้ถวายแก่สงฆ์ก็เพื่อให้ภิกษุได้ฉันได้ใช้

ถ้าเอามาทำเป็นสังฆทานเวียนอยู่ตรงนั้น ถามว่าเมื่อไรพระจึงจะได้ฉันได้ใช้ของนั้น ?

————-

หลักสำคัญอย่างหนึ่งของผาติกรรมก็คือ ต้องเปลี่ยนกับของที่มีราคาสูงกว่าหรืออย่างน้อยก็ราคาเท่ากัน 

สมมุติว่าถังสังฆทานถังหนึ่งราคา ๓๐๐ บาท 

ผู้ที่จะมาเปลี่ยนถังนั้นถวายเป็นสังฆทานก็ต้องจ่ายให้วัดไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท

แล้วถ้าสมมุติว่าถังราคา ๓๐๐ บาทนั้นเกิดมีผู้ศรัทธามาเปลี่ยนค่าถัง ๑,๐๐๐ บาท 

ผู้ศรัทธารายต่อไปที่จะมาเปลี่ยนถังนั้นก็จะต้องจ่ายไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ บาท ต่ำกว่านี้ไม่ได้ 

เพราะถึงขั้นนี้ถังสังฆทานใบนั้นไม่ใช่ราคา ๓๐๐ บาทแล้ว

แต่ราคาเพิ่มขึ้นเป็น ๑,๐๐๐ บาท

ปัญหาก็จะเกิดตามมาว่า พระหรือเจ้าหน้าที่ของวัดที่จัดการเรื่องนี้จะรู้ได้อย่างไรว่าถังใบไหนถึงตอนนั้นราคาเพิ่มขึ้นไปเท่าไร

ถ้าเอาถังราคา ๑,๐๐๐ บาท ไปให้ญาติโยมเปลี่ยนราคาต่ำกว่านั้น จะเกิดอะไรขึ้น

เห็นความสับสนปนเปหรือยังครับ

คราวนี้ก็ต้องจัดหาถังสังฆทานราคาต่างๆ เตรียมไว้ให้พอเหมาะกับกำลังทรัพย์ของผู้ที่จะถวาย

ถังนั้น ๓๐๐

ถังนี้ ๒๕๐

ถังโน้น ๒๐๐

เลยกลายเป็นธุรกิจซื้อ-ขายเต็มตัว ไม่ใช่ทำบุญตามกำลังศรัทธาอีกแล้ว

ซ้ำยังเป็นการแบ่งเกรดคนทำบุญให้แปลกแยกกันไปอีกต่างหาก

ทุกอย่างก็จะผิดเพี้ยนไปหมด

ผาติกรรมนั้นคือเปลี่ยนของอื่นมาให้สงฆ์ หรือจ่ายทรัพย์ให้สงฆ์ แล้วเอาของไปทำประโยชน์ตามประสงค์

แต่สังฆทานเวียนจ่ายทรัพย์แล้วก็เอาของนั้นถวายสงฆ์อีกอย่างเดิม

แล้วสงฆ์ก็เอาของนั้นมาเวียนให้โยมจ่ายทรัพย์อีก

เป็นผาติกรรมชนิดไหนกันแน่

ของที่เอามาผาติกรรมก็ไม่เข้าเกณฑ์ชั้นหนึ่งแล้ว

เมื่อทำผาติกรรม (ที่ไม่ถูกต้องตามเกณฑ์) แล้วของนั้นก็ยังวนกลับมาที่เดิม ผิดเจตนารมณ์ของผาติกรรมซ้ำเข้าอีกชั้นหนึ่ง

แบบนี้ไม่ใช่ผาติกรรมชนิดที่ท่านอนุญาตไว้ในพระวินัยเป็นแน่นอน

สังฆทานเวียนก็คือสังฆทานเพี้ยนนั่นเอง

ขอความกรุณาอย่าอธิบายผิดให้เป็นถูกเลยครับ

ไม่ทำผิดเสียเลยย่อมดีกว่า

————-

ถ้าอยากได้เงินเข้าวัดเพื่อชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าก่อสร้าง ฯลฯ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาต่อไปดังที่อ้าง วิธีที่ถูกต้องก็คือ เชิญชวนให้ญาติโยมบริจาคเงินโดยตรง

การบริจาคเงินบำรุงวัดโดยตรงนั้น เราทำกันอยู่แล้วโดยทั่วไป 

บรรพบุรุษเราท่านทำมาแต่ไหนแต่ไรแล้วด้วย

ไม่จำเป็นต้องบริจาคผ่านถังสังฆทานแต่ประการใดเลย

พูดอย่างไม่เกรงใจ สังฆทานเวียนก็คือการเล่นละคร เหมือนเด็กเล่นขายของ เหมือนเล่นหม้อข้าวหม้อแกงนั่นเอง 

แทนที่จะสอนโยมให้เกิดแสงสว่างในการทำบุญ 

กลับซ้ำทำให้โยมมืดหนักเข้าไปอีก

ถ้าโยมไม่เข้าใจ นั่นคือหน้าที่โดยตรงที่ต้องทำให้โยมเข้าใจ

ควรช่วยกันอธิบายให้ญาติโยมเกิดปัญญาในวิธีทำบุญ

ไม่ใช่คอยสนองความอยากของโยมด้วยการคิดค้นกลวิธีแปลกๆ มาล่อให้ทำบุญเหมือนผู้ใหญ่หลอกเด็ก

————-

กราบขออภัยที่ต้องกระทบกันตรงๆ

กลัวญาติมิตรตลอดจนพระคุณเจ้าและวัดวาอาวาสต่างๆ จะโกรธ กระผมก็กลัวครับ ไม่ใช่ไม่กลัว

แต่การทรยศต่อหลักวิชา น่ากลัวมากกว่า

ได้ทรัพย์จากคนมีปัญญา 

บริสุทธิ์กว่าได้จากความไม่รู้ไม่เข้าใจขอรับ

———–

ต้นเรื่อง

———–

ถวายสังฆทานเวียน

ได้บุญจริงหรือ ?

ในพระวินัย มีระบุไว้ว่า อนุญาตให้นำของสงฆ์

ที่ได้รับฉันทามติจากคณะสงฆ์แล้วไปแลก

ในสิ่งที่ดีกว่าได้ การทำเช่นนั้นเรียกว่า “ผาติกรรม”

(แปลว่า ทำให้ดีขึ้น) เปรียบได้กับ การเวียน

สังฆทาน เพื่อนำไปแลกกับสิ่งที่ดีกว่า ซึ่งส่วนใหญ่

สิ่งที่ดีกว่าในปัจจุบันก็คือ “เงิน” เพราะสามารถ

นำไปใช้ประโยชน์อื่นได้เช่น ชำระค่าน้ำ ค่าไฟ

ค่าก่อสร้าง ภายในวัด ก่อให้เกิดประโยชน์

ต่อพระพุทธศาสนาต่อไป ดังนั้นการถวาย

สังฆทานเวียน จึงมิใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด

อีกทั้งผู้ถวายสังฆทานเวียนก็ได้รับอานิสงส์

ผลบุญเช่นกัน

(ข้อความจากภาพ)

ผู้ส่งภาพ: Kru Too

๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘

ความคิดเห็น

ทองย้อย แสงสินชัย 

๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘

เมื่อท่านอ้าง “พระวินัย” เราก็ควรเคารพคำอ้างของท่าน ด้วยการตามไปศึกษาข้อเท็จจริงว่า กรณีที่เรียกว่า “ผาติกรรม” คืออย่างไร การเอาของกินของใช้ที่มีผู้ถวายแก่สงฆ์แล้วมา “ขายต่อ” (เอาเงินเข้าวัด) จัดเป็นผาติกรรมหรือไม่

เรื่องนี้เป็นหลักการ จะตอบตามความเห็นทันทีคงไม่ถูก ถ้าท่านเจ้าของวาทะในภาพนี้จะกรุณาบอกที่มาใน “พระวินัย” ตามที่อ้างให้ด้วยก็จะเป็นการทุ่นเวลาในการไปควานหาหลักฐานไปได้เป็นอันมาก

รับเป็นการบ้านหนักๆ ไว้อีกข้อหนึ่งครับ

———–

[๓๑๒] เตน โข ปน สมเยน สงฺฆสฺส เสนาสนปริกฺขาริโก

มหคฺโฆ กมฺพโล อุปฺปนฺโน โหติ ฯ ภควโต เอตมตฺถํ อาโรเจสุํ ฯ 

อนุชานามิ ภิกฺขเว ผาติกมฺมตฺถาย ปริวตฺเตตุนฺติ ฯ

[๓๑๓] เตน โข ปน สมเยน สงฺฆสฺส เสนาสนปริกฺขาริกํ

มหคฺฆํ ทุสฺสํ อุปฺปนฺนํ โหติ ฯ ภควโต เอตมตฺถํ อาโรเจสุํ ฯ 

อนุชานามิ ภิกฺขเว ผาติกมฺมตฺถาย ปริวตฺเตตุนฺติ ฯ

สมัยนั้น ผ้ากัมพลมีราคามาก เป็นบริขารสำหรับเสนาสนะ เกิดขึ้นแก่สงฆ์

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรมได้ ฯ

สมัยนั้น ผ้ามีราคามาก เป็นบริขารสำหรับเสนาสนะ เกิดขึ้นแก่สงฆ์

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรมได้ ฯ

คัมภีร์จุลวรรค ภาค ๒ พระวินัยปิฎก พระไตรปิฎกเล่ม ๗ ข้อ ๓๑๒-๓๑๓

ผาติกรรมในคัมภีร์อรรถกถา

ผาติกมฺมตฺถายาติ วุฑฺฒิกมฺมตฺตาย ฯ ผาติกมฺมญฺเจตฺถ สมกํ

วา อติเรกํ วา อคฺฆนกํ มญฺจปีฐาทิเสนาสนเมว วฏฺฏติ ฯ

บทว่า ผาติกมฺมตฺถาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การทำให้เพิ่มขึ้น. 

ก็เสนาสนะมีเตียงและตั่งเป็นต้นนั่นเอง ที่มีราคาเท่ากัน หรือมากกว่า

เป็นผาติกรรม ย่อมควร ในคำว่า “เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม” นี้

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ หน้า ๔๓๘ (๓๙๔) (เสนาสนขันธกวัณณนา จุลวรรค)

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๙ หน้า ๒๒๘

จตุตถสมันตปาสาทิกาแปล จุลวรรควรรณนา หน้า ๕๘๐

ทฑฺฒเคหมนุสฺสา คณฺหิตฺวา คจฺฉนฺตา 

น วาเรตพฺพา ฯ รกฺขิตโคปิตเวฬุํ คณฺหนฺเตน สมกํ วา 

อติเรกํ วา ถาวรํ อนฺตมโส ตํ อคฺฆนกวาลิกายปิ ผาติกมฺมํ

กติวา คเหตพฺโพ ฯ ผาติกมฺมํ อกตฺวา คณฺหนฺเตน ตตฺเถว

วลญฺเชตพฺโพ ฯ คมนกาเล สงฺฆิเก อาวาเส ฐเปตฺวา ว

คนฺตพฺพํ ฯ อสติยา คเหตฺวา คเตน ปหิณิตฺวา ทาตพฺโพ ฯ 

เทสนฺตรํ คเตน สมฺปตฺตวิหาเร สงฺฆิกาวาเส ฐเปตพฺโพ ฯ

ฯลฯ เมื่อภิกษุจะถือเอาไม้ไผ่ที่สงฆ์รักษาปกครอง ต้องทำถาวรวัตถุที่เท่ากัน หรือเกินกว่า โดยที่สุดทำผาติกรรม แม้ด้วยทรายซึ่งมีราคาเท่าไม้ไผ่นั้น แล้วจึงถือเอา. เมื่อจะไม่ทำผาติกรรมถือเอา ต้องใช้สอยในวัดนั้นเท่านั้น. ในเวลาที่จะไป ต้องเก็บไว้ในที่อยู่ของสงฆ์ก่อน จึงค่อยไป. ภิกษุผู้ถือเอาไปด้วยความหลงลืม ต้องส่งคืน. ไปสู่ประเทศอื่นแล้ว พึงเก็บไว้ในที่อยู่ของสงฆ์ในวัดที่ไปถึงเข้า

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ หน้า ๔๓๐ (๓๘๗) (เสนาสนขันธกวัณณนา จุลวรรค)

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๙ หน้า ๒๑๙

จตุตถสมันตปาสาทิกาแปล จุลวรรควรรณนา หน้า ๕๗๐

สามเณรานํ 

อุปฑฺฒปฏิวึสนฺติ เอตฺถ เย สามเณรา อตฺติสฺสรา ภิกฺขุ-

สงฺฆสฺส กตฺตพฺพกมฺมํ น กโรนฺติ อุทฺเทสปริปุจฺฉาสุ ยุตฺตา

อาจริยุปชฺฌายานํเยว วตฺตปฏิปตฺตึ กโรนฺติ น อญฺเญสํ กโรนฺติ

เอเตสํเยว อุปฑฺฒภาโค ทาตพฺโพ ฯ เย ปน ปุเรภตฺตญฺจ

ปจฺฉาภตฺตญฺจ ภิกฺขุสงฺฆสฺเสว กตฺตพฺพกิจฺจํ กโรนฺติ เตสํ สมโก

ทาตพฺโพ ฯ อิทญฺจ ปิฏฺฐิสมเย อุปฺปนฺเนน ภณฺฑาคาเร ฐปิเตน

อกาลจีวเรเนว กถิตํ ฯ กาลจีวรมฺปน สมกเมว ทาตพฺพํ ฯ 

ตตฺรุปฺปาทํ วสฺสาวาสิกํ สมฺมุญฺชนิพนฺธนาทึ สงฺฆสฺส ผาติกมฺมํ

กตฺวา คเหตพฺพํ ฯ เอตญฺเหตฺถ สพฺเพสํ วตฺตํ ภณฺฑาคาริกจีวเรปิ ฯ

สเจ สามเณรา อาคนฺตฺวา ภนฺเต มยํ ยาคุํ ปจาม ภตฺตํ ปจาม

ขชฺชกํ ปจาม อปหริตํ กโรม ทนฺตกฏฺฐํ อาหราม รงฺคฉลฺลึ 

กปฺปิยํ กตฺวา เทม กิมฺปน อมฺเหหิ น กตนฺนามาติ อุกฺกฏฺฐึ

กโรนฺติ สมภาโคว ทาตพฺโพ ฯ เอตํ เย จ วิรชฺฌิตฺวา 

กโรนฺติ เยสญฺจ กรณภาโว น ปญฺญายติ เต สนฺธาย 

วุตฺตํ ฯ กุรุนฺทิยํ ปน สเจ สามเณรา กสฺมา มยํ ภนฺเต 

สงฺฆกมฺมํ น กโรม กริสฺสามาติ ยาจนฺติ สมปฏิวึโส ทาตพฺโพติ

วุตฺตํ ฯ 

ฯลฯ ผ้าจำนำพรรษาซึ่งเกิดในที่นั้น ภิกษุและสามเณรพึงทำผาติกรรม

แก่สงฆ์มีผูกไม้กวาดเป็นต้น แล้วถือเอา ฯลฯ

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ หน้า ๒๓๒-๒๓๓ (๒๕๙-๒๖๐) (จีวรขันธกวัณณนา มหาวิภังค์)

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๗ หน้า ๓๓๖

ตติยสมันตปาสาทิกาแปล ตอน ๒ หน้า ๓๔๔

กททา ปน กติกวตฺตํ ปฏิปฺปสฺสมฺภติ ฯ 

ยทา สมคฺโค สงฺโฆ สนฺนิปติตฺวา อิโต ปฏฺฐาย ภาเชตฺวา ขาทนฺตูติ 

สาเวติ ฯ เอกภิกฺขุเก ปน วิหาเร เอเกน สาวิเตปิ ปุริมกติกา 

ปฏิปฺปสฺสมฺภติเยว ฯ สเจ ปฏิปฺปสฺสทฺธาน กติกาย สามเณรา เนว 

รุกฺขโต ปาเตนฺติ น ภูมิโต คเหตฺวา ภิกฺขูนํ เทนฺติ ปติตผลานิ

ปาเทหิ ปหรนฺตา วิจรนฺติ ฯ เตสํ ทสภาคโต ปฏฺฐาย ยาว

อุปฑฺฒผลภาเคน ผาติกมฺมํ กาตพฺพํ ฯ อทฺธา ผาติกมฺมลาเภน

อาหริตฺวา ทสฺสนฺติ ฯ ปุน สุภิกฺเข ชาเต กปฺปิยการเกสุ อาคนฺตฺวา

สาขาปริวาราทีนิ กตฺวา รุกฺเข รกฺขนฺเตสุ สามเณรานํ ผาติกมฺมํ 

น กาตพฺพํ ภาเชตฺวา ปริภุญฺชิตพฺพํ ฯ

ฯลฯ สงฆ์พึงเพิ่มผลไม้ให้แก่สามเณรเหล่านั้น ตั้งแต่เสี้ยวที่ ๑๐ จนถึงกึ่งส่วนแห่งผลไม้. เพราะได้ส่วนเพิ่ม พวกเธอจักนำมาถวายแน่แท้ ฯลฯ

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ หน้า ๖๙๒ (๖๒๔-๖๒๕)

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๑๐ หน้า ๑,๐๐๖

ปัญจมสมันตปาสาทิกาแปล ปริวารวัณณนา หน้า ๙๘๒-๙๘๓

ผาติกมฺมํ

ปจฺจาสึสนฺตสฺส ปน ตติยภาเคน วา อุปฑฺฒภาเคน วา ผาติกมฺมํ

กาตพฺพํ ฯ

แต่สงฆ์พึงให้ส่วนเพิ่มเพียงเสี้ยวที่ ๓ หรือกึ่งส่วน แก่ภิกษุนั้นผู้หวังส่วนเพิ่ม

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ หน้า ๖๙๔ (๖๒๖)

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๑๐ หน้า ๑,๐๐๘

สเจ ปน เนว วตฺตสีเสน ชคฺคนฺโต อตฺถิ น ผาติ-

กมฺเมน น สงฺโฆ ชคฺคิตุํ ปโหติ ฯ เอโก อนาปุจฺฉิตฺวาว 

ชคฺคิตฺวา ผาติกมฺมํ วฑฺเฒตฺวา ปจฺจาสึสติ ฯ อปโลกนกมฺเมน

ผาติกมฺมํ วฑฺเฒตฺวา ทาตพฺพํ ฯ อิติ อิมํ สพฺพํปิ กมฺมลกฺขณเมว

โหติ ฯ อปโลกนกมฺมํ อิมานิ ปญฺจ ฐานานิ คจฺฉติ ฯ

ก็ถ้าว่า ผู้บำรุงด้วยมุ่งวัตรก็ไม่มี ผู้บำรุงด้วยหวังส่วนเพิ่มก็ไม่มี, ทั้ง

สงฆ์ก็ไม่สามารถจะบำรุงเองไซร้, ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่เรียนสงฆ์ก่อน บำรุงเอง

ทำให้เจริญแล้วหวังส่วนเพิ่ม, ส่วนเพิ่มอันสงฆ์พึงเพิ่มให้ด้วยอปโลกนกรรม.

ฯลฯ

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ หน้า ๖๙๔-๖๙๕ (๖๒๖-๖๒๗)

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๑๐ หน้า ๑,๐๐๙

ผาติกมฺม-

เมว ภวนฺตีติ วิหารรกฺขณตฺถาย สงฺเฆน ทาตพฺพา อติเรกลาภา 

โหนฺติ ฯ 

สารัตถทีปนี วินยฎีกา ภาค ๔ หน้า ๓๙๒

กตโร ปร เวฬุ ครุภณฺฑํ โหติ กตโร น โหตีติ ฯ

โย ตาว อโรปิโม สยํ ชาโต โส สงฺเฆน ปริจฺฉินฺนฏฺฐาเนเยว

ครุภณฺฑํ ตโต ปรํ น ครุภณฺฑํ ฯ โรปิตฏฺฐาเน สพฺเพน

สพฺพํ ครุภณฺฑํ ฯ โส ปน ปมาเณน ปริจฺฉินฺโน เตลนาฬิปฺ-

ปมาโณ (๔) ครุภณฺฑํ น ตโต เหฏฺฐา ฯ ยสฺส ปน ภิกฺขุโน

เตลฬาลิยา วา กตรทณฺเฑน วา อตฺโถ เตน ผาติกมฺมํ

กตฺวา คเหตพฺโพ ฯ ผาติกมฺมํ ตทคฺฆนกํ วา อติเรกํ วา

วฏฺฏติ โอนกํ น วฏฺฏติ ฯ หตฺถกมฺมมฺปิ อุทกาหรณมตฺตํ วา

อปฺปหริตกรณมตฺตํ วา น วฏฺฏติ ตํ(๕) ถาวรํ กาตุํ วฏฺฏติ ฯ 

ตสฺมา โปกฺขรณิโต วา ปํสุํ อุทฺธริตฺวา โสปานํ วา

อตฺถราเปตฺวา วิสมฏฺฐานํ วา สมํ กตฺวา คเหตุํ วฏฺฏติ ฯ

ผาติกมฺมํ อกตฺวา คหิโต ตตฺถ วสนฺเตเนว ปริภุญฺชิตพฺโพ

ปกฺกมนฺเตน สงฺฆิกํ กตฺวา ฐเปตฺวา คนฺตพฺพํ ฯ อสติยา

คเหตฺวา คเตน ยตฺถ คโต สรติ ตโต ปจฺจาหริตพฺโพ ฯ

สเจ อนฺตรา ภยํ โหติ สมฺปตฺตวิหาเร ฐเปตฺวา คนฺตพฺพํ ฯ

(๔)ม. เตลนาฬิปฺปมาโณปิ ฯ (๕) ม. อยํ ปาโฐ นตฺถิ ฯ

ฯลฯ อนึ่ง ภิกษุใด มีความต้องการด้วยทะนานตวงน้ำมัน หรือต้องการไม้เท้า สงฆ์พึงถือเอาสิ่งนั้นกระทำให้เป็นผาติกรรมเถิด. ผาติกรรมเป็นของมีราคา หรือเป็นของมากกว่าของสงฆ์ ย่อมควร น้อยกว่าไม่ควร ฯลฯ

สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังคปกรณ์ หน้า ๕๓๘-๕๓๙

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๗๘ หน้า ๓๖๒-๓๖๓

(มีเชิงอรรถที่คำแปลหน้า ๓๖๒ ตรงคำว่า ผาติกรรม ว่า –

ผาติกรรม หมายถึงสิ่งของแลกเปลี่ยน ในทางพระวินัย หมายถึง การชดเชดเชยของสงฆ์ด้วยสิ่งอื่น)

ผาติกมฺมนฺติ พหุลีกาโร.

สารัตถทีปนี วินยฎีกา ภาค ๒ หน้า ๒๖๕

จะเอาบริขารของสงฆ์มีผ้ากัมพลเป็นต้น

ไปแลกเปลี่ยนเสนาสนะ มีเตียงตั่งเป็นต้นมาก็ควร ด้วยทรงอนุญาต

ไว้ว่า อนุ ฯเปฯ ผาติกมฺมตฺถาย ปริวฏฺเฏตุํ ว่า เราผู้ตถาคต

อนุญาตให้แลกเปลี่ยนเอาเพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม คือให้เจริญ

บริขารของสงฆ์ขึ้น ก็แลผาติกรรมแลกเปลี่ยนให้เจริญของสงฆ์นี้

ราคาเท่ากันหรือยิ่งกว่า เป็นเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้นอย่างเดียว

จึงควร

สัตตปัพพบุพพสิกขา และ บุพพสิกขาวรรณนา หน้า ๓๐๔

กุํ ขุํ คุํ ฆุํ งุํ จุํ ฉุํ ชุํ ฌุํ ญุํ ฏุํ ฐุํ ฑุํ ฒุํ ณุํ 

ตุํ ถุํ ทุํ นุํ ปุํ ผุํ พุํ ภุํ มุํ ยุํ รุํ ลุํ วุํ สุํ หุํ ฬุํ อุํ

ผาติกรรม

คำที่อิงอยู่กับวินัยสงฆ์

อ่านว่า ผา-ติ-กำ

บาลีเป็น “ผาติกมฺม” อ่านว่า ผา-ติ-กำ-มะ

ประกอบด้วย ผาติ + กมฺม

ผาติ” รากศัพท์มาจาก ผา (ธาตุ = เจริญ) + ติ ปัจจัย

: ผา + ติ = ผาติ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เจริญ” หมายถึง การเพิ่มขึ้น, การทวีขึ้น (swelling, increase)

กรรม” บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ควบ กลืนเสียง ระ ลงคอ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กรรม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ) ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย –

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

ผาติ + กมฺม = ผาติกมฺม > ผาติกรรม แปลตามศัพท์ว่า “การทำเป็นเหตุให้ทวีขึ้น” หมายถึง การเพิ่มพูน, กำไร, การได้เปรียบ (increase, profit, advantage)

ผาติกมฺม” ถ้าเป็นคำกริยา รูปคำจะเป็น “ผาติกโรติ” (ผา-ติ-กะ-โร-ติ) มีความหมายว่า เพิ่มขึ้น, ใช้ให้เป็นประโยชน์, ทำให้อ้วน (to increase, to use to advantage, to make fat)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ผาติ : (คำวิเศษณ์) เจริญขึ้น. (ป., ส.).

(2) ผาติกรรม : (คำนาม) การทําให้เจริญ, ใช้ในวินัยว่า การจําหน่ายครุภัณฑ์เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทําของสงฆ์ชํารุดไปบ้าง, รื้อของที่ไม่ดีออกเสียทําให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทําอย่างอื่นแล้วสร้างวัดถวายใหม่เป็นการชดใช้.

ตัวอย่างผาติกรรม :

มีผู้ถวายโอ่งให้วัดเป็นจำนวนมาก วัดใช้โอ่งใส่น้ำไว้จำนวนหนึ่ง แต่ยังมีโอ่งที่ไม่ได้ใช้อีกหลายใบและวัดก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้โอ่งเหล่านั้นอีก ชาวบ้านมาเห็นโอ่งที่ไม่ได้ใช้ จึงขอซื้อ ราคาปกติใบละ 250 บาท แต่ชาวบ้านจ่ายให้ใบละ 300 บาท ซึ่งมากกว่าราคาปกติ – นี่คือ “ผาติกรรม

หลักของผาติกรรมจึงอยู่ที่-ต้องชดใช้ให้แก่สงฆ์มากกว่ามูลค่าของสิ่งนั้น

คนตาดี :

มอง – ผาติกรรม

เห็น – “วัฒนธรรมไม่เอาเปรียบสังคม”

————-

หมายเหตุ:

ผู้เขียนบาลีวันละคำไปเยี่ยมญาติในชนบทในโอกาสปีใหม่ ญาติคราวลูกหลานความรู้แค่ประถม 4 เล่าว่า ไปทำบุญที่วัด ได้ยินหลวงพ่อพูดกับโยมว่า “ของที่วัดพอมี ถ้าโยมไปหาที่ไหนไม่ทันก็มาผาติกรรมเอาไปเถอะ” จึงถามว่า “ผาติกรรม” คือทำอะไร ต้องมีพิธีการกล่าวคำอะไรด้วยหรือเปล่า

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *