บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

สาธุ – เมื่อพระมรณภาพ

สาธุ – เมื่อพระมรณภาพ

———————-

ขอประทานโทษนะครับ

ขอให้มองอย่างเป็นกลาง อย่ามองเฉพาะหลวงพ่อคูณ แต่ต้องมองไปถึงพระสงฆ์รูปอื่นๆ ด้วย เพราะเรากำลังจะทำสิ่งที่เป็น “มาตรฐาน” นั่นคือ –

“เมื่อพระภิกษุสามเณรมรณภาพ ใช้คำแสดงความรู้สึกว่า สาธุ ถูกต้องหรือไม่”

หลักในเรื่องนี้ก็คือ กรณีหรือเหตุที่เราเปล่งคำว่า สาธุ ในเรื่องที่กำลังพูดกันนี้ก็คือ “ความตาย”

ผู้ตายจะเป็นใคร มีคุณหรือไม่มีคุณ ทำดีทำชั่วมากน้อยอย่างไร อย่าเพิ่งเอามาเป็นหลักคิด เพราะเป็นคนละเรื่องคนละตอนคนละกรณีกัน 

ถ้าเอามาคิดด้วยก็เป็นเรื่องที่เรา สาธุ (หรือไม่สาธุ) ในกรณีที่นึกถึงความดีความชั่วของผู้นั้น 

แต่เหตุเฉพาะหน้าที่เป็นตัวกรณีตรงๆ คือ “ความตาย” ของท่านผู้นั้น 

ถามว่า เมื่อเห็น “ความตาย” ของท่านผู้นั้น เราดีใจหรือเสียใจ

หรือเมื่อเห็น “คนตาย” ธรรมดาวิสัยโลกเขาดีใจกัน (สาธุ) หรือเขาเสียใจกัน

ตอบตรงนี้เท่านั้น

“ความดีความชั่วของผู้ตาย” ต้องแยกออกจาก “ความตายของผู้ตาย” ตลอดจนตายแล้วจะไปสุคติหรือทุคติ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อย่าเอามานึกปนกัน

ตอบเพียงแค่ เมื่อมีคนตาย เราควรดีใจหรือเสียใจ

สาธุ ก็คือ ดีใจในความตาย 

จะมาอ้างว่าดีใจในความดีของผู้ตาย หรือดีใจที่ผู้ตายจะไปสู่สุคติ ไม่ได้ เพราะเป็นคนละกรณีกัน ถ้าจะดีใจก็เอาไปดีใจตอนอื่น ไม่ใช่มาดีใจเอาเมื่อตอนท่านตาย

สรุปว่า ถ้าคนตาย แล้วเราพูดว่า สาธุ ก็คือ เราดีใจที่เขาตายเสียได้

ถ้าจะดีใจในคุณความดีของเขา ต้องเอาไป สาธุ ในเวลาอื่น

ไม่ใช่มา สาธุ ในเวลาที่กำลังปรารภถึงความตายของเขา

ด้วยความเคารพ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘

———-

ความคิดเห็นท้ายโพสต์ของ Sornchai Phosriwong กรณี พศ. ชี้แจ้งการใช้คำว่า “สาธุ” เมื่อพระสงฆ์มรณภาพ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘

นำมาโพสต์โดยการแชร์

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *