บาลีวันละคำ

รหัส (บาลีวันละคำ 864)

รหัส

อ่านว่า ระ-หัด

บาลีเป็น “รหสฺส” สันสกฤตเป็น “รหสฺย

รหสฺส” (ระ-หัด-สะ) รากศัพท์มาจาก รห + ปัจจัย, ซ้อน

รห” (ระ-หะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) รหฺ (ธาตุ = สงัด) + ปัจจัย

: รห + = รห แปลตามศัพท์ว่า “โอกาสที่สงัดจากผู้คน” = ไม่มีใครอื่นอยู่ในที่นั้น อยู่คนเดียว

(2) รมุ (ธาตุ = ยินดี, พอใจ) + ปัจจัย, ลบ อุ ที่ มุ, แปลง มฺ เป็น

: รมุ > รม > รห + = รห แปลตามศัพท์ว่า “โอกาสเป็นที่ยินดีแห่งผู้คน” = ไม่มีคนอื่นๆ มารบกวน สามารถทำสิ่งที่ต้องการได้อย่างสบายใจ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “รห” ว่า lonely place, solitude, loneliness; secrecy, privacy (ที่เปลี่ยว, ที่สงัด, ความเปล่าเปลี่ยว; ความลับ, ความรโหฐาน หรือไม่เป็นที่เปิดเผย)

รห” จึงหมายถึงสถานที่ลับก็ได้ หมายถึงความลับก็ได้

รห + ปัจจัย, ซ้อน : รห + = รหส + = รหสฺส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีอยู่ในที่ลับ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “รหสฺส” ว่า secret, private (ลับ, เฉพาะ); secrecy, secret (ความลับ, ความเร้นลับ)

รหสฺส” ภาษาไทยใช้อิงบาลี เขียนเป็น “รหัส” (ตัด ออกตัวหนึ่ง)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

(1) เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้.

(2) ข้อความที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ.

(3) ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต.

คำแนะนำ : “รหัส” คำเดียวพอ ไม่จำเป็นต้อง “รหัสลับ” เพราะ “รหัส” แปลว่า “ลับ” อยู่แล้ว

: คนทำผิดอาจปกปิดความผิดให้เป็นความลับได้

: แต่จะปกปิดให้รอดพ้นจากการรู้เห็นของตัวเองหาได้ไม่

#บาลีวันละคำ (864)

29-9-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *