บาลีวันละคำ

สัจอธิษฐาน (บาลีวันละคำ 437)

สัจอธิษฐาน

(บาลีไทย)

ในช่วงเวลาเข้าพรรษา 3 เดือน มีคนจำนวนมากตั้งใจงดการกระทำบางอย่าง เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เที่ยวกลางคืน เป็นต้น และเรียกการตั้งใจงดเช่นนั้นว่า “สัจอธิษฐาน

สัจ” บาลีเป็น “สจฺจ” อ่านว่า สัด-จะ หมายถึง ความจริง, ความจริงใจ, ความสัตย์, คำจริง ใช้เป็นคุณศัพท์หมายถึง จริง, แท้

ในทางธรรม “สจฺจ” หมายถึง สัจธรรม (ความจริงแท้), นิพพาน

สจฺจ” แปลตามรากศัพท์ว่า –

สิ่งที่มีในคนดีทั้งหลาย” (สัจจะจึงต้องเป็นไปในทางดี)

สิ่งที่เบียดเบียนทุกข์” (สัจจะจึงต้องใช้เพื่อแก้ทุกข์ คือแก้ปัญหา)

สัจจะ” เป็นบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า สัจบารมี (สัด-จะ-บา-ระ-มี)

อธิษฐาน” บาลีเป็น “อธิฏฺฐาน” (อะ-ทิด-ถา-นะ) มาจาก อธิ + ฐาน ซ้อน = อธิฏฺฐาน แปลตามศัพท์ว่า ความตั้งใจแน่วแน่, การตัดสินใจ, ความตกลงใจ

อธิฏฺฐาน – อธิษฐาน” ตามความหมายเดิมคือ ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความตั้งใจมั่นแน่วที่จะทำการให้สำเร็จลุจุดหมาย, ความตั้งใจหนักแน่นเด็ดเดี่ยวว่าจะทำการนั้นๆ ให้สำเร็จ และมั่นคงแน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน เป็นบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า อธิษฐานบารมี (อะ-ทิด-ถา-นะ-บา-ระ-มี)

สจฺจ + อธิฏฺฐาน เขียนแบบไทยตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ตัด ออกตัวหนึ่ง และไม่ต้องประวิสรรชนีย์ เป็น “สัจอธิษฐาน” อ่านว่า สัด-จะ-อะ-ทิด-ถาน มีความหมาย (ตามเจตนา) ว่า “ตั้งสัจจะอย่างมั่นคง

ความจริง การตั้งใจทำความดี เพียงมี “สัจจะ” หรือ “อธิษฐาน” อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็สำเร็จได้ คือ –

จริงใจที่จะทำความดี = สัจจะ (เมื่อจริงใจ ก็ไม่เลิกล้ม)

ตั้งมั่นอยู่ในความดีที่ทำ = อธิษฐาน (เมื่อมั่นคงในความดี ก็ไม่เลิกล้ม)

: มีทั้ง “สัจจะ” มีทั้ง “อธิษฐาน” ขอให้ชนะมารโดยทั่วกันเทอญ !

——————-

(ตามคำถามของ Plse MnLght)

บาลีวันละคำ (437)

26-7-56

สจฺจ ๑ = สัจธรรม, พระนิพพาน (ศัพท์วิเคราะห์)

ราคกฺขยเหตุภาเวน อวิปรีตตฺตา  จตุสจฺจปริยาปนฺนตฺตา วา สจฺจํ ชื่อว่าสัจจะ เพราะไม่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นเหตุสิ้นราคะ หรือเพราะนับเนื่องในสัจจะ ๔

สจฺจ ๒ = สัจจะ, สัตย์, ความจริง, คำจริง

– สนฺเตสุ สาธูสุ ภวํ สจฺจํ สิ่งที่มีในคนดีทั้งหลาย

– สรติ อายติ ทุกฺขํ หึสตีติ สจฺจํ สิ่งที่เบียดเบียนทุกข์

สร ธาตุ ในความหมายว่าเบียดเบียน จ ปัจจัย ลบ ร ซ้อน จฺ

สจฺจ (บาลี-อังกฤษ)

(คุณ.) (เทียบ สัน. สตฺย) จริง, แท้ real, true

(นปุง. ก.วิ.?) สจฺจํ โดยจริง, จริง ๆ, อย่างแน่นอนหรือแน่แท้ truly, verily, certainly

(นปุง.นาม) สจฺจํ ความจริง the truth

สจฺจกิริยา การประกาศอย่างจริงจัง, การสาบาน a solemn declaration, a declaration on oath

สจฺจวจน (๑) ความจริง, วาจาสัตย์ veracity (๒) สัจจกิริยา

สจฺจวชฺช ความจริง truthfulness

สจฺจวาจา ความจริง, วาจาสัตย์

สจฺจวาที มีความจริง, พูดความจริง truthful, speaking the truth

พจน.42 บอกว่า อ่านว่า อะ-ทิด-ถาน ก็ได้ อะ-ทิด-สะ-ถาน ก็ได้

บาลีเป็น “อธิฏฺฐาน” อ่านว่า อะ-ทิด-ถา-นะ

อธิฏฺฐาน” แยกเป็น อธิ + ฐาน ซ้อน สำเร็จรูปเป็น อธิฏฺฐาน

อธิ” เป็นคำอุปสรรค แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, ทับ

ฐาน” แปลว่า ฐานะ, การตั้งอยู่, การดำรงอยู่, การหยุดอยู่, ที่ตั้ง, หลักแหล่ง, ตำแหน่ง, เหตุ, โอกาส

อธิฏฺฐาน” เขียนอิงสันสกฤตเป็น “อธิษฐาน” แปลตามศัพท์ว่า ความตั้งใจแน่วแน่, การตัดสินใจ, ความตกลงใจ

อธิฏฺฐาน – อธิษฐาน” ตามความหมายเดิมคือ ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความตั้งใจมั่นแน่วที่จะทำการให้สำเร็จลุจุดหมาย, ความตั้งใจหนักแน่นเด็ดเดี่ยวว่าจะทำการนั้นๆ ให้สำเร็จ และมั่นคงแน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน เป็นบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า อธิษฐานบารมี

บาลีวันละคำ (379) 28-5-56

สัจ, สัจ-, สัจจะ

  [สัด, สัดจะ-] น. ความจริง, ความจริงใจ, เช่น ทำงานร่วมกันต้องมีสัจจะต่อกัน. (ป. สจฺจ; ส. สตฺย).

สัจกิริยา

  [สัดจะ-] น. การตั้งความสัตย์.

สัจธรรม

  [สัดจะทำ] น. ความจริงแท้ เช่น บรรลุสัจธรรม เข้าถึงสัจธรรม.

สัตย-, สัตย์

 [สัดตะยะ-, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ.ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).

สัตยาธิษฐาน

 น. การตั้งความจริงใจเป็นหลักอ้าง เช่น ขอตั้งสัตยาธิษฐานอ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก. (ส. สตฺย + อธิษฺาน; ป. สจฺจ + อธิฏฺาน).

อธิษฐาน

  [อะทิดถาน, อะทิดสะถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. อธิฏฺฐาน).

บารมี

  [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).

Plse MnLght 23-7-56

อาจารย์คะ..หนูขอความเมตตาจากอาจารย์ขอความรู้เกี่ยวกับคำว่า สัจจะอธิฐาน (ไม่แน่ใจว่าเขียนถูกหรือไม่ค่ะ) ช่วงนี้เป็นเทศกาลเข้าพรรษา ตลอดพรรษามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ได้ตั้งสัจจะอธิฐานเป็นจำนึวนไม่น้อย หนูจึงอยากทราบการเขียน อ่าน ความหมายที่ถูกต้องน่ะค่ะ

รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย