บาลีวันละคำ

เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (บาลีวันละคำ 438)

เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

อ่านว่า เพ็ด-ชะ-รัด-ราด-ชะ-สุ-ดา สิ-หฺริ-โส-พา-พัน-นะ-วะ-ดี

แต่ละคำมีคำแปลและความหมายดังนี้ –

เพชร” บาลีเป็น “วชิร” (วะ-ชิ-ระ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไปได้เรื่อย” (คือไม่มีอะไรขัดขวางการไปได้) หรือ “สิ่งที่ไปอย่างไม่มีอะไรขัดขวาง” โดยความมุ่งหมายแล้วคำนี้หมายถึงอสนีบาต หรือสายฟ้า ซึ่งถือว่าเป็น “อาวุธพระอินทร์” ความหมายที่เข้าใจกันคือ แก้วที่แข็งที่สุดและมีนํ้าแวววาวมากกว่าพลอยอื่น ๆ

เพชร” ในที่นี้หมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระนามว่า “เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

รัตน”  บาลีเป็น “รตน” (ระ-ตะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายความยินดี”( คือเพิ่มความยินดีให้) “สิ่งเป็นที่ชื่นชอบแห่งผู้คน” “สิ่งที่นำไปสู่ความยินดี” “สิ่งที่ยังความยินดีให้เกิดขึ้น” ความหมายที่เข้าใจกันคือ แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง

คำนี้ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี

ราช” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก” “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” ความหมายที่เข้าใจกันคือ พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน, พระมหากษัตริย์

สุดา” บาลีเป็น “สุตา” (สุ-ตา) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันบิดามารดาปกครอง” “ผู้เชื่อฟัง” หมายถึง ลูกสาว (ถ้า “สุต” (สุ-ตะ)หมายถึง ลูกชาย)

สิริ” แปลว่า ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความดี, ความเจริญ, โชค, ความมีเดช

โสภา” แปลว่า ความงดงาม, ความเปล่งปลั่ง, ความสวยงาม

พัณณวดี” บาลีเป็น “วณฺณวตี” (วัน-นะ-วะ-ตี) แปลว่า ผู้มีผิวพรรณอันควรชม, ผู้มีผิวพรรณผุดผ่อง

เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี” เป็นพระนามของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

พระนามนี้มีความหมายว่า

พระราชธิดาผู้มีผิวพรรณอันทรงพระสิริโฉม ผู้เป็นดั่งดวงแก้วแห่งมหาวชิราวุธ

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พุทธศักราช 2554 พระชันษา 85 พรรษา

: เสวยสุขทุกทุกภพจบจักรวาล

: กว่าจะพบพระนฤพานผ่านภพเทอญ

บาลีวันละคำ (438)

27-7-56

“วชิร” ในภาษาไทยใช้เป็น วชิร เหมือนบาลี และแปลงรูปเป็นอีกหลายอย่าง คือ วัชร (ตามสันสกฤต), พชร, พัชร, เพชร, วิเชียร, พิเชียร

คำเหล่านี้เราแปลกันว่า “เพชร” อันที่จริงไม่ใช่แปล แต่ควรเรียกว่าทับศัพท์ เพราะต้องถามต่อไปอีกว่า แล้ว “เพชร” แปลว่าอะไร ?

“วชิร” (เพชร) ตามรากศัพท์แปลว่า “สิ่งที่ไปได้เรื่อย” (คือไม่มีอะไรขัดขวางการไปได้) หรือ “สิ่งที่ไปอย่างไม่มีอะไรขัดขวาง” โดยความมุ่งหมายแล้วคำนี้หมายถึงอสนีบาต หรือสายฟ้า ซึ่งถือว่าเป็น “อาวุธพระอินทร์” (เราทับศัพท์ว่า “เพชร” จนไม่ได้นึกถึงความหมายจริงๆ) บาลีวันละคำ (160) 15-10-55

วชิร = สายฟ้า, วชิราวุธ (ศัพท์วิเคราะห์)

– วชเตว น ปฏิหญฺญเต ยสฺส คมนํ เกนจีติ วชิรํ สิ่งที่ไปได้เรื่อย คือไม่มีอะไรขัดขวางการไปได้

วช ธาตุ ในความหมายว่าไป, เป็นไป อิร ปัจจัย

– อปฺปฏิหตํ หุตฺวา วชตีติ วชิรํ สิ่งที่ไปอย่างไม่มีอะไรขัดขวาง

วชิร (บาลี-อังกฤษ)

อสนีบาต, อาวุธของท้าวสักกะ

วชิร-ปูริตา วิย ครุกา กุจฺฉิ “ประหนึ่งว่าเต็มไปด้วยสายฟ้าของท้าวสักกะ”

วชิร-, วชิระ

  [วะชิระ-] น. สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์. (ป.; ส. วชฺร).

เพชร, เพชร-

  [เพ็ด, เพ็ดชะ-] น. ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีนํ้าแวววาวมากกว่าพลอยอื่น ๆ ใช้ทําเครื่องประดับหรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม; โดยปริยายหมายความว่า แข็งที่สุด เช่น เหล็กเพชร ใจเพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).

รตน = รัตนะ, แก้ว, แก้วมณี (ศัพท์วิเคราะห์)

สิ่งที่ขยายความยินดี คือเพิ่มความยินดีให้

สิ่งเป็นที่ชื่นชอบแห่งผู้คน

สิ่งที่นำไปสู่ความยินดี

สิ่งที่ยังความยินดีให้เกิดขึ้น

รตน ๑ (นปุง.) อัญมณี, สมบัติ, รัตนะ (บาลี-อังกฤษ)

รตน ๒ เครื่องวัดความยาว

รัตน-, รัตน์, รัตนะ

  [รัดตะนะ-, รัด, รัดตะ-] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ-จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ-ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ-ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ-มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ-นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ-ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ-ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).

ราชา ๑

  น. พระเจ้าแผ่นดิน, พระมหากษัตริย์. (ป., ส.).

ราชา (ศัพท์วิเคราะห์)

อติเตชวนฺตตาย วิเสเสน ราชเต ทิพฺพเตติ ราชา ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก

ราช ธาตุ ในความหมายว่ารุ่งเรือง อ ปัจจัย

จตูหิ สงฺคหวตฺถูหิ อตฺตนิ ชนํ รญฺเชตีติ ราชา ผู้ยังผู้คนให้ยินดีในตน

รญฺช ธาตุ ในความหมายว่ายินดี พอใจ ณ ปัจจัย ล ณ และ ญฺ พทธ์ อ เป็น อา

ราช = พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ปกครองบ้านเมือง

ราชา” แปลตามรากศัพท์ว่า

1- “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก

ความหมายนี้ประกอบขึ้นจาก ราช (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (ปัจจัย) = ราช

หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

2- “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี

ความหมายนี้ประกอบขึ้นจาก รญฺช (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + (ปัจจัย) ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา = ราช

หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ)

บาลีวันละคำ (96) 12-8-55

สุต = บุตรชาย (ศัพท์วิเคราะห์)

ผู้อันบิดามารดาครอบงำ

ผู้เชื่อฟัง

สุต บุตร สุตา ธิดา (บาลี-อังกฤษ)

สุดา

  น. ลูกสาว. (ป., ส. สุตา); หญิงสาว.

“สิริ – ศรี” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า glory, glorious มีความหมายว่า มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, โชค, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง และเป็นนามของเทพธิดาแห่งโชคลาภ

สิริ, สิรี = สิริ, โชค, มงคล, ความดี, ความสำเร็จ (ศัพท์วิเคราะห์)

กตปุญฺเญหิ เสวียเตติ สิริ สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้ซ่องเสพ

สิ ธาตุ ในความหมายว่าเสพ คบหา, ร ปัจจัย, อิ อิตถีลิงค์

กตปุญฺญปุคฺคเล  นิสฺสิยตีติ สิริ สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้

สิ ธาตุ ในความหมายว่าอาศัย, ร ปัจจัย, อิ อิตถีลิงค์

สิรี (สิริ) (บาลี-อังกฤษ)

๑. ความสวยสดงดงาม, ความสวยงาม

๒. โชค,ศรี, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง Glorious

๓. เทพธิดาแห่งโชคลาภ

ห้องบรรทม (สิริคพฺภ สิริสยน)

โสภา โสภา, ความงาม(ศัพท์วิเคราะห์)

สุนฺทรํ ภาติ ทิปฺปตีติ โสภา ภาวะที่รุ่งเรืองดี

สุ บทหน้า ภา ธาตุ ในความหมายว่ารุ่งเรือง, สว่าง กฺวิ ปัจจัย พฤทธิ์ อุ เป็น โอ ลบ กฺวิ

โสภา (อิต.) (บาลี-อังกฤษ)

ความงดงาม, ความเปล่งปลั่ง, ความสวยงาม

โสภ-, โสภา, โสภี

  [โสพะ-] ว. งาม เช่น สาวโสภา, (ปาก) งาม, ดี, เช่น พูดอย่างนี้ไม่โสภาเลย. (ป. สุภ; ส. ศุภ).

วณฺณ = ผิว, สี, เพศ, ชนิด, พวก, เหล่า, หนังสือ, คุณความดี, ความยกย่องสรรเสริญ, วรรณะ (ชั้นชนในสังคมฮินดู แบ่งเป็น 4 วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร)

ในที่นี้ วณฺณ หมายถึง “สี”

วณฺณ (บาลี-อังกฤษ)

สี, รูปร่าง, ความรุ่งโรจน์โชติช่วง, ความแพรวพราว, ความงาม, สีหน้า, ท่าทาง, สีของผิวเนื้อ

วณฺณ ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ผิว, สี, ชนิด, วรรณฺะ

วรรณะ (ประมวลศัพท์)

ผิว, สี, เพศ, ชนิด, พวก, เหล่า, หนังสือ, คุณความดี, ความยกย่องสรรเสริญ; ชนชั้นที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

วัณณะ

  (แบบ) น. สี, ผิว; ชนิด, อย่าง. (ป.; ส. วรฺณ). (ดู วรรณ-, วรรณะ).

[๑๑๑๒] เทวี  วิย  อจฺฉรูปมา

มชฺเฌ  นาริคณสฺส  โสภสิ

กึ  กมฺมมกาสิ  ภทฺทกํ

เกนาสิ  วณฺณวตี  สุโกสเล ฯ

ดูกรนางเทวีผู้เป็นพระราชธิดาที่รักของพระเจ้าโกศล เจ้างดงามอยู่ในท่ามกลางหมู่นารี เปรียบเหมือนนางเทพอัปสรฉะนั้น เจ้าได้ทำกรรมดีงามอะไรไว้ เจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร?

[๑๑๑๓] อมฺพฏฺกุลสฺส  ขตฺติย

ทาสฺยาหํ  ปรเปสิยา  อหุ

สญฺญตา  จ  ธมฺมชีวินี

สีลวตี  จ  อปาปทสฺสนา ฯ

อุทฺธฏภตฺตํ  อหํ  ตทา

จรมานสฺส  อทาสิ  ภิกฺขุโน

จิตฺตา  สุมนา  สยํ  อหํ

ตสฺส  กมฺมสฺส  ผลํ  มเมทิสนฺติ ฯ

ข้าแต่พระมหากษัตริย์ หม่อมฉันเป็นทาสีทำการรับใช้ของตระกูลกฏุมพี เป็นผู้สำรวมระวัง เป็นอยู่โดยธรรม มีศีล มีความเห็นชอบธรรม. คราวนั้น หม่อมฉันมีจิตโสมนัส ได้ถวายอาหารที่เป็นส่วนของหม่อมฉัน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ด้วยมือตนเอง ผลแห่งกรรมนั้นของหม่อมฉัน เป็นเช่นนี้.     

จบกุมมาสปิณฑชาดก ที่ ๑๐ สัตตกนิบาต

พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 — 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในอีกหนึ่งวันต่อมา

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พระชันษา 85 พรรษา

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย