บาลีวันละคำ

อัฐฬส (บาลีวันละคำ 440)

อัฐฬส

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เก็บคำว่า “อัฐ” (อัด) (คำโบราณ) ไว้ มีความหมายดังนี้ –

1. เรียกเงินปลีกสมัยก่อน 8 อัฐ เท่ากับ 1 เฟื้อง

2. เงิน, เงินตรา เช่น คนมีอัฐ

3. ราคาถูก ในสํานวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า

คำว่า “ฬส” ย่อมาจาก “โสฬส” (โส-ลด) พจน.42 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

1. ชั้นพรหมโลก 16 ชั้น ถือกันว่าเป็นที่มีสุขอย่างยอดยิ่ง

2. ตําราเล่นการพนันครั้งโบราณสําหรับเล่นหวย เล่นถั่ว

3. เรียกเงินปลีกสมัยก่อน 16 อัน เป็น 1 เฟื้อง, เรียกย่อว่า ฬส

ความหมายที่ตรงกันของ “อัฐ” และ “ฬส” (“โสฬส”) ก็คือ เป็นคำเรียกเงินปลีกสมัยก่อน 8 อัฐ (= “อัฐ”) หรือ 16 อัน (= “โสฬส”) เป็น 1 เฟื้อง

มาตราเงินตามวิธีโบราณ เริ่มจาก โสฬส > อัฐ > เฟื้อง > สลึง > บาท > ตำลึง > ชั่ง

จะเห็นได้ว่า โสฬส หรือ อัฐ เป็นหน่วยย่อยที่สุด คำว่า “อัฐฬส” (อัด-ลด) จึงมีความหมายว่า ราคาถูก หรือของที่แทบไม่มีราคา

อัฐ” บาลีเป็น “อฏฺฐ” อ่านว่า อัด-ถะ แปลว่า แปด (จำนวน 8)

โสฬส” บาลีอ่านว่า โส-ละ-สะ แปลว่า สิบหก (จำนวน 16)

สำนวนบาลีเมื่อกล่าวถึงสิ่งที่มีค่ามากน้อยกว่ากันเมื่อเทียบกัน นิยมพูดว่า เอาสิ่งที่มีค่ามากกว่ามาแบ่งออกเป็น “16 ส่วน” แล้วเอา 1 ใน 16 ส่วนนั้นมาแบ่งออกไปอีก 16 ส่วน แบ่งโดยทำนองนี้ถึง 16 ครั้ง เอาทั้งหมดของสิ่งที่มีค่าน้อยกว่ามาเทียบก็ยังมีค่าไม่ถึงส่วนเสี้ยวเดียวของสิ่งที่มีค่ามากกว่าซึ่งแบ่งเป็นครั้งที่ 16 ดังกล่าวแล้ว

: เงินหมื่นล้านแสนล้านที่โกงเขามา ให้ความสุขได้ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของเงินบาทเดียวที่หามาได้โดยสุจริต

————————

(ขยายความเพียงเศษเสี้ยวที่สิบหก ตามคำขอของพระคุณท่าน So Phom)

บาลีวันละคำ (440)

29-7-56

โสฬสญาณ (ประมวลศัพท์)

ญาณ ๑๖ (เป็นศัพท์ที่ผูกขึ้นภายหลัง); ดู ญาณ ๑๖

ญาณ ๑๖

ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป

๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป

๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์

๔.–๑๒. (ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙)

๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน

๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค

๑๕. ผลญาณ ญาณอริยผล

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน;

ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือเรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส;

ดู วิปัสสนาญาณ ๙

สำนวน

๑. กลํ  นาคฺฆติ  โสฬสึ เขามีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ = ไร้ค่าเมื่อเทียบกัน

๒. ปณฺณรสวสฺสุทฺเทสิกา  วา  โสฬสวสฺสุทฺเทสิกา  วา

มีอายุระบุได้ว่า ๑๕ ปี หรือ ๑๖ ปี = สิบห้าหยกๆ สิบหกหย่อนๆ = วัยกำลังงาม

กลํ  นาคฺฆนฺติ  โสฬสึ เขามีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖

วิ.จุ.๒ ข้อ ๒๔๖

สํ.สคาถ ข้อ ๘๒๖

[๒๐๑] โก  จ  ภิกฺขเว  รูปานํ  อสฺสาโท  ฯ  เสยฺยถาปิ  ภิกฺขเว 

ขตฺติยกญฺญา  วา  พฺราหฺมณกญฺญา  วา  คหปติกญฺญา  วา 

ปณฺณรสวสฺสุทฺเทสิกา  วา  โสฬสวสฺสุทฺเทสิกา  วา  นาติทีฆา  นาติรสฺสา 

นาติกิสา  นาติถูลา  นาติกาฬิกา  นาจฺโจทาตา  ปรมา  สา  ภิกฺขเว 

ตสฺมึ  สมเย  สุภา  วณฺณนิภาติ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นคุณของรูปทั้งหลาย?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่านางสาวเผ่ากษัตริย์ เผ่าพราหมณ์

หรือเผ่าคฤหบดี มีอายุระบุได้ว่า ๑๕ ปี หรือ ๑๖ ปี

ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป

ไม่ดำเกินไป ไม่ขาวเกินไป  

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น นางคนนั้นงดงามเปล่งปลั่งเป็นอย่างยิ่ง ใช่หรือไม่เล่า?

มหาทุกขขันธสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระไตปิฎกเล่ม ๑๒ ข้อ ๒๐๑

โสฬส

  [-ลด] ว. สิบหก.น. ชั้นพรหมโลก ๑๖ ชั้น ถือกันว่าเป็นที่มีสุขอย่างยอดยิ่ง; ตําราเล่นการพนันครั้งโบราณสําหรับเล่นหวย เล่นถั่ว; เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๑๖ อัน เป็น ๑ เฟื้อง, เรียกย่อว่า ฬส. (ป.).

อัฐ ๑

  [อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสํานวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.

อัฐ- ๒

  [อัดถะ-] ว. แปด. (ป. อฏฺ).

So Phom ๒๑ ก.ค.๕๖

อ. คำว่า “โสฬส ” นอกจากแปลว่า สิบหก แล้วสามารถแปลความหมายอื่นได้หรือเปล่า (ขอบอกตรง ๆ เป็นพระมหา.. แต่ไม่แตกภาษาบาลี หรือภาษาไทยเท่าใดนัก) ถ้าอาจารย์พอมีเวลาขอความกรุณาขยายความให้หน่อย สาธุ

อัฐ

อัฐ ๑

 [อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสํานวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.

เฟื้อง

 (โบ) น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๑ เฟื้อง.

สลึง

 [สะหฺลึง] น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๕ สตางค์ เท่ากับ ๑ สลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ หมายความว่า ๒ สลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม.

สตางค์

  [สะตาง] น. เหรียญกระษาปณ์ปลีกย่อย ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท, อักษรย่อว่า สต., โดยปริยายหมายถึงเงินที่ใช้สอย เช่น วันนี้ไม่มีสตางค์ติดตัวมาเลย เขาเป็นคนมีสตางค์; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๐.๑๕ กรัม; (โบ) มาตราวัดน้ำฝนเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของทศางค์.

ตอบ auttapol Sk

1 ชื่อตามที่พระท่านตั้ง แปลว่า กำลังแปด ก็ถูกต้องครับ

2 มาตราเงินไทยสมัยก่อน คือ เฟื้อง สลึง บาท ตำลึง ชั่ง

๑ เฟื้อง แบ่งเป็น ๘ ส่วน เรียกว่า  อัฐ ซึ่งแปลว่า แปด เขียนตามรูปศัพท์เดิมว่า อฏฺฐ (อัฏฐะ) ดังนั้น ตามหนังสือพระยาศรีฯ ก็ถูกอีก แต่ใช้คนละความหมายกัน

ขอถามบ้างครับ

ตามมาตราเงินไทย ว่า ๒๕ สตางค์ เป็น ๑ สลึง

มาตราย่อยจาก สลึง ลงมา คือ เฟื้อง

ถ้า ๘ อัฐ = ๑ เฟื้อง

๑ สลึง = ? เฟื้อง

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย