บาลีวันละคำ

เยาว์ (บาลีวันละคำ 442)

เยาว์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า

เยาว์ (เยา) : อ่อนวัย, รุ่นหนุ่ม, รุ่นสาว, เช่น เยาว์วัย วัยเยาว์. (แผลงมาจาก ยุว)”

ยุว” บาลีอ่านว่า ยุ-วะ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ปะปนกัน” คือมีลักษณะผสมกันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ หรือพ้นจากวัยเด็ก แต่ยังไม่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่

ความหมายก็คือ คนหนุ่มคนสาว ที่เรียกว่า “เยาวชน” นั่นเอง

เยาวชน” พจน.42 ว่า บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ (ความหมายตามหลักกฎหมาย)

กระบวนการกลายคำ “ยุว” เป็น “เยาว์” คือ

1. แปลง อุ ที่ ยุ เป็น โอ = โยว (โย-วะ)

2. แปลง โอ เป็น เอา = เยาว (เยา-วะ)

(ถ้าตามสูตรบาลีต้องบอกว่า แปลง โอ เป็น อว (อะ-วะ) เสียง “อว” ในบาลีเท่ากับ “เอา” ในเสียงไทย)

3. ในภาษาไทย ถ้าอยู่ท้ายคำ ไม่ออกเสียง จึงการันต์ที่ = เยาว์ อ่านว่า เยา

คำว่า “เยาว์” จึงใช้กับคนเท่านั้น

ถ้าจะให้หมายถึงสินค้ามีราคาถูก หรือมีราคาพอสมควร ต้องเขียนว่า “ย่อมเยา” (ไม่มี ว การันต์)

เยา” เป็นคำไทย มีความหมายว่า เบา, อ่อน, น้อย

เยา” ไทย เคยถูก “จับบวช” เป็น “เยาว์” บาลี โดยมีผู้ทำท่าจะรู้พยายามอธิบายผิดให้เป็นถูกว่า “ราคาย่อมเยาว์” (มี ว การันต์) น่าจะใช้ได้ เพราะเป็นการพูดโดยอุปมาโวหาร คือเปรียบราคาสินค้าเหมือนอายุคน “ราคาย่อมเยาว์” ก็คืออายุของราคาสินค้ายังน้อยอยู่ คือมีราคาถูก หรือมีราคาพอสมควร อันเป็นความหมายเดียวกับ “เยา” นั่นเอง

ราคาย่อมเยาว์” – ผิด

ราคาย่อมเยา” – ถูก

: แก้คำผิดให้ถูก

: ดีกว่าอธิบายคำผิดให้เป็นถูก

บาลีวันละคำ (442)

31-7-56

ยุว = ชายหนุ่ม, คนหนุ่ม (ศัพท์วิเคราะห์)

ยวตีติ ยุวา ผู้ปะปนกัน คือมีลักษณะผสมกันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่

ยุ ธาตุ ในความหมายว่าปะปน, ผสม อ ปัจจัย พฤทธิ์ อุ เป็น โอ แปลง โอ เป็น อุว ลง สิ วิภัตติ แปลง อ กับ สิ เป็น อา

โยพฺพญฺญ = วัยหนุ่ม, ความเป็นหนุ่ม

ยุวสฺส ภาโว โยพฺพญฺญํ ภาวะแห่งคนหนุ่ม

ยุว + ณฺย พฤทธิ์ อุ เป็น โอ ซ้อน วฺ แปลง วฺว เป็น พฺพ ณฺย เป็น ญฺญ

โยพฺพน = วัยหนุ่ม, ความเป็นหนุ่ม

ยุวสฺส ภาโว โยพฺพนํ ภาวะแห่งคนหนุ่ม

ยุว + ณ พฤทธิ์ อุ เป็น โอ ซ้อน วฺ แปลง วฺว เป็น พฺพ ลง น อาคม

ยุว (บาลี-อังกฤษ)

(ตามปกติเป็น นฺ การันต์ (= ยุวนฺ) แต่บาลีรุ่นหลังแสดงการแจกวิภัตติตาม อ การันต์)

ชายหนุ่ม  a youth

yavan=Lat. juvenis, Lith. jáunas young (หนุ่ม);

Lat. juvencus “calf” (ลูกวัว); juventus youth

youth (สอ เสถบุตร)

ความหนุ่ม, เวลาเป็นหนุ่ม, ความเป็นสาว, จำพวกหนุ่มสาว, ยุวชน, ดรุณ, เด็กหนุ่ม, เยาว์, อายุยังน้อย, ของคนหนุ่ม, อย่างเด็กหนุ่ม

young

๑. หนุ่ม, สาว, เยาว์, อ่อน, เด็ก, ลูก

๒. อ่อนหัด, ใหม่

เยา ๑

  น. อาการที่ทองไม่แล่นติดต่อกันโดยตลอดในการหล่อ.

เยา ๒

  ว. เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ย่อม เป็น ย่อมเยา เช่น ราคาย่อมเยา.

เยาว-, เยาว์

  [เยาวะ-, เยา] ว. อ่อนวัย, รุ่นหนุ่ม, รุ่นสาว, เช่น เยาว์วัย วัยเยาว์. (แผลงมาจาก ยุว).

เยาวชน

  (กฎ) น. บุคคลอายุเกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์.

เยาวน-

  [-วะนะ-] น. ความหนุ่ม, ความสาว, ความเป็นหนุ่มเป็นสาว. (ส. ยุวนฺ; ป. ยุว ว่า หนุ่ม, สาว).

เยาวพา

  [-วะ-] น. หญิงสาวสวย. (แผลงมาจาก ยุพา).

เยาวพาน

  [-วะพาน] น. ชายหนุ่ม.ว. หนุ่ม, รุ่น. (แผลงมาจาก ยุวาน).

เยาวมาลย์

  น. หญิงสาวสวย.

เยาวยอด

  ว. สวยที่สุด.

เยาวราช

  น. ยุพราช, ราชโอรสที่ยังเยาว์พระชนม์.

เยาวเรศ

  น. นางกษัตริย์, หญิงสาวสวย.

เยาวลักษณ์

  น. หญิงมีลักษณะสวย.

ย่อมเยา

  ว. มีราคาถูก, มีราคาพอสมควร.

ยุพา, ยุพาน, ยุพาพาล, ยุพาพิน

  (กลอน) น. หญิงสาวสวย.

ยุว-, ยุวา, ยุวาน

  น. ชายหนุ่ม.ว. หนุ่ม, รุ่น. (ป.; ส. ยุวนฺ, ยุวานก).

ยุวชน

  น. เด็กวัยรุ่น.

ยุวดี

  น. หญิงรุ่น, หญิงสาว. (ป., ส. ยุวตี).

ยุวราช, ยุวราชา

  น. พระราชกุมารที่ได้รับอภิเษกหรือทรงรับแต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งที่จะสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป. (ป., ส.).

ราค ราคะ, ความกำหนัด, ความยินดี, ตัณหา (ศัพท์วิเคราะห์)

รญฺชนํ รญฺชนฺติ วา อเนนาติ ราโค ภาวะเป็นเหตุให้กำหนัด

รญฺช ธาตุ ในความหมายว่ากำหนัด, ยินดี ณ ปัจจัย ลบ ญ แปลง ช เป็น ค ลบ ณ พฤทธิ์ อ เป็น อา

ราค (บาลี-อังกฤษ)

๑ สี, สีย้อม, การทำให้เป็นสี colour, hue; colouring, dye

๒ ความกำหนัด, ตัณหา excitement, passion

ราค-, ราคะ

  น. ความกําหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. (ป., ส.).

ราคจริต

  น. แนวโน้มไปในทางกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ, ความมีใจเอนเอียงไปในทางรักสวยรักงาม.

ราคา

  น. มูลค่าของสิ่งของที่คิดเป็นเงินตรา; จํานวนเงินซึ่งได้มีการชําระหรือตกลงจะชําระในการซื้อขายทรัพย์สิน, โดยปริยายหมายความว่า ค่า, คุณค่า, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น เขาทำตัวเป็นคนไม่มีราคา.

ราคาตลาด

  (กฎ) น. ราคาที่ซื้อขายกันทั่วไปในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งและในขณะใดขณะหนึ่ง, ราคาท้องตลาด ก็เรียก.

ราคิน

  น. ราคี. (ส.).

ราคี ๑

  น. ผู้มีความกําหนัด. (ป., ส.).

ราคี ๒

  น. ความมัวหมอง, มลทิน, เช่น หญิงคนนี้มีราคี. (ส. ราคินฺ).

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย