บาลีวันละคำ

ธนสารสมบัติ (บาลีวันละคำ 3,873)

ธนสารสมบัติ

คำที่ยังไม่ได้บัญญัติไว้ในพจนานุกรม

อ่านตามความรักภาษาว่า ทะ-นะ-สา-ระ-สม-บัด

อ่านตามความรักง่ายว่า ทะ-นะ-สาน-สม-บัด

ประกอบด้วยคำว่า ธน + สาร + สมบัติ

(๑) “ธน” 

บาลีอ่านว่า ทะ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ธนฺ (ธาตุ = ส่งเสียง) + (อะ) ปัจจัย 

: ธนฺ + = ธน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้คนออกเสียงว่าเป็นของเรา” (คือแสดงความเป็นเจ้าของด้วยความชื่นชม)

(2) ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น  

: ชนฺ + = ชน > ธน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งยังภาวะคนจนให้เกิด” (คำแปลนี้ฟังเหมือนขัดแย้ง คือถ้ามี “ธน” ความจนก็จะไม่เกิด แต่มองในมุมกลับก็คือ “เพราะไม่มีสิ่งนี้ จึงทำให้มีคนจน”) 

ธน” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ทรัพย์สมบัติ, โดยปกติได้แก่ทรัพย์สินเงินทอง, ความร่ำรวย, สมบัติ (wealth, usually wealth of money, riches, treasures)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ธน, ธน– : (คำนาม) ทรัพย์สิน. (ป., ส.).”

(๒) “สาร” 

บาลีอ่านว่า สา-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) สรฺ (ธาตุ = ขยาย, พิสดาร) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (สรฺ > สาร)

: สรฺ + = สรณ > สร > สาร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายออก

(2) สา (ธาตุ = มีกำลัง, สามารถ) + ปัจจัย

: สา + = สาร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีกำลัง

สาร” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) สำคัญ, ประเสริฐยิ่ง, แข็งแรง (essential, most excellent, strong)

(2) ชั้นในที่สุด และส่วนที่แข็งที่สุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, แก่นหรือแกนของไม้ (the innermost, hardest part of anything, the heart or pith of a tree)

(3) แก่นสาร, ส่วนสำคัญ, ส่วนที่ดีที่สุด (substance, essence, choicest part)

(4) คุณค่า (value)

(๓) “สมบัติ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “สมฺปตฺติ” อ่านว่า สำ-ปัด-ติ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ปทฺ (ธาตุ = ถึง, บรรลุ) + ติ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ (สํ > สมฺ), แปลง (ป)-ทฺ เป็น ตฺ

: สํ > สมฺ + ปทฺ = สมฺปทฺ + ติ = สมฺปทฺติ> สมฺปตฺติ (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความถึงพร้อม” (คือความสำเร็จ) “ภาวะที่ถึงพร้อม

ขยายความว่า ถึงพร้อมด้วยสิ่งใด หรือบรรลุถึงสิ่งใด ก็เรียกสิ่งนั้นว่า “สมฺปตฺติ

สมฺปตฺติ” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) ความสำเร็จ, การบรรลุ; ความสุข, ความสำราญ, สมบัติ (success, attainment; happiness, bliss, fortune)

(2) ความเลิศลอย, ความดีเด่นหรือสง่างาม(excellency, magnificence) 

(3) เกียรติ (honour)

(4) ความรุ่งเรือง, ความสวยสดงดงาม (prosperity, splendor)

สมฺปตฺติ” ในภาษาไทยใช้ว่า “สมบัติ” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมบัติ ๑ : (คำนาม) ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้นที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงานมาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. (ป., ส. สมฺปตฺติ).”

ในภาษาไทย ความหมายเด่นของ “สมบัติ” ก็คือ ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ แต่ในภาษาบาลี “สมฺปตฺติ” มีความหมายมากกว่านั้น ดูคำแปลภาษาอังกฤษที่ตรงกับความเข้าใจในภาษาไทยมีเพียงคำว่า fortune เท่านั้น คำแปลอื่นๆ ไม่ได้หมายถึงทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้โดยตรงแต่อย่างใด

การประสมคำในภาษาไทย :

ธน + สาร = ธนสาร อ่านว่า ทะ-นะ-สาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ธนสาร : (คำนาม) ทรัพย์สมบัติที่เป็นแก่นสาร, ทรัพย์สมบัติ. (ป.).”

ธน + สมบัติ = ธนสมบัติ อ่านว่า ทะ-นะ-สม-บัด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ธนสมบัติ : (คำนาม) การถึงพร้อมแห่งทรัพย์, ทรัพย์สมบัติ. (ป.).”

อภิปรายขยายความ :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “ธนสาร” และ “ธนสมบัติ” 

น่าจะมีผู้เอาคำว่า “ธนสาร” กับคำว่า “ธนสมบัติ” มาพูดรวมกันเป็น “ธนสารสมบัติ” เกิดเป็นคำใหม่ขึ้นมาและมีคนนิยมพูดกันอยู่ นับว่าเป็นความสามารถอย่างหนึ่งของคนไทย

คำว่า “ธนสาร” ถ้าไม่มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า ทะ-นะ-สาน ถ้ามีคำอื่นมาสมาส เช่น “ธนสารสมบัติ” ตามหลักภาษาต้องอ่านว่า ทะ-นะ-สา-ระ-สม-บัด

แต่เชื่อได้เลยว่า คำนี้คนทั่วไปจะอ่านกันตามความสะดวกปากว่า ทะ-นะ-สาน-สม-บัด แล้วก็จะมีคนออกมาบอกว่า เป็นการอ่านตามความนิยม ไม่ใช่อ่านผิด และไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่ประการใด 

นี่ก็นับว่าเป็นความสามารถอีกอย่างหนึ่งของคนไทย-คือสามารถอธิบายผิดให้เป็นถูกได้

คำว่า “ธนสารสมบัติ” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อ่านผิดแต่บอกว่าอ่านถูก ยังไม่น่ากลัว

: ทำผิดแต่คิดว่าไม่ได้ทำชั่ว นี่สิน่าเกรง

#บาลีวันละคำ (3,873)

19-1-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

……………………………

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *