บาลีวันละคำ

เดช กับ เดชน์ (บาลีวันละคำ 3,874)

เดช กับ เดชน์ 

ต่างกันอย่างไร

อ่านว่า เดด เหมือนกันทั้งสองคำ

(๑) “เดช” 

บาลีเป็น “เตช” อ่านว่า เต-ชะ รากศัพท์มาจาก ติชฺ (ธาตุ = ทำให้ร้อน, ลับให้คม) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ติ-(ชฺ) เป็น เอ (ติชฺ > เตช)

: ติชฺ + = ติชณ > ติช > เตช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เผาภูตรูปและอุปาทายรูปให้มอดไหม้” หมายถึง ความร้อน, เปลวไฟ, ไฟ, แสงสว่าง; ความเปล่งปลั่ง, ความรุ่งโรจน์, ความโชติช่วง, ความงดงาม, พลัง, ความแข็งแรง, อำนาจ (heat, flame, fire, light; radiance, effulgence, splendour, glory, energy, strength, power)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกว่า “เตช” แปลตามศัพท์ว่า “sharpness” (ความคม)

บาลี “เตช” ในภาษาไทยใช้เป็น “เดช” “เดชะ” และ “เดโช

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) เดช, เดชะ : (คำแบบ) (คำนาม) อํานาจ; ความร้อน, ไฟ. (ป. เตช; ส. เตชสฺ).

(2) เดโช : (คำนาม) อํานาจ; ความร้อน, ไฟ. (ป. เตช; ส. เตชสฺ).

(๒) “เดชน์

บาลีเป็น “เตชน” อ่านว่า เต-ชะ-นะ รากศัพท์มาจาก ติชฺ (ธาตุ = ลับให้คม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แผลง อิ ที่ ติ-(ชฺ) เป็น เอ (ติชฺ > เตช)

: ติชฺ + ยุ > อน = ติชน > เตชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาเหลาให้แหลม” หมายถึง ลูกศร, ปลายลูกศร (an arrow, the point or shaft of an arrow)

บาลี “เตชน” ในภาษาไทยใช้เป็น “เดชน์” (เดด) และ “เดชนะ” (เด-ชะ-นะ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

เดชน์, เดชนะ : (แบบ) (คำนาม) ลูกศร เช่นประชาธิปกศักดิเดชน์. (ป., ส.).”

ขยายความ :

เดช” และ “เดชน์” ในบาลีมาจากรากศัพท์เดียวกัน คือ ติชฺ ธาตุ (อ่านว่า ติ-ชะ-ทาด) ในความหมายว่า “ทำให้ร้อน, ลับให้คม” แต่ลงปัจจัยต่างกัน รูปศัพท์จึงใช้ในความหมายที่ต่างกัน

เดช” ก็คือ “เดช” ที่เราคุ้นกันในภาษาไทย

เดชน์” คำนี้เราแทบจะไม่รู้จัก แปลว่า ลูกศร

เดช” เราใช้กันอยู่บ่อยๆ

เดชน์” แทบจะไม่มีใครใช้

เราเห็นแต่ “เดช” แต่ไม่ได้นึกว่าจะมี “เดชน์” อีกด้วย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มีบุญกุศลเป็นอันมากที่เราไม่เคยทำ

: เหมือน-มีคำเป็นอันมากที่เราไม่เคยรู้จัก

#บาลีวันละคำ (3,874)

20-1-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

……………………………

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *