บาลีวันละคำ

มัคคุเทศก์ (บาลีวันละคำ 1,459)

มัคคุเทศก์

อ่านว่า มัก-คุ-เทด

ประกอบด้วย มัคค + อุเทศก์

(๑) “มัคค

บาลีเป็น “มคฺค” (มัก-คะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มคฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง; แสวงหา) + ปัจจัย

: มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ทางเป็นเครื่องไปสู่ที่ต้องการได้โดยตรง” (2) “ที่อันพวกคนเดินทางแสวงหา” (3) “ธรรมที่ยังบุคคลให้ถึงพระนิพพาน” (4) “ทางอันผู้ต้องการพระนิพพานดำเนินไป

(2) มชฺชฺ (ธาตุ = สะอาด, หมดจด) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ชฺชฺ ที่ (ม)-ชฺชฺ เป็น คฺค

: มชฺช + = มชฺชณ > มชฺช > มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่สะอาดโดยพวกคนเดินทาง

(3) (นิพพาน) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ซ้อน คฺ ระหว่าง + คมฺ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (คมฺ > )

: + คฺ + คมฺ = มคฺคม > มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน

(4) (กิเลเส มาเรติ = ฆ่ากิเลส) + (คจฺฉติ = ไป), ซ้อน คฺ

: + คฺ + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “วิธีที่ไปฆ่ากิเลส

มคฺค” ในบาลีหมายถึง –

(1) ถนน, ถนนใหญ่, ทาง, ทางเท้า (a road, high road, way, foot-path)

(2) ทางแห่งศีลธรรมและสัมมาชีพ, สัมมามรรคหรือทางที่ชอบธรรม (the road of moral & good living, the path of righteousness) คือมรรคในอริยสัจสี่

(3) ขั้นตอนของการบรรลุธรรม (Stage of righteousness) คือมรรคที่คู่กับผล

(๒) “อุเทศก์

บาลีเป็น “อุทฺเทสก” (อุด-เท-สะ-กะ) ประกอบด้วย อุ (คำอุปสรรค = ขึ้น) + เทสก, ซ้อน ทฺ ระหว่าง อุ + เทสก

เทสก” รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ), แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

อุ + ทฺ + ทิสฺ = อุทฺทิสฺ + ณฺวุ > อก = อุทฺทิสก > อุทฺเทสก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยกขึ้นแสดง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อุทฺเทสก” ว่า assigning, defining, determining (จัดให้, จำกัดขอบเขต, กำหนด) ซึ่งไม่ตรงกับความหมายในที่นี้

แต่ที่คำว่า “อุทฺเทส” ซึ่งมีรากศัพท์เดียวกัน แต่เป็นอาการนาม (คำที่แสดงกิริยาอาการ) แปลไว้ว่า pointing out, setting forth, proposition, exposition, indication, programme (การชี้ให้เห็น, การยกขึ้นชี้แจง, อุทเทศ, การอธิบาย, การชี้บอก, กำหนดการ) ตรงกับความหมายในที่นี้

อุทฺเทสก” สันสกฤตเป็น “อุทฺเทศก

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

อุทฺเทศก : (คุณศัพท์) ซึ่งอธิบายหรือแสดง; explanatory or illustrative; – (คำนาม) อุทาหรณ์; มารคุเทศก์; ผู้แสดง; an example; a guide; an illustrator.”

มคฺค + อุทฺเทสก = มคฺคุทฺเทสก > มัคคุเทศก์ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยกทางขึ้นแสดง

เป็นที่เข้าใจกันว่า “มัคคุเทศก์” ตรงกับคำอังกฤษว่า guide

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล guide เป็นบาลีว่า –

(1) maggadesaka มคฺคเทสก (มัก-คะ-เท-สะ-กะ) = ผู้ชี้ทาง

(2) netu เนตุ (เน-ตุ) = ผู้นำ

ในคัมภีร์มีศัพท์ว่า “มคฺคเทสก” (มคฺค + เทสก) แปลว่า ผู้ชี้ทาง, มัคคุเทศก์ (one who points out the way, a guide) ซึ่งมีความหมายตรงกับที่ใช้ในภาษาไทยว่า “มัคคุเทศก์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มัคคุเทศก์ : (คำนาม) ผู้นําทาง, ผู้ชี้ทาง, ผู้บอกทาง; ผู้นําเที่ยว. (ป. มคฺค + อุทฺเทสก).”

ดูก่อนภราดา!

: เมื่อจะเป็นผู้นำทางทั้งที

: จงกล้าที่จะทำดีให้โลกดู

————-

(หยิบฉวยโดยวิสาสะมาจากคำว่า “ผู้ยกเส้นทางขึ้นแสดง” ของพระคุณท่าน Sunant Phramaha)

31-5-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย