บาลีวันละคำ

ภัสสสัปปายะ – 1 ในสัปปายะ 7 (บาลีวันละคำ 3,882)

ภัสสสัปปายะ – 1 ในสัปปายะ 7

ภัสสสัปปายะ – 1 ในสัปปายะ 7 

การพูดคุยที่เหมาะกัน

…………..

สัปปายะ” หมายถึง สิ่งที่สบาย, สภาพเอื้อ, สิ่งที่เกื้อกูล, สิ่งที่เอื้อต่อการอยู่ดีและการที่จะพัฒนาชีวิต, สิ่งที่เหมาะกัน อันเกื้อหนุนในการเจริญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย มี 7 อย่าง คือ 

1. อาวาสสัปปายะ = ที่อยู่อันเหมาะ

2. โคจรสัปปายะ = แหล่งอาหารอำนวย

3. ภัสสสัปปายะ = การพูดคุยที่เหมาะกัน 

4. ปุคคลสัปปายะ = บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน 

5. โภชนสัปปายะ = อาหารที่เหมาะกัน 

6. อุตุสัปปายะ = ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะ 

7. อิริยาปถสัปปายะ = อิริยาบถที่เหมาะกัน 

…………..

ภัสสสัปปายะ” อ่านว่า พัส-สะ-สับ-ปา-ยะ

ประกอบด้วยคำว่า ภัสส + สัปปายะ 

(๑) “ภัสส” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ภสฺส” อ่านว่า พัด-สะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ภสฺสฺ (ธาตุ = กล่าว, ด่า, บ่น, พูดคุย) + (อะ) ปัจจัย

: ภสฺสฺ + = ภสฺส แปลตามศัพท์ว่า “การพูด” “คำเป็นเครื่องพูด

(2) ภาสฺ (ธาตุ = กล่าว, พูดคุย) + (อะ) ปัจจัย, ซ้อน สฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (ภาสฺ + สฺ + ), รัสสะ อา ที่ ภสฺ เป็น อะ (ภาสฺ > ภส)

: ภาสฺ + สฺ + = ภาสฺส > ภสฺส แปลตามศัพท์ว่า “การพูด” “คำเป็นเครื่องพูด

ภสฺส” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง คำพูด, การสนทนา, วิธีพูด, การโต้ตอบ (speech, conversation, way of talking, disputation)

(๒) “สัปปายะ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “สปฺปาย” อ่านว่า สับ-ปา-ยะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า) + อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ลบ , แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (หรือลบนิคหิตแล้วซ้อน ), แปลง อิ ที่ธาตุเป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย แล้วทีฆะ อะ ที่ -(ย) เป็น อา ด้วยอำนาจ ปัจจัย (อย > อาย

: สํ > สปฺ + = สปฺป + อา = สปฺปา + อิ > เอ > อย = สปฺปย + = สปฺปยณ > สปฺปย > สปฺปาย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไปได้พร้อมทั่วถึง” = อยากจะไป อยากจะทำอะไร ก็ไปได้ทำได้ไม่ติดขัด 

สปฺปาย” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) เป็นคำนาม: สิ่งที่เป็นประโยชน์, คุณประโยชน์, การช่วยเหลือ (something beneficial, benefit, help)

(2) เป็นคุณศัพท์: น่าเป็นจริง, มีประโยชน์, เหมาะสม, สมควร (likely, beneficial, fit, suitable)

สปฺปาย” ในภาษาไทยใช้ว่า “สบาย” (โปรดสังเกตว่าไม่ต้องประวิสรรชนีย์ที่ -) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

(1) อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มีวิตกกังวลใด ๆ.

(2) สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัวสบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย.

(3) พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย.

(4) ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือนเมื่อก่อน.

(5) ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้.

(6) มีความพอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย.

ภสฺส + สปฺปาย = ภสฺสสปฺปาย (พัด-สะ-สับ-ปา-ยะ) แปลว่า “การพูดเป็นสัปปายะ” คือการพูดคุยที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม

ภสฺสสปฺปาย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ภัสสสัปปายะ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [286] สัปปายะ 7 บอกไว้ว่า 

…………..

3. ภัสสสัปปายะ (ภัสสะ-) : การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ ข่าวสารและสื่อสารที่เอื้อปัญญา (suitable speech) บางแห่งเรียก ธัมมัสสวนสัปปายะ

…………..

ขยายความ :

ขอนำคำขยายความคำว่า “ภัสสสัปปายะ” ที่ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาเสนอในที่นี้ หากมีถ้อยคำใดอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ พึงศึกษาหาความรู้ต่อไป พึงตั้งอารมณ์ว่าอ่านเพื่อเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งการศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม ก็จะเป็นมหากุศล

ข้อความในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นดังนี้ –

(สำนวนแปลของนาวาอากาศเอก เมฆ อำไพจริต อดีตหัวหน้ากองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ, ผู้สอบเปรียญธรรม 9 ประโยคด้วยวิธีสอบข้อเขียนได้เป็นคนแรกของประเทศไทย)

…………..

บทว่า การพูดคุย มีความว่า ถ้อยคำที่นับเนื่องในติรัจฉานกถา 32 จัดเป็นอสัปปายะ เพราะมันเป็นไปเพื่อความอันตรธานแห่งนิมิตของเธอ ถ้อยคำที่อิงกถาวัตถุ 10 จัดเป็นสัปปายะ แม้ถ้อยคำอิงกถาวัตถุนั้นเล่า ก็พึงพูดแต่พอประมาณ

ที่มา:

วิสุทธิมรรคฉบับบาลี ภาค 1 หน้า 162

สุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 102

…………..

คำแนะนำ: พึงศึกษาหาความรู้ต่อไปว่า ติรัจฉานกถา 32 และ กถาวัตถุ 10 คืออะไรบ้าง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: บอกตัวเองว่า-อย่าฟัง

: ง่ายกว่าสั่งคนอื่นว่า-อย่าพูด

#บาลีวันละคำ (3,882)

28-1-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

……………………………

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *