บาลีวันละคำ

จารีต (บาลีวันละคำ 546)

จารีต

อ่านว่า จา-รีด

บาลีเป็น “จาริตฺต” อ่านว่า จา-ริด-ตะ

จาริตฺต” รากศัพท์คือ จรฺ” (ธาตุ = ประพฤติ, บำเพ็ญ, ศึกษา) + อิ (สระ ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “อาคม”) + ปัจจัย : จร > จาร + อิ = จาริ + > ตฺต = จาริตฺต แปลตามศัพท์ว่า “-ที่ประพฤติกันมาแล้ว” หมายถึง ประเพณี, ความประพฤติหรือการปฏิบัติที่ทำต่อกันมา, การปฏิบัติ, ระเบียบการ, วิธีการ, พฤติกรรม, ความประพฤติ, การติดต่อเยี่ยมเยียน, การประสมเข้าด้วยกัน

จาริตฺต เขียนในภาษาไทยเป็น “จารีต” พจน.42 บอกไว้ว่า “ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน

ในภาษาไทย “จารีต” เมื่อพูดควบกับ “ประเพณี” (= สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี) ทำให้เกิดคำเป็นชุด คือ “จารีตประเพณี” “ขนบประเพณี” และ “ธรรมเนียมประเพณี” พจน.42 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

1. จารีตประเพณี : ประเพณีที่นิยมและประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว

2. ขนบประเพณี : จารีตประเพณีที่วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว

3. ธรรมเนียมประเพณี : ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ถ้าฝ่าฝืนก็ไม่ถือว่าผิดหรือชั่ว

ตัวอย่างในวัฒนธรรมไทย (ตามสถานภาพของคนทั่วไป) :

1. ลูกต้องอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ และต้องเคารพเชื่อฟัง ถ้าลูกคนไหนไม่ประพฤติเช่นนี้ นับว่าผิด จารีตประเพณี

2. ผู้น้อยต้องแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ก่อน ถ้าผู้ใหญ่ไปแสดงความเคารพผู้น้อยก่อน นับว่าผิด ขนบประเพณี

3. คนไทยแสดงความเคาพประกอบการทักทายกันด้วยการประนมมือไหว้และประนมมือรับ ถ้าแสดงกิริยาอย่างอื่น (เช่นผงกศีรษะ) นับว่าผิด ธรรมเนียมประเพณี

: สังคมวิปริต เพราะคนประพฤติผิดประเพณี

——————–

(ใช้หนี้ตามคำขอของ Sompong Duangsawai)

13-11-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย