บาลีวันละคำ

มโน (บาลีวันละคำ 705)

มโน

อ่านว่า มะ-โน

มโน” รูปคำเดิมเป็น “มน” (มะ-นะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มน (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย

: มน + = มน แปลตามศัพท์ว่า “ตัวรู้

(2) มา (ธาตุ =นับ, กะ, ประมาณ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, ลบสระที่สุดธาตุ

: มา > + ยุ > อน : + อน = มน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กำหนดนับอารมณ์

มโน” (< มน) หมายถึง ใจ, ความคิด (mind, thought)

มน” แจกรูปด้วยวิภัตติที่หนึ่ง เอกพจน์ จะเป็น “มโน” และตามกฎบาลีไวยากรณ์กำหนดว่า เมื่อเป็นส่วนหน้าของคำสมาส ให้คงรูปเป็น มโน– เช่น มน + รม แทนที่จะเป็น มนรม ก็เป็น มโนรม

ในภาษาไทย ใช้คำบาลีที่ขึ้นต้นด้วย มโน– หลายคำ เช่น

มโนกรรม : การกระทำทางใจ, การคิด, ความคิด

มโนคติ : ความคิด

มโนทุจริต : ความประพฤติชั่วทางใจ มี 3 อย่าง ได้แก่ (1) ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น (2) ความพยาบาท (3) ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

มโนธรรม : ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี, ความรู้สึกว่าอะไรควรทําอะไรไม่ควรทํา

มโนภาพ : ความคิดเห็นเป็นภาพขึ้นในใจ

โดยเฉพาะคำว่า “มโนภาพ” มักนำไปใช้ในความหมายว่า วาดภาพในใจเอาเอง คือคิดเอาเอง หรือสร้างจินตนาการเอาเองโดยไม่รู้ไม่เข้าใจหรือไม่ยอมรับข้อเท็จจริง

เมื่อพูดเป็นคำคะนอง (ภาษาปาก) ตัด “-ภาพ” ออก เหลือแต่ “มโน-” (ทำนองเดียวกับ “สนใจ” พูดเพียง “สน”) เช่น “เขาเป็นพวกมโน” หมายความว่า เขาเป็นคนที่ชอบคิดเอาเองโดยไม่รู้ไม่ฟังข้อเท็จจริง

คำคะนอง แต่ควรคะนึง :

มโนปุพฺพงฺคมา  ธมฺมา

มโนเสฏฺฐา  มโนมยา

สรรพสิ่งมีมโนเป็นตัวนำ

มโนเป็นนาย สัมฤทธิ์ผลได้ด้วยมโน

#บาลีวันละคำ (705)

22-4-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *