บาลีวันละคำ

ทุกทิพาราตรีกาล (บาลีวันละคำ 4,004)

ทุกทิพาราตรีกาล

อย่าเพียงแต่พูดกันเพลิน 

เชิญหาความรู้เรื่องศัพท์ไว้บ้าง

อ่านว่า ทุก-ทิ-พา-รา-ตฺรี-กาน

คำบาลีที่ควรศึกษาคือ “ทิพา” “ราตรี” “กาล

(๑) “ทิพา” 

บาลีเป็น “ทิวา” อ่านว่า ทิ-วา รากศัพท์มาจาก –

(1) ที (ธาตุ = สิ้นไป) + ปัจจัย, รัสสะ อี ที่ ที เป็น อิ (ที > ทิ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ที + = ทีว > ทิว + อา = ทิวา แปลตามศัพท์ว่า “ช่วงเวลาเป็นเหตุสิ้นไปแห่งความมืด” 

(2) ทิวุ (ธาตุ = สว่าง, รุ่งเรือง; รื่นเริง, สนุกสนาน) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ทิวุ > ทิว) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ทิวุ > ทิว + = ทิว + อา = ทิวา แปลตามศัพท์ว่า (1) “ช่วงเวลาที่สว่าง” (2) “ช่วงเวลาเป็นที่รื่นเริงแห่งเหล่าสัตวโลก” 

ทิวา” หมายถึง เวลากลางวัน (daytime, during the day, during daylight) (ตรงกันข้ามกับกลางคืน)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทิวา : (คำแบบ) (คำนาม) วัน. (ป., ส.).”

ทิวา” แผลง เป็น ตามหลักนิยมในภาษาไทย เป็น “ทิพา” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทิพา : (คำแบบ) (คำนาม) วัน เช่น ทุกทิพาราตรี.”

(๒) “ราตรี” 

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “รตฺติ” อ่านว่า รัด-ติ รากศัพท์มาจาก –

(1) รา (ธาตุ = ถือเอา) + ติ ปัจจัย, ลบ อา ที่สุดธาตุ (รา > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (รา + ตฺ + ติ)

: รา + ตฺ + ติ = ราตฺติ > รตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ถือเอาความไม่เบียดเบียน” (คือโดยปกติเป็นเวลาพักผ่อน หยุดการงาน จึงไม่มีใครทำอะไรแก่ใคร)

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = กำหนัด, ยินดี) + ติ ปัจจัย, ลบ (ร)-ญฺชฺ ที่สุดธาตุ (รญฺช > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (รญฺช + ตฺ + ติ)

: รญฺชฺ + ตฺ + ติ = รญฺชตฺติ > รตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเป็นที่ชื่นชอบแห่งผู้มีความกำหนัด” 

(3) รา (แทนศัพท์ “สทฺท” = เสียง) + ติ (ธาตุ = ตัด, ขาด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบ อา ที่ รา (รา > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างบทหน้ากับธาตุ (รา + ตฺ + ติ)

: รา + ตฺ + ติ = ราตฺติ + กฺวิ = ราตฺติกฺวิ > ราตฺติ > รตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเป็นที่ขาดหายแห่งเสียง” 

(4) รา (แทนศัพท์ “ธน” = ทรัพย์) + ติ (ธาตุ = แตก, ทำลาย) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบ อา ที่ รา (รา > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างบทหน้ากับธาตุ (รา + ตฺ + ติ)

: รา + ตฺ + ติ = ราตฺติ + กฺวิ = ราตฺติกฺวิ > ราตฺติ > รตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเป็นที่แตกไปแห่งทรัพย์” (คือถูกขโมยไป) 

รตฺติ” (อิตถีลิงค์) หมายถึง กลางคืน (night)

บาลี “รัตติ” สันสกฤตเป็น “ราตฺริ” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ราตฺริ : (คำนาม) ราตรี; night.”

รตฺติ” ภาษาไทยนิยมใช้อิงสันสกฤตเป็น “ราตรี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราตรี ๑ : (คำนาม) กลางคืน, เวลามืดคํ่า. (ส. ราตฺริ; ป. รตฺติ).”

(๓) “กาล

บาลีอ่านว่า กา-ละ รากศัพท์มาจาก กลฺ (ธาตุ = นับ, คำนวณ, สิ้นไป) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (กลฺ > กาล

: กลฺ + = กลณ > กล > กาล (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องนับประมาณอายุเป็นต้น” “ถูกนับว่าล่วงไปเท่านี้แล้ว” “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง, หน

กาล” ที่หมายถึง “เวลา” (time) ในภาษาบาลียังใช้ในความหมายที่ชี้ชัดอีกด้วย คือ :

1 เวลาที่กำหนดไว้, เวลานัดหมาย, เวลาตายตัว (appointed time, date, fixed time)

2 เวลาที่เหมาะสม, เวลาที่สมควร, เวลาที่ดี, โอกาส (suitable time, proper time, good time, opportunity)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กาล ๑, กาล– : (คำนาม) เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).” 

การประสมคำ :

ทิวา + รตฺติ = ทิวารตฺติ (ทิ-วา-รัด-ติ) > ทิวาราตรี แปลตามศัพท์ว่า “เวลากลางวันและกลางคืน” (by day & by night) 

ในภาษาบาลี เมื่อนำคำนี้ไปใช้ นิยมประกอบวิภัตติเป็น “ทิวารตฺตึ” (ทิ-วา-รัด-ติง) ใช้ในความหมายว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ดำเนินไปทั้งกลางวันและกลางคืนหรือทุกวันทุกคืน หมายถึงทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ตลอดเวลามิได้ว่างเว้น

ถ้าหมายถึงวันเวลา ก็คือวันคืนหมุนเวียนเปลี่ยนไปมิได้หยุด

ถ้าหมายถึงชีวิต ก็คือชีวิตดำเนินไปมิได้หยุดอยู่กับที่ วัยเด็กก็มิได้เป็นเด็กอยู่ตลอดไป แต่ค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นหนุ่มสาว จากหนุ่มสาวผันแปรไปเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ และในที่สุดก็ถึงแก่การล่วงลับดับไป

อาการที่ดำเนินต่อเนื่องไปเช่นนี้ สำนวนบาลีใช้คำว่า “ทิวารตฺตึ” = ทิวาราตรี (มักพบในบทร้อยกรอง)

ในภาษาไทย “ทิวาราตรี” บางทีก็แผลงเป็น “ทิพาราตรี” ( เป็น ตามหลักนิยมในภาษาไทย) เช่นในคำว่า … ทุกทิพาราตรีกาล …

…………..

มีหลักที่ควรรู้คือ เมื่อพูดถึง “เวลาหนึ่งวัน” อันประกอบด้วยกลางวันและกลางคืน ตามปกติภาษาบาลีนิยมยกคำว่ากลางคืนขึ้นพูดก่อนกลางวัน คือใช้เป็น “รตฺตินฺทิวา” (รัด-ติน-ทิ-วา) = กลางคืนและกลางวัน > คืนวัน

หรือในวลีว่า “อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ” (อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง) = ตลอดคืนหนึ่งและวันหนึ่งนี้ > คืนวัน

คือบาลีพูดว่า “คืน-วัน” ไม่ใช่ “วัน-คืน” ทำนองเดียวกับคำว่า “พ่อแม่” ภาษาบาลีพูดว่า “มาตาปิตโร” (มาตาปิตะโร) = มารดาและบิดา > แม่พ่อ ไม่ใช่ พ่อ-แม่ เหมือนในภาษาไทย

การพูดเช่นนี้ชวนให้นึกถึงการเปลี่ยนวันที่ตามหลักนิยมในเวลานี้ เช่นเปลี่ยนจากวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันที่ 1 มกราคม เราเปลี่ยนเมื่อสิ้นสุดเวลา 24:00 

และโดยข้อเท็จจริง เวลา 24:00 ยังเป็นกลางคืนอยู่ นั่นแปลว่าเราเริ่มต้นวันใหม่ด้วย “รตฺติ” กลางคืน 

อาจเพราะเหตุเช่นนี้กระมัง เมื่อพูดถึงเวลาหนึ่งวัน ซึ่งเริ่มต้นวันด้วยเวลากลางคืน ภาษาบาลีจึงนิยมใช้ “รตฺตินฺทิวา” = กลางคืนและกลางวัน > คืน-วัน ไม่ใช่ วัน-คืน

ทิวาราตรี > ทิพาราตรี + กาล = ทิพาราตรีกาล แปลตามศัพท์ว่า “เวลากลางวันและกลางคืน” หมายถึง ทุกวันเวลา ตลอดไป

คำนี้นิยมใช้เป็นคำลงท้าย เช่น ขอจงประสบความสุขสวัสดีทุกทิพาราตรีกาล เทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: พูดคำเพราะ ดี

: ไม่รู้ความหมายของคำ เสีย

#บาลีวันละคำ (4,004)

30-5-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทงย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *