บาลีวันละคำ

มัชฌิมประเทศ (บาลีวันละคำ 4,022)

มัชฌิมประเทศ

คำที่ชาวพุทธควรรู้

อ่านว่า มัด-ชิ-มะ-ปฺระ-เทด

ประกอบด้วยคำว่า มัชฌิม + ประเทศ

(๑) “มัชฌิม” 

เขียนแบบบาลีเป็น “มชฺฌิม” อ่านว่า มัด-ชิ-มะ ศัพท์เดิมมาจาก มชฺฌ + อิม (อิ-มะ) ปัจจัย 

(ก) “มชฺฌ” รากศัพท์มาจาก มชฺ (ธาตุ = บริสุทธิ์, สะอาด) + ปัจจัย

: มชฺ + = มชฺฌ แปลตามศัพท์ว่า “จุดที่หมดจด” 

มชฺฌ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) (นปุงสกลิงค์) ตรงกลาง, กลาง ๆ, สามัญ, มัธยม, สายกลาง (middle, medium, mediocre, secondary, moderate) 

(2) (ปุงลิงค์) สะเอว (the waist) 

(ข) มชฺฌ + อิม = มชฺฌิม ใช้เป็นคุณศัพท์ แปลตามศัพท์ว่า “-อันตั้งอยู่ในท่ามกลาง” หรือ “-อันเป็นไปในท่ามกลาง

ความหมายนี้ใช้ในการเทียบเคียงคำซึ่งเป็นคู่กันกับความหมายว่า มากกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้น ในกระบวน 3 คำ เช่น “เล็ก – กลาง – ใหญ่” (small – medium – big) หรือ “แรก – กลาง – หลัง” (first – middle – last) 

มชฺฌิม” เขียนแบบไทยเป็น “มัชฌิม” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มัชฌิม– : (คำวิเศษณ์) ปานกลาง. (ป. มชฺฌิม).”

(๒) “ประเทศ

บาลีเป็น “ปเทส” อ่านว่า ปะ-เท-สะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ทิส (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: + ทิสฺ = ปทิสฺ + = ปทิสณ > ปทิส > ปเทส แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนเป็นเหตุปรากฏแห่งหมู่” หมายถึง เครื่องแสดง, ที่ตั้ง, ขอบเขต, แถบ; แดน, จุด, สถานที่ (indication, location, range, district; region, spot, place)

บาลี “ปเทส” สันสกฤตเป็น “ปฺรเทศ” ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ประเทศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประเทศ : (คำนาม) บ้านเมือง, แว่นแคว้น, ถิ่นที่อยู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส. ปฺรเทศ; ป. ปเทส).”

ในบาลี มชฺฌิม + ปเทส ซ้อน ปฺ

: มชฺฌิม + ปฺ + ปเทส = มชฺฌิมปฺปเทส (มัด-ชิ-มับ-ปะ-เท-สะ) แปลว่า “ดินแดนอันมีในท่ามกลาง

บาลี “มชฺฌิมปฺปเทส” ใช้ในภาษาไทยเป็น “มัชฌิมประเทศ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มัชฌิมประเทศ : (คำนาม) ประเทศอินเดีย, ตามแบบหมายถึงอินเดียตอนกลาง.”

ขยายความ :

มัชฌิมประเทศ” เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “มัชฌิมชนบท” (มัด-ชิ-มะ-ชน-นะ-บด)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความไว้ดังนี้ –

…………..

มัชฌิมชนบท, มัชฌิมประเทศ : ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ถิ่นกลาง เป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษาเป็นต้น …

…………..

(“มัชฌิมประเทศ” ในอินเดียสมัยพุทธกาล ตามที่กำหนดไว้ในคัมภีร์เป็นดังนี้ -)

…………..

… กำหนดเขต ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา อาคเนย์ นับแต่แม่น้ำสัลลวตีเข้ามา ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา ปัศจิม นับแต่ถูนคามเข้ามา อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา นอกจากนั้นไปเป็น ปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ 

…………..

คำที่คู่กับ “มัชฌิมประเทศ” คือ “ปัจจันตประเทศ” 

คู่กับ “มัชฌิมชนบท” คือ “ปัจจันตชนบท

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อยู่ในถิ่นที่ดี มีโอกาสเจริญไปแล้วครึ่งตัว

: แต่ถ้าทำตัวเลอะเทอะ เสื่อมหมดทั้งตัว

#บาลีวันละคำ (4,022)

17-6-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *