บาลีวันละคำ

ปัจจันตชนบท (บาลีวันละคำ 4,023)

ปัจจันตชนบท

คำที่ชาวพุทธควรรู้

อ่านว่า ปัด-จัน-ตะ-ชน-นะ-บด

ประกอบด้วยคำว่า ปัจจันต + ชนบท

(๑) “ปัจจันต” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ปจฺจนฺต” อ่านว่า ปัด-จัน-ตะ รากศัพท์มาจาก ปฏิ + อนฺต + ปัจจัย

(ก) “ปฏิ” เป็นคำอุปสรรค นักเรียนบาลีท่องจำคำแปลว่า “ปฏิ : เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ” 

กระบวนการทางไวยากรณ์คือ “ปฏิ” เมื่อสนธิ (ต่อกัน ประสมกัน รวมกัน) กับศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ (อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) ให้แปลงรูปเป็น “ปจฺจ” (ปัด-จะ) 

ในที่นี้ ปฏิ + อนฺต ซึ่งขึ้นต้นด้วยสระ ะ จึงแปลงเป็น ปจฺจ 

(ข) “อนฺต” อ่านว่า อัน-ตะ รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ที่สุดธาตุเป็น (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ > อน + = อนฺต (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง –

(1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

(2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

(3) ข้าง (side)

(4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

: ปฏิ > ปจฺจ + อนฺต = ปจฺจนฺต (ปัด-จัน-ตะ) แปลว่า “เฉพาะที่สุด” (เฉพาะตรงที่อันเป็น “ที่สุด” ไม่เกี่ยวกับที่อื่น)

(ค) ปจฺจนฺต + ปัจจัย, ลบ

: ปจฺจนฺต + = ปจฺจนฺตณ > ปจฺจนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ภูมิภาคที่เกิดในส่วนปลายคือในส่วนภายนอกแห่งตอนกลาง” 

ปจฺจนฺต” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เป็นคำนาม (ปุงลิงค์) หมายถึง ชายแดน, รอบนอก, บริเวณชานเมือง, บริเวณใกล้เคียงกัน (the border, outskirts, neighbourhood)

(2) เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ติดต่อกัน, มีขอบเขตไปถึง, อยู่ใกล้ชิด, ติดกัน (adjoining, bordering on, neighbouring, adjacent)

บาลี “ปจฺจนฺต” ในภาษาไทยใช้เป็น “ปัจจันต-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “ปัจจันต์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปัจจันต-, ปัจจันต์ : (คำแบบ) (คำวิเศษณ์) ที่สุดแดน, ปลายเขตแดน. (ป.).”

(๒) “ชนบท” 

บาลีเป็น “ชนปท” อ่านว่า ชะ-นะ-ปะ-ทะ แยกศัพท์เป็น ชน + ปท

(ก) “ชน” อ่านว่า ชะ-นะ รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + (อะ) ปัจจัย

: ชนฺ + = ชน แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้ยังกุศลหรืออกุศลให้เกิดได้” เป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรม เพราะธรรมดาของคน ดีก็ทำได้ ชั่วก็ทำได้ 

(2) “ผู้ยังตัวตนให้เกิดตามกรรม” หมายความว่า นอกจากทำกรรมได้แล้ว ยังทำ “ตัวตน” (คน) ให้เกิดได้อีก

ชน” หมายถึง บุคคล, สัตว์, คน (an individual, a creature, person, man)

(ข) “ปท” อ่านว่า ปะ-ทะ รากศัพท์มาจาก ปทฺ (ธาตุ = บรรลุ, ถึง) + (อะ) ปัจจัย

: ปทฺ + = ปท แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “สภาวะอันพระอริยะบรรลุ” = นิพพาน

(2) “สิ่งเป็นเหตุเป็นไปแห่งผล” = เหตุ, เค้ามูล, ปัจจัย

(3) “อวัยวะเป็นเครื่องเดินไป” = เท้า

ปท” โดยทั่วไปแปลว่า เท้า, รอยเท้า, ทาง (foot, footstep, track) 

ในภาษาไทยมักใช้ทับศัพท์ว่า “บท” 

: ชน + ปทฺ = ชนปท แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นที่ถึงความเป็นอยู่สบายแห่งผู้คน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ชนปท” ไว้ดังนี้ –

(1) inhabited country, the country (opp. town or market-place), the continent (ท้องที่ที่มีผู้คน, บ้านนอก (ตรงข้ามเมืองหรือย่านตลาด), ผืนแผ่นดินใหญ่)

(2) politically: a province, district, county (ในทางปกครอง: จังหวัด, อำเภอ, ชนบท, หัวเมือง, มณฑล)

ชนปท” ในภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “ชนบท

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ชนบท : (คำนาม) บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป. (ป., ส. ชนปท).

ปจฺจนฺต + ชนปท = ปจฺจนฺตชนปท (ปัด-จัน-ตะ-ชะ-นะ-ปะ-ทะ) แปลว่า “ท้องถิ่นอันมีในที่สุดแดน

บาลี “ปจฺจนฺตชนปท” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ปัจจันตชนบท” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปัจจันตชนบท : (คำนาม) ตําบลปลายเขตแดน.”

ขยายความ :

ปัจจันตชนบท” เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปัจจันตประเทศ” (บาลีเป็น “ปจฺจนฺตปฺปเทส” อ่านว่า ปัด-จัน-ตับ-ปะ-เท-สะ) 

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความไว้ดังนี้ –

…………..

ปัจจันตชนบท : ถิ่นแคว้นชายแดนนอกมัชฌิมชนบทออกไป, ปัจจันติมชนบท ก็ใช้

ปัจจันตประเทศ : ประเทศปลายแดน, แว่นแคว้นชายแดน, ถิ่นแดนชั้นนอก, ถิ่นที่ยังไม่เจริญ คือ นอกมัธยมประเทศ หรือ มัชฌิมชนบท 

…………..

คำที่คู่กับ “ปัจจันตชนบท” คือ “มัชฌิมชนบท” 

คู่กับ “ปัจจันตประเทศ” คือ “มัชฌิมประเทศ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อยู่ในถิ่นด้อยพัฒนา มีโอกาสเสื่อมไปครึ่งตัว

: แต่ถ้ารู้จักพัฒนาตัว ก็เจริญหมดทั้งตัว

#บาลีวันละคำ (4,023)

18-6-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *