บาลีวันละคำ

หัตถเลขา (บาลีวันละคำ 1,840)

หัตถเลขา

อนาคตของเด็กไทย

อ่านว่า หัด-ถะ-เล-ขา

แยกศัพท์เป็น หัตถ + เลขา

(๑) “หัตถ

บาลีเป็น “หตฺถ” (หัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) หสฺ (ธาตุ = ร่าเริง) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (หสฺ > หตฺ)

: หสฺ + = หสฺถ > หตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องเล่นสนุก” (เช่นใช้ปรบ ฟ้อนรำ) = มือ “อวัยวะเป็นที่เล่นสนุก” = ศอก

(2) หนฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, แปลง นฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (หนฺ > หตฺ)

: หนฺ + = หนฺถ > หตฺถ แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะเป็นเครื่องเบียดเบียนอวัยวะอื่น” (เช่นเกา ตบตี) = มือ (2) “เป็นที่ไปถึงแห่งอวัยวะทั้งหลาย” (หมายถึงมือเอื้อมถึง) = มวยผม

(3) หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (หรฺ > หตฺ)

: หรฺ + = หรฺถ > หตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องนำของไป” = มือ

(4) หตฺถ (มือ) + ปัจจัย, ลบ

: หตฺถ + = หตฺถณ > หตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่เหมือนมือเพราะทำหน้าที่มือให้สำเร็จประโยชน์ได้” = งวงช้าง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “หตฺถ” ดังนี้ –

(1) hand (มือ)

(2) (the hand as measure, a cubit (มือในฐานเป็นเครื่องวัด, ระยะหนึ่งศอก)

(3) a handful, a tuft of hair (เต็มมือ, ปอยผม)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

หัตถ-, หัตถ์ : (คำนาม) มือ; ศอกหนึ่ง; งวงช้าง. (ป.; ส. หสฺต).”

(๒) “เลขา

รากศัพท์มาจาก ลิขฺ (ธาตุ = ขีด, เขียน) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ลิ-(ขฺ) เป็น เอ (ลิข > เลข) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ลิขฺ + = ลิขณ > ลิข > เลข + อา = เลขา แปลตามศัพท์ว่า “การขีดเขียน” “สิ่งที่เขียน

เลขา” คำแปลที่เราคุ้นคือ “เขียนหนังสือ” แต่ “เลขา”แปลได้อีกหลายอย่าง คือ –

(1) เสี้ยว (streak, line)

(2) รอยขีด, เส้น (a scratch, line)

(3) การขีดเขียน, คำจารึก, หนังสือ (writing, inscription, letter)

(4) ศิลปะในการเขียนหรือวาด, การเขียนในฐานเป็นศิลปะ (the art of writing or drawing, writing as an art)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เลขา : (คำนาม) ลาย, รอยเขียน, ตัวอักษร, การเขียน. (คำวิเศษณ์) งามดังเขียน. (ป., ส.).”

หตฺถ + เลขา = หตฺถเลขา > หัตถเลขา แปลตามศัพท์ว่า “รอยที่เขียนด้วยมือ

คำแปล “หัตถเลขา” ที่ตรงตัวคือ “ลายมือ” หมายถึง ตัวหนังสือที่เขียนด้วยมือ ไม่ใช่ตัวพิมพ์หรือตัวอักษรที่ทำขึ้นด้วยวิธีอื่นๆ แต่โดยความมุ่งหมาย “หัตถเลขา” หมายถึง จดหมายที่เขียนถึงกัน และในบางกรณียังหมายเฉพาะถึง “ลายมือชื่อ” “ลายเซ็น” หรือ “ลงนาม” (sign)

อนึ่ง โปรดเข้าใจว่า “หัตถเลขา” = “ลายมือ” นี้ไม่ได้หมายถึงเส้นบนฝ่ามือที่ผู้เชี่ยวชาญจำพวกหนึ่ง (palmist) ใช้เป็นข้อมูลสำหรับทำนายทายทักชะตาชีวิตของผู้เป็นเจ้าของมือแต่ประการใด

คำว่า “หัตถเลขา” ยังไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ทั้งๆ ที่คำว่า “พระราชหัตถ์เลขา” (ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “ไกลบ้าน”) มีใช้มานานแล้ว

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ลายมือคืออนาคต

: จะยืดหรือหดอยู่ในกำมือของท่านเอง

————-

ภาพประกอบวันนี้ได้มาจากโพสต์ที่มีผู้แชร์มาให้ดู

23-6-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย