บาลีวันละคำ

อปัณณกปฏิปทา (บาลีวันละคำ 4,026)

อปัณณกปฏิปทา

ศัพท์วิชาการที่ควรรู้

อ่านว่า อะ-ปัน-นะ-กะ-ปะ-ติ-ปะ-ทา

ประกอบด้วยคำว่า อปัณณก + ปฏิปทา

(๑) “อปัณณก” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อปณฺณก” อ่านว่า อะ-ปัน-นะ-กะ รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ปณฺ (ธาตุ = ยกย่อง) + ณฺวุ ปัจจัย, ซ้อน ระหว่างธาตุกับปัจจัย (ปณฺ + ณฺ + ณฺวุ), แปลง เป็น , แปลง ณวุ เป็น อก (อะ-กะ) 

: + ปณฺ = นปณฺ + ณฺ + ณฺวุ = นปณฺณฺณฺวุ > นปณฺณก > อปณฺณก แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ไม่น้อมไปตามโวหารว่าผิด” หมายถึง ไม่ผิด, ถูก

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อปณฺณก” ว่า  certain, true, absolute (แน่นอน, จริง, แท้จริง) 

(๒) “ปฏิปทา

บาลีอ่านว่า ปะ-ติ-ปะ-ทา รากศัพท์มาจาก ปฏิ (คำอุปสรรค = เฉพาะ ตอบ ทวน กลับ) + ปทฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + (อะ) ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ปฏิ + ปทฺ = ปฏิปท + = ปฏิปท + อา = ปฏิปทา แปลตามศัพท์ว่า “การถึงเฉพาะ

ปฏิปทา” คือ “แนวทางของความประพฤติ” (line of conduct) หมายถึง วิถีทางที่จะถึงจุดหมายปลายทางหรือที่หมาย, ทางดำเนิน, หนทาง, วิธี, วิธีการ, วิธีดำเนินการ, วิถีทาง, การปฏิบัติ, (means of reaching a goal or destination, path, way, means, method, mode of progress, course, practice) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปฏิปทา : (คำนาม) ทาง, ทางดำเนิน, เช่น มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง; ความประพฤติ เช่น พระภิกษุรูปนี้มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส. (ป.).”

อปณฺณก + ปฏิปทา = อปณฺณกปฏิปทา (อะ-ปัน-นะ-กะ-ปะ-ติ-ปะ-ทา) แปลว่า “การปฏิบัติที่ไม่ผิด

อปณฺณกปฏิปทา” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อปัณณกปฏิปทา” 

…………..

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความ “อปัณณกปฏิปทา” ไว้ดังนี้ –

…………..

อปัณณกปฏิปทา : ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ทางดำเนินที่ไม่ผิด มี ๓ คือ ๑. อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ ๒. โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๓. ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน

…………..

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [128] แสดง “อปัณณกปฏิปทา” ไว้ดังนี้ –

…………..

อปัณณกปฏิปทา 3 (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด — Apaṇṇaka-paṭipadā: sure course; sure practice; unimpeachable path)

1. อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 6 — Indriya-saṃvara: control of the senses)

2. โภชเนมัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา — Bhojane-mattaññutā: moderation in eating)

3. ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป — Jāgariyānuyoga: practice of wakefulness)

…………..

แถม :

ชาดกเรื่องแรกในคัมภีร์ชาดก ชื่อ “อปัณณกชาดก” อยู่ในกลุ่มเอกนิบาต คือชาดกที่มีคาถาบทเดียว

คาถาในอปัณณกชาดกเป็นดังนี้ –

…………..

อปณฺณกํ ฐานเมเก

ทุติยํ อาหุ ตกฺกิกา  

เอตทญฺญาย เมธาวี

ตํ คเณฺห ยทปณฺณกํ  ฯ

(อะปัณณะกัง ฐานะเมเก

ทุติยัง อาหุ ตักกิกา

เอตะทัญญายะ เมธาวี

ตัง คัณเห ยะทะปัณณะกัง)

แปลว่า –

คนพวกหนึ่งบอกว่าทำอย่างนั้นไม่ผิด

นักคิดทั้งหลายบอกว่าทำอย่างนั้นไม่ถูก

คนมีปัญญารู้ทางที่ไม่ผิดและไม่ถูกแล้ว

ควรถือเอาทางที่ไม่ผิดไว้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด กำลังจะดี

: ลงมือทำถูกไม่ทำผิด ดีแล้ว

#บาลีวันละคำ (4,026)

21-6-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *