บาลีวันละคำ

ยถาบัญญัติ (บาลีวันละคำ 4,057)

ยถาบัญญัติ

ฝากไว้ในวงวรรณอีกคำหนึ่ง

อ่านว่า ยะ-ถา-บัน-หฺยัด

ประกอบด้วยคำว่า ยถา + บัญญัติ

(๑) “ยถา” 

อ่านว่า ยะ-ถา เป็นคำจำพวกนิบาต (particle) แปลว่า ฉันใด, เหมือน, ตาม 

หลักการใช้ “ยถา” :

– ถ้าใช้โดดๆ จะต้องมีข้อความที่มีคำว่า “เอวํ” หรือ “ตถา” มาคู่กัน เหมือนภาษาไทยว่า “ฉันใด” ต้องมี “ฉันนั้น” มารับ 

– ถ้าสมาสกับคำอื่น นิยมแปลว่า “ตาม-” เช่น ยถาพลํ (ยะ-ถา-พะ-ลัง) = ตามกำลัง

ในที่นี้ “ยถา” สมาสกับ “บัญญัติ” เป็น “ยถาบัญญัติ” จึงแปลว่า “ตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้

(๒) “บัญญัติ” 

บาลีเป็น “ปญฺญตฺติ” อ่านว่า ปัน-ยัด-ติ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ญา (ธาตุ = รู้) + ติ ปัจจัย, ซ้อน ญฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ ( + ญฺ + ญา), ลบสระที่สุดธาตุ (ญา > ), แปลง ติ เป็น ตฺติ

: + ญฺ + ญา = ปญฺญา + ติ = ปญฺญาติ > ปญฺญติ > ปญฺญตฺติ แปลตามศัพท์ว่า (1) “การให้รู้โดยทั่วถึง” (2) “การปูลาด” 

คำแปลที่ว่า “การปูลาด” เทียบการปูเสื่อ ปูพรม หรือเอาที่นั่งที่นอนมาปูไว้ คือการกำหนดขึ้นว่า ใครจะทำอะไรก็ควรทำหรือต้องทำตามข้อกำหนดอย่างนี้ๆ เหมือนใครนั่งจะนอนก็ควรมานั่งนอนตรงที่ซึ่งปูลาดไว้ให้ ไม่ใช่ไปนั่งนอนเกะกะตามใจชอบ

ปญฺญตฺติ” หมายถึง การประกาศ, การป่าวร้อง, การแจ้งให้รู้, การตั้งขึ้น, ข้อที่กำหนดขึ้น, การกำหนดเรียก, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ, การแสดงให้เห็น, การกำหนด, การตั้งชื่อ, ความคิดหรือแนวความคิด, ความรู้สึก, ความเข้าใจ 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปญฺญตฺติ” ว่า making known, manifestation, description, designation, name, idea, notion, concept

ปญฺญตฺติ” ภาษาไทยใช้ว่า “บัญญัติ” (บัน-หฺยัด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บัญญัติ : (คำนาม) ข้อความที่ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ. (คำกริยา) ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย. (ป. ปญฺญตฺติ).”

ที่แสดงมานั้น “ปญฺญตฺติ” เป็นคำนาม แต่ในที่นี้ “บัญญัติ” ในภาษาไทยแปลจากคำบาลีว่า “ปญฺญตฺต” (ปัน-ยัด-ตะ) ซึ่งเป็นรูปคำกริยา รากศัพท์เหมือน “ปญฺญตฺติ” ต่างแต่ลง ต ปัจจัย, แปลง ต เป็น ตฺต

: + ญฺ + ญา = ปญฺญา + = ปญฺญาต > ปญฺญต > ปญฺญตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “อันถูกทำให้รู้โดยทั่วถึง” (2) “อันถูกปูลาด” ใช้เป็นคำกริยาและคุณศัพท์ หมายถึง ชี้แจง, ประกาศ, บัญญัติ, วางระเบียบ, กำหนด, มุ่งหมาย, ปูลาดไว้ (pointed out, made known, ordered, designed, appointed, ordained)

ยถา + ปญฺญตฺต = ยถาปญฺญตฺต (ยะ-ถา-ปัน-ยัด-ตะ) แปลว่า “ตามที่บัญญัติไว้” “ตามที่ปูลาดไว้” 

ยถาปญฺญตฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ยถาบัญญัติ” แปลโดยประสงค์ว่า “ตามที่บัญญัติ” ใช้เป็นคำขยายข้อความ เช่น “ทำตามยถาบัญญัติ” หมายความว่า เรื่องใดๆ ก็ตามที่มีระเบียบกฎเกณฑ์กำหนดวางไว้อย่างไร ก็ทำตามนั้น ไม่ละเมิด ฝ่าฝืน หรือละเลย

เมื่อปฏิบัติดังกล่าวนี้ ก็พูดว่า “ทำตามยถาบัญญัติ” เป็นคำบอกกล่าว และมีนัยเป็นคำเตือนอยู่ในที

“ฉันทำตามยถาบัญญัติ”

“เรื่องนี้ควรทำตามยถาบัญญัติ” 

ขยายความ :

คำว่า “ยถาบัญญัติ” (ยถาปญฺญตฺต) ที่น่าศึกษาเป็นข้อเตือนใจ ปรากฏในคำเสนอญัตติของพระมหากัสสปเถระในคราวที่พระอรหันต์ 500 ประชุมทำปฐมสังคายนาที่กรุงราชคฤห์เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงแล้ว 3 เดือน 

ท่านบันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้ในปัญจสติกขันธกะ พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 621 ข้อความเป็นดังนี้ –

…………..

ยสฺสายสฺมโต  ขมติ  อปฺปญฺญตฺตสฺส  อปฺปญฺญาปนา  ปญฺญตฺตสฺส  อสมุจฺเฉโท  ยถาปญฺญตฺเตสุ  สิกฺขาปเทสุ  สมาทาย  วตฺตนา  โส  ตุณฺหสฺส  ยสฺส  นกฺขมติ  โส  ภาเสยฺย  ฯ

…………..

แปลโดยประสงค์ดังนี้

…………..

อปฺปญฺญตฺตสฺส  อปฺปญฺญาปนา  

การไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติ 

ปญฺญตฺตสฺส  อสมุจฺเฉโท

การไม่ถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว 

ยถาปญฺญตฺเตสุ  สิกฺขาปเทสุ  สมาทาย  วตฺตนา

การประพฤติมั่นคงอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว

ยสฺสายสฺมโต  ขมติ  

(การปฏิบัติทั้งสามประการนี้) ท่านผู้ใดเห็นชอบ 

โส  ตุณฺหสฺส

ท่านผู้นั้นพึงดุษณี 

ยสฺส  นกฺขมติ  

ท่านผู้ใดไม่เห็นชอบ 

โส  ภาเสยฺย  ฯ

ท่านผู้นั้นพึงพูดออกมา

…………..

ยถาบัญญัติ” เป็นคำที่ผู้เขียนบาลีวันละคำ “บัญญัติ” ขึ้นเอง ไม่มีในพจนานุกรม และยังไม่มีใช้ในภาษาไทย

“ขอฝากไว้ในอ้อมใจของมิตรรักแฟนเพลง” อีกคำหนึ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สิกขาบทคือกฎที่งดงาม

: การไม่ปฏิบัติตามคือการด้อยค่าตัวเอง

#บาลีวันละคำ (4,057)

22-7-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *