บาลีวันละคำ

คุณาคุณ (บาลีวันละคำ 4,070)

คุณาคุณ

ฝากไว้ในวงวรรณอีกคำหนึ่ง

อ่านว่า คุ-นา-คุน

คุณาคุณ” แยกศัพท์เป็น คุณ + อคุณ

(๑) “คุณ

บาลีอ่านว่า คุ-นะ รากศัพท์มาจาก คุณฺ (ธาตุ = ประกาศ, ผูก, มัด, สั่งสม) + (อะ) ปัจจัย 

: คุณฺ + = คุณ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ประกาศความดีของตน” (2) “สิ่งที่ผูกผลไว้กับตน” (3) “สิ่งอันผู้ต้องการความดีสั่งสม

คุณ” ในบาลีหมายถึง –

(1) เชือก, ด้าย (a string, a cord) 

(2) ส่วนที่ประกอบขึ้น, ส่วนผสม, สิ่งที่ประกอบ (constituent part, ingredient, component, element)

(3) คุณภาพ, คุณความดี, ผลประโยชน์, ผลบุญ  (quality, good quality, advantage, merit)

(4) เมื่อใช้กับ “จำนวน” หรือสิ่งที่นับจำนวน หมายถึง ประการ, ส่วน, เท่า (-fold) 

ตัวอย่างในข้อ (4) นี้ก็อย่างเช่นคำว่า “ทวีคูณ” ซึ่งแปลว่า “สองเท่า” (ทวี < ทฺวิ = สอง, คูณ = –เท่า) “-คูณ” คำนี้ก็แผลงมาจาก “คุณ” นี่เอง

คุณ” ในภาษาไทย ใช้ตามความหมายเดิมในบาลีก็มี ใช้ตามความหมายเฉพาะในภาษาไทยก็มี ในที่นี้ขอยกมาเฉพาะที่ใช้ตามความหมายเดิม 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

คุณ ๑, คุณ– : (คำนาม) ความดีที่มีประจำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น คุณของแผ่นดิน, ความดีที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น ไม่รู้คุณข้าวแดงแกงร้อน; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.).”

(๒) “อคุณ

บาลีอ่านว่า อะ-คุ-นะ รูปคำเดิมมาจาก + คุณ

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “คุณ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ คุ– จึงแปลง เป็น  

(ข) “คุณ” ดูข้างต้น

: + คุณ = นคุณ > อคุณ แปลตามศัพท์ว่า “ไม่ใช่คุณ” หมายถึง ความชั่ว, มลทิน, ความผิด, สภาพไม่ดี, ความบกพร่อง; ความเลวร้าย, ความเสื่อมทราม (corruption, blemish, fault, bad condition, defect; depravity) 

คุณ + อคุณ = คุณาคุณ (คุ-นา-คุ-นะ) แปลทับศัพท์ว่า “คุณและมิใช่คุณ” 

ขยายความ :

คุณาคุณ” ในภาษาไทยอ่านว่า คุ-นา-คุน หมายถึง คุณและโทษ, ความดีและความเลว, สภาพที่ดีและไม่ดีที่มีอยู่ในตัวหรือในจิตใจของคน, ความสมบูรณ์และความบกพร่องที่มีอยู่ในสิ่งต่างๆ

หรือความหมายสั้นๆว่า ดี-ชั่ว ถูก-ผิด

เมื่อจะพูดถึงสิ่งที่มีทั้งดีและชั่ว ทั้งถูกและผิด มีทั้งคุณและโทษ ก็ใช้คำว่า “คุณาคุณ

อนึ่ง โปรดระมัดระวัง คำนี้คือ “คุณาคุณ” คุ-นา-คุน

อย่าพูดเพี้ยนเขียนผิดเป็น “คุณานุคุณ” คุ-นา-นุ-คุน 

เป็นคนละคำ คนละความหมายกัน

คุณานุคุณ” มาจาก คุณ + อนุคุณ หมายถึง คุณงามความดีทั้งน้อยทั้งใหญ่ ทั้งมากทั้งน้อย พูดถึงคุณงามความดีเท่านั้น

คุณาคุณ” มาจาก จาก คุณ + อคุณ หมายถึง คุณและโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ พูดถึงทั้งดีและชั่ว

คุณาคุณ” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 และยังไม่มีใช้ในภาษาไทย

จึงขอฝากไว้ใน “อ้อมใจของมิตรรักแฟนเพลง” อีกคำหนึ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

     เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา

จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่

เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู

ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย,

     จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว

อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย

เหมือนเทียวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย

ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง ฯ

                พุทธทาส อินฺทปญฺโญ

#บาลีวันละคำ (4,070)

4-8-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *