บาลีวันละคำ

สักกะทัตติย- (บาลีวันละคำ 4,091)

สักกะทัตติย

อินทร์ถวาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ที่คำว่า “รัตนโกสินทร์” บอกไว้ว่า – 

รัตนโกสินทร์ : (คำนาม) นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์.”

มีผู้ถามว่า คำว่า “สักกะทัตติย” แปลว่าอะไร?

คำว่า “สักกะทัตติย” อ่านว่า สัก-กะ-ทัด-ติ-ยะ แยกศัพท์เป็น สักกะ + ทัตติย 

(๑) “สักกะ

บาลีเป็น “สกฺก” (สัก-กะ) รากศัพท์มาจาก – 

(1) สกฺกฺ (ธาตุ = อาจ, สามารถ) + ปัจจัย 

: สกฺกฺ + = สกฺก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้สามารถชนะอสูรได้” (2) “ผู้สามารถทำประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ตนเพราะสามารถคิดเนื้อความพันหนึ่งได้เพียงครู่เดียว” 

(2) สกฺกจฺจ (เคารพ, เห็นความสำคัญ) + ปัจจัย, ลบ จฺจ (สกฺกจฺจ > สกฺก) และลบ  

: สกฺกจฺจ + = สกฺกจฺจฺณ > สกฺกจฺจ > สกฺก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ให้ทานโดยเคารพ” 

สกฺก” ถ้าเป็นคุณศัพท์ หมายถึง สามารถ, เป็นไปได้ (able, possible)

สกฺก” ในที่นี้หมายถึง พระอินทร์ (The god Indra) ภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “สักกะ” หรือ “ท้าวสักกะ” หรือเรียกเต็มยศว่า “ท้าวสักกเทวราช” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สักกะ ๑ : (คำแบบ) (คำนาม) พระอินทร์. (ป.; ส. ศกฺร).”

(๒) “ทัตติย” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ทตฺติย” อ่านว่า ทัด-ติ-ยะ รากศัพท์มาจาก ทตฺต + อิย ปัจจัย 

(ก) “ทตฺต” อ่านว่า ทัด-ตะ รากศัพท์มาจาก ทา (ธาตุ = ให้) + ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (ทา > ), ซ้อน ตฺ; นัยหนึ่งว่า แปลง ทา กับ เป็น ทตฺต

: ทา > + ตฺ + = ทตฺต แปลตามศัพท์ว่า “อัน-ให้แล้ว

– ใช้เป็นกริยาแปลว่า (สิ่งใดสิ่งหนึ่ง) อัน–ให้แล้ว (given or granted by –)

– ใช้ในฐานะเป็นนามหรือคุณศัพท์ หมายถึง สิ่งที่ให้, ของที่ให้หรือสังเวย, ของบริจาค (gift, donation, offering)

(ข) ทตฺต + อิย = ทตฺติย แปลตามศัพท์ว่า “อันควรให้” หมายถึง สิ่งที่ผู้ใดผู้หนึ่งควรให้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ทตฺติย” ว่า given as a present (สิ่งที่ให้เป็นของขวัญ)

สกฺก + ทตฺติย = สกฺกทตฺติย แปลว่า “สิ่งที่พระอินทร์ให้เป็นของขวัญ” ตรงกับคำที่คุ้นๆ กันว่า “อินทร์ถวาย”

สกฺกทตฺติย” ในภาษาไทยสะกดแบบชื่อเฉพาะเป็น “สักกะทัตติย

อภิปราย :

สักกะทัตติย” ถ้าสะกดตามหลักภาษาไทย ควรสะกดเป็น “สักกทัตติย” คือไม่ประวิสรรชนีย์หลัง “สักก-”

= “สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” 

ถ้าประวิสรรชนีย์ ก็ควรสะกดเป็น “สักกะทัตติยะ” คือประวิสรรชนีย์ที่ – ด้วย เพื่อให้เสมอกับ “สักกะ”

= “สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์” 

แต่เมื่อคำนี้เป็นวิสามานยนาม (proper name) จึงต้องใช้กฎพิเศษ นั่นคือ ผู้ตั้งนามนี้เป็นปฐมสะกดอย่างไร หรือผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้สะกดอย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามนั้น 

แถม :

ในคัมภีร์บาลี พบคำที่มีความหมายตรงกับ “สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์” แห่งหนึ่ง ข้อความเป็นดังนี้ –

สุเมธปณฺฑิโต  … วิสฺสุกมฺมนิมฺมิตํ  สกฺกทตฺติยํ  รมณียํ  อสฺสมํ  ทิสฺวา  …

แปล: สุเมธบัณฑิตได้ทัศนาการอาศรมอันรมณีย์ที่วิษณุกรรมนฤมิต อันท้าวสักกะประทานไว้ …

ที่มา: สุเมธกถา ทูเรนิทาน ชาตกัฏฐกถา ภาค 1 หน้า 15

…………..

ดูก่อนภราดา!

: บุญกรรมต้องทำเองทุกวันวาร

: รอให้พระอินทร์ประทาน-ไม่มีวัน

#บาลีวันละคำ (4,091)

25-8-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *